OR เดินหน้า “ไทยเด็ด” ต่อยอดภูมิปัญญาสินค้าไทย ช่วยคนตัวเล็กมีงาน มีเงิน

ประเทศไทยที่ถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีความหลากหลาย ผนวกกับความชำนาญของคนไทยที่สามารถพัฒนาวัตถุดิบเหล่านั้นให้กลายมาเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง สร้างชื่อเสียงและความสนใจไปทั่วโลก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีอีกหลายวัตถุดิบ หลายสินค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากในตลาดการค้า เนื่องจากยังมีปัญหาด้านต่าง ๆ อยู่ทั้งด้านการผลิต การเก็บเกี่ยว การทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการเข้าถึงตลาดผู้ซื้อที่กว้างขวาง

หากสินค้าต่าง ๆ ที่มีคุณภาพแต่ไม่ได้รับความสนใจ หรือเข้าไม่ถึงผู้ซื้อก็อาจจะทำลดทอนกำลังใจของผู้ผลิตลงไป และอาจจะทำให้การต่อยอดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีผู้สานต่อ ภูมิปัญญาหรือแหล่งวัตถุดิบที่ดีก็อาจจะเลือนหายไป ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นอีกหนึ่งมุมมองสำคัญที่กลุ่มบริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจะเข้ามาช่วยต่อยอดหรือมีแนวคิดจะช่วยส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กนั้น จำเป็นต้องเร่งเข้ามาพัฒนา เช่นเดียวกับที่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) หรือ OR เดินหน้าเข้าช่วยเหลือกลุ่มผู้ผลิตขนาดเล็กมาโดยตลอด ผ่านโครงการ “ไทยเด็ด”

เนื่องจากเห็นศักยภาพของวัตถุดิบในประเทศไทย และเห็นถึงโอกาสในการต่อยอดสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาจากคนไทยอย่างเต็มที่ จึงเดินหน้าโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยสืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ One Tambon One Product (OTOP)  โครงการที่รัฐบาลมุ่งหวังให้คนในชุมชนนำภูมิปัญญาที่มีอยู่มาพัฒนาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัวและชุมชน  แต่ปัญหาคือ สินค้าชุมชนที่ผลิตออกมาส่วนใหญ่ยังขาดช่องทางการจำหน่ายอย่างกว้างขวาง

และจากจุดอ่อนดังกล่าว ในปี 2561 OR และพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ  ซึ่งปัจจุบันมี 8 กระทรวง คือ  ก.พลังงาน, ก.พาณิชย์, ก.การคลัง, ก.วัฒนธรรม, ก.อุตสาหกรรม, ก.มหาดไทย, ก.เกษตร, ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีเจตนารมณ์มุ่งมั่นร่วมกัน จึงได้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สินค้าชุมชนที่เป็นสินค้าดี สินค้าเด็ด สินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น ได้มีช่องทางการจำหน่ายผ่านร้านไทยเด็ด ภายในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศ 

จนปัจจุบันโครงการไทยเด็ดมีจำนวน ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าชุมชนจำหน่ายในโครงการฯ ประมาณ 400 ราย  จำนวนสินค้ากว่า 1,000 รายการ และมีหลายรายการที่ประสบความสำเร็จจากการช่วยเหลือของ OR ต่อยอดความสำเร็จไปสู่ชุมชนจนสามารถพลิกชีวิตให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ผ้าทอย้อมคราม บ้านคำประมง จ.สกลนคร จากเดิมที่มีรายได้เพียง 300 บาทต่อเดือน จนปัจจุบันมีรายได้ 18,000 บาทต่อเดือน / กระเป๋าพู่ประดิษฐ์ MontMaxx จ.สมุทรปราการ จากเดิมแม้จะมีรายได้ต่อเดือนถึง 500,000 บาท แต่ปัจจุบันถูกต่อยอดพัฒนาจนสามารถทำรายได้ถึง 1,000,000 บาทต่อเดือน และกล้วยทอดกรอบเนียนนา จ.กาญจนบุรี  ที่จากเดิมมีรายได้ 70,000 บาทต่อเดือน แต่ปัจจุบันสามารถทำรายได้ 120,000 บาทต่อเดือนแล้ว

แน่นอนว่าโครงการไทยเด็ดนี้ ไม่ใช่เพียงการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดการขายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเข้าไปสนับสนุนชุมชนให้เกิดการจ้างงาน สนับสนุนเกษตรกรโดยการรับซื้อผลผลิตที่มากขึ้น และสนับสนุนให้คุณภาพชีวิตของแต่ละชุมชนดีขึ้นอีกด้วย ขณะที่ทุก ๆ ปีโครงการจะมีการคัดเลือกสินค้า ให้มาเป็น Thaidet Selected ประจำปี ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการคัดเลือกผ่านคณะกรรมการ โดยจะต้องเป็นกลุ่มสินค้าที่มีเรื่องราวน่าสนใจสามารถนำไปประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ  เช่น TVC  สื่อ Online/ Offline และเป็นกลุ่มสินค้าที่ธุรกิจ (Café Amazon) สนใจนำไปวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วประเทศ

โดยในปี 2567 เองก็มีสินค้า 3 รายการที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1.เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดอบเกลือและรสต้มยำ จ.อุตรดิตถ์ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม และมีต่อยอดให้กลายเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดอบเกลือ ซึ่งมีรสชาติ กรอบ หอม มัน และพัฒนามาเป็นแบบอบปรุงรสชาติ คือ รสต้มยำ เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดมา กลายเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด สามารถนำไปเป็นของฝาก ของที่ระลึก 2. ใบบัวบกทอดกรอบ จ.นนทบุรี โดยการนำผักใบบัวบกที่นำมาทอดกรอบและนำมาปรุงรสให้เกิดรสชาติที่อร่อยมากขึ้น ทานง่าย ไม่เหม็นเขียว อีกทั้งยังคงคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ใส่วัตถุเจือปน ผลิตขึ้นโดยวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านคลองหม่อมแช่ม โดยในชุมชนมีการปลูกใบบัวบกที่ได้รับมาตรฐาน GAP และได้นำเอาวัตถุดิบในชุมชนมาแปรรูปเป็น “ใบบัวบกทอดกรอบ”

และ 3. กระเป๋าพู่ประดิษฐ์ จ.สมุทรปราการ กระเป๋าผ้าร้าน Montmaxx DIY Bag เป็นกระเป๋าผ้าที่ได้รับการออกแบบให้มีรูปแบบที่ทันสมัยและสวยงาม มีการมุ่งเน้นในเรื่อง Handmade มีการพัฒนาในเรื่องการออกแบบ การทำกระเป๋าให้ได้ตามความต้องการและมีรูปแบบที่ทันสมัย รวมถึงการเลือกรูปแบบของผ้าและอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆให้ดูสวยงาม ส่วนในเรื่องการผลิตนั้นก็ได้เริ่มจากการพยายามหากลุ่มแม่บ้านในพื้นที่เพื่อที่จะผลิตและจะได้เป็นการสนับสนุนให้เกิดรายได้ในกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่อีกด้วย และพู่ห้อยกระเป๋าผลิตจากกลุ่มแรงงานที่แม่แตง จ.เชียงใหม่

นอกจากนี้ยังมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ในโครงการไทยเด็ดที่ประสบความสำเร็จอีกหลายรายการ อาทิ ขนมปั้นขลิบน้องหนึ่ง จ.พัทลุง หลังเข้าร่วมโครงการไทยเด็ด มียอดขายเพิ่มขึ้น จาก 25,000 บาท/เดือน เป็น 180,000 บาท/เดือน (ภายหลังได้จำหน่ายในร้านอเมซอน ยอดขายเพิ่มเป็น 5 ล้านบาท/เดือน และรับซื้อวัตถุดิบ (ข้าว, ปลา, เห็ด ฯลฯ) เพิ่มจาก 12 ครัวเรือน (55,000 บาท/เดือน) เป็น 50 ครัวเรือน (300,000 บาท/เดือน) และเพิ่มการจ้างแรงงานจาก 12 คน เป็น 70 คน

ผลิตภัณฑ์ถั่วลายเสือ จ.แม่ฮ่องสอน หลังเข้าร่วมโครงการไทยเด็ด 1. ยอดขายเพิ่ม จาก 50,000 บาท/เดือน เป็น 180,000 บาท/เดือน และสนับสนุนวัตถุดิบ (ถั่วลายเสือดิบ) จากชุมชน เพิ่มขึ้น จาก 17 ครัวเรือน (35,000 บาท) เป็น 53 ครัวเรือน (115,500 บาท/เดือน) รวมถึงการใช้แรงงานในชุมชนเพิ่มขึ้น จาก 8 คน เป็น 23 คน และผัดไทภูเขาไฟ จ.บุรีรัมย์ ที่หลังเข้าร่วมโครงการไทยเด็ด 1. ยอดขายเพิ่มขึ้น จาก 25,000 บาท/เดือน เป็น 810,000 บาท/เดือน รับซื้อวัตถุดิบ(ข้าว, กระเทียม, หอมแดง ฯลฯ) เพิ่มจาก 12 ครัวเรือน (55,000 บาท/เดือน) เป็น 78 ครัวเรือน (540,000 บาท/ครัวเรือน/เดือน) รวมถึงเพิ่มการจ้างแรงงานจาก 12 คน เป็น 160 คน

อย่างไรก็ตามในปี 2567 นี้เอง OR ยังได้ เดินหน้าต่อยอดโครงการไทยเด็ดอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนสินค้า/ ขยายหมวดสินค้า และร่วมพัฒนาสินค้ากับหน่วยงานพันธมิตร คัดสรรสินค้าไทยเด็ด select โดยมีการเยี่ยมชมแหล่งผลิตสินค้า พร้อมกับการันตีสินค้าด้วยการติด logo ไทยเด็ด ขณะเดียวกันจะมีการขยายสาขาร้านไทยเด็ดในประเทศ ขยายสาขามุมไทยเด็ดในร้านอเมซอน ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงขยายช่องทางการสั่งซื้ออนไลน์ระบบ e-order และใน แอปพลิเคชั่น xplORe

ซึ่งยืนยันได้ว่า “โครงการไทยเด็ด” จะเดินหน้าอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน เกษตรกร และคนในชุมชนโดยรอบให้ “เติบโตไปด้วยกัน” เพื่อช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานและก้าวไกลสู่ระดับสากล สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเติมเต็มรอยยิ้มให้ชุมชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

OR เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมรักษ์โลก มอบถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการ Green Innovation Contest แก่ทีมชนะเลิศ

นางสาวราชสุดา รังสิยากูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกิจการพิเศษ 1 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR

OR มุ่งส่งเสริม “โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน” จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ตอกย้ำจุดยืนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ปลูกกาแฟภาคเหนือ

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR พร้อมด้วยนายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สิงห์ปาร์ค เชียงราย จับมือ คาเฟ่ อเมซอน เบลนด์พรีเมียมชาอู่หลง 3 เมนูใหม่ เสิร์ฟกว่า 4,200 สาขาทั่วประเทศ

“สิงห์ปาร์ค เชียงราย” ตอกย้ำความเป็นผู้ผลิตชาคุณภาพแถวหน้าเมืองไทย สานต่อความเชี่ยวชาญในธุรกิจ พร้อมส่งมอบชาอู่หลงคุณภาพ

GC จับมือ OR ร่วมมือด้านเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ร่วมกัน

30 กันยายน 2567 - กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

OR ร่วมภาคภูมิใจ มอบเงินสนับสนุน นักกีฬาจากสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย คว้าชัยพาราลิมปิกเกมส์ 2024

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ร่วมแสดงความยินดีแก่นักกีฬาจากสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย ที่สร้างผลงานยอดเยี่ยมในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พร้อมมอบเงินรางวัลแก่นักกีฬาทั้ง 5 ท่านที่สามารถคว้า 6 เหรียญรางวัล ประกอบด้วย 2

OR จับมือ BEDO ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพิ่มรายได้ชุมชน ผ่าน “โครงการไทยเด็ด”

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และนางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ