'หมอสันต์' เผยข่าวดี'โอมิครอน'เมืองไทย เข้าสู่ขาลงแล้ว และอาจจบเร็วเกินความคาดหมาย กทม.โอมิครอนได้เข้าแทนที่เดลต้าเกือบหมดแล้ว อัตราป่วยเข้ารพ. และตายกลับมีอัตราคงที่ และเริ่มลดจำนวนลง
19 ม.ค.2565 - นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ว่า
โอไมครอนเมืองไทย รวดเร็วแต่นุ่มนวล และอาจจบเร็วเกินความคาดหมาย
โอไมครอนขึ้นหัวหาดเมืองไทยตั้งแต่ 26 พย. 64 ค่อยสะสมกำลังจนเพิ่มจำนวนได้เท่าตัว (doubling time) ใน 4 วันตั้งแต่ 7 มค. 65 ซึ่งผมคาดหมายตามอัตราการเพิ่มในอังกฤษและอัฟริกาใต้ว่าเมื่อถึงวันนี้ (18 มค. 65) โอไมครอนจะเพิ่มได้วันละหนึ่งเท่าตัวจนเข้าแทนที่เดลต้าและระบาดไปทั่วประเทศได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น นั่นคือข้อสันนิษฐานหรือการเดา
ส่วนข้อเท็จจริงละเป็นอย่างไร ณ วันนี้ในด้านอัตราการเข้าแทนที่เดลต้ารวดนั้นเร็วสมคาดจริง คือหลายวันก่อนหน้านี้ศูนย์แล็บที่จุฬาเปิดเผยว่าผลตรวจเชื้อเป็นโอไมครอนมากกว่า 90% แล้ว และเมื่อวานนี้ศูนย์จีโนมทางการแพทย์รามาธิบดีก็เปิดเผยว่าที่ตรวจได้ตอนนี้เป็น โอมิครอน 97.1% (69/71) เดลต้า 2.8% (2/71) ดังนั้นค่อนข้างแน่ว่าในกทม.โอไมครอนได้เข้าแทนที่เดลต้าเกือบหมดแล้ว ในต่างจังหวัดนั้นสถานะการณ์แตกต่างกันไปตามพื้นที่ เมื่อสองวันก่อนผมเจอหน้าผอ.ศูนย์แล็บที่มวกเหล็กท่านบอกว่าตอนนี้โอไมครอนเข้าแทนที่เดลต้าได้มากกว่า 50% แล้ว ทั้งๆที่โอไมครอนเพิ่งมาที่นี่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้นเอง ดังนั้นภาพใหญ่คือโอไมครอนเข้าแทนที่เดลต้าได้เกือบหมดแล้วในกทม. ส่วนทั่วประเทศนั้นคงจะแทนที่ได้หมดตามมาในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามความคาดหมาย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ (นพ.ยง) ได้แสดงความเร็วของการที่โอไมครอนเข้าแทนที่เดลต้าไว้เป็นกราฟที่เข้าใจง่าย ซึ่งผมขออนุญาตคัดลอกมาให้ชมตรงนี้
แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคืออัตราการป่วย การเข้าโรงพยาบาล และอัตราตายต่อวันที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึงต้องตระเตรียมรับมือกันขึงขังนั้น เอาเข้าจริงๆอัตราป่วย เข้ารพ. และตาย กลับมีอัตราคงที่ (plateau) มาหลายวันและเริ่มลดจำนวนลงในวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่โอไมครอนได้เข้าแทนที่เดลต้าได้เกือบหมดแล้ว โดยผมแสดงข้อมูลของสธ.เป็นกราฟให้ดูข้างล่างนี้
แปลไทยให้เป็นไทยจากสองกราฟนี้ก็คือว่าเรื่องโควิดโอไมครอนได้มาถึง peak และเข้าสู่ขาลงแล้วแบบไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัวเลย เป็นอะไรที่พลิกความคาดหมาย แต่ก็พลิกไปในทางที่ดี ทำไมโอไมครอนไทยแลนด์ถึงได้น่ารักกว่าที่ยุโรป อเมริกา และเซ้าท์อัฟริกา ตอบว่าไม่มีใครรู้ ได้แต่เดาเอาแบบมั้งศาสตร์ เช่น เป็นเพราะคนไทยได้วัคซีนซิโนแวคมาก่อน..มั้ง เป็นเพราะอากาศเมืองไทยมันร้อน..มั้ง เป็นเพราะระบบควบคุมโรคของไทยเจ๋งกว่าฝรัง..มั้ง เป็นเพราะคนไทยมีนิสัยว่าง่ายใส่มาสก์กันหมด..มั้ง ฯลฯ เหตุผลแท้จริงเป็นอย่างไรไปภายหน้าคงจะมีหลักฐานวิทยาศาสตร์โผล่มาให้เห็นเอง
ตอนนี้เอาเป็นว่าโอไมครอนไทยแลนด์กำลังจะจบแล้ว การเดินทางท่องเที่ยวทำมาค้าขายในประเทศนั้นเดิมก็ทำกันได้อยู่แล้วและสามารถทำต่อไปได้แบบฉลุยแต่ว่าอย่าเพิ่งใจร้อนรีบเอาการ์ดลง หมายความว่าอยู่ห่าง ใส่หน้ากาก ล้างมือไว้ก่อนไม่เสียหลาย ส่วนการเดินทางและค้าขายระดับนานาชาตินั้นเราต้องรอดูเชิงของโลกทั้งใบเขาไปก่อนว่าเขาจะเอาอย่างไรกันแน่ ประเทศอย่างอังกฤษอเมริกานั้นไม่มีปัญหาคือเขาผ่านพีคการติดเชื้อแบบเขย่าประเทศไปแล้ว จบแล้วเขาต้องรีบเปิดอ้าซ่าแน่นอน แต่ประเทศอย่างจีนผมเองก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าเขาจะเอาอย่างไรกับอนาคตเพราะถึงวันนี้เขายังใช้นโยบายโควิด 0% อย่างเข้มงวดอยู่เลย ดังนั้นใครจะเดินทางท่องเที่ยวหรือค้าขายกับกับประเทศไหนก็ต้องดูเชิงประเทศนั้นไปแบบเดือนต่อเดือน
กู๊ดบาย..โอไมครอน กู๊ดบาย..โควิด (หวังว่า)ไม่ต้องพบกันอีกนะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธุรกิจโซลูชันจัดการพลังงานมาแรง เอกชนหนุนใช้ AI ขับเคลื่อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เดลต้า ลุย จัดงาน Delta Future Industry Summit 2024 เวทีสำคัญในการเรียนรู้โอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้นจากเทรนด์อุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังเป็นกระแส
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86