'แอมเนสตี้' หนาว! 'แรมโบ้' ล่าครบ 1 ล้านชื่อ เตรียมนำมวลชนชง 'กรมปกปครอง' เพิกถอนใบอนุญาต

แฟ้มภาพ

'แรมโบ้' เห็นด้วย 'นิด้าโพล' สำรวจความเห็นประชาชน ต่อการออกกฎหมายควบคุม NGO พบว่าอยากให้มีการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ออกกฎหมายห้ามทำกิจกรรมที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และก่อให้เกิดความแตกแยกย้ำหากไม่ได้ทำผิดไม่ต้องกลัวกฎหมาย เผยข่าวดี!ล่าชื่อไล่ แอมเนสตี้ ครบ 1 ล้านชื่อแล้ว นัดมวลชนยื่นกดดันนายทะเบียนกรมการปกครองเพิกถอนให้เป็นองค์กรเถื่อน สิ้นเดือนมกราคมนี้

18 ม.ค.2565 - นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี แสดงความเห็นด้วยกับ "นิด้าโพล” ที่สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง การควบคุม NGO โดยประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.36 เห็นด้วยที่หากออกกฎหมายกำหนดให้ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินทุน และร้อยละ 58.14 เห็นว่าที่รับเงินจากต่างประเทศต้องเปิดเผยจำนวนเงินและวัตถุประสงค์การใช้เงิน ขณะเดียวกันประชาชนร้อยละ 34.70 ยังอยากให้การออกกฎหมาย NGO ห้ามทำกิจกรรมที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม

นายเสกสกล กล่าวว่าดังนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มองว่ายังมี NGO บางองค์กรอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือสนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบกลุ่มต่างๆอยู่ ประชาชนจึงอยากให้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมกลุ่ม NGO เหล่านี้ เพราะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและประเทศชาติ

นายเสกสกล ยังมองว่า NGO ที่ช่วยเหลือประเทศชาติ และประชาชนที่แท้จริงก็ยังมีอยู่ และNGO ที่มาจากต่างประเทศเข้ามาสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อสร้างความเดือดร้อนในประเทศก็มี ส่วนตัวจึงมองว่าการออกกฎหมายควบคุมถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ซึ่งหาก NGO ไม่ได้ทำผิดอะไรก็ไม่ต้องกลัวกฎหมายใดๆทั้งสิ้น

"ผมจึงเห็นว่า NGO ที่เคลื่อนไหวร่วมกับม็อบสามกีบ และทำลายความมั่นคงคิดล้มล้างสถาบันเหล่านี้คือกลุ่มอันตรายที่สุด ที่คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศที่ปกป้องประเทศชาติและสถาบันเบื้องสูงจะไม่มีวันยอมให้องค์กรเหล่านี้มีที่ยืนเพื่อเคลื่อนไหวก่อความวุ่นวายป่วนบ้านป่วนเมืองเด็ดขาด ประชาชนจึงเห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะต้องมีกฎหมายมาควบคุมกับNGO เถื่อนๆให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย

"ในสิ้นเดือนมกราคมนี้ผมและพี่น้องประชาชนที่ได้ลงชื่อขับไล่ NGO แอมเนสตี้ ได้ครบ 1 ล้านรายชื่อเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อให้ถูกต้องชัดเจน จากนั้นผมและคณะจะนำรายชื่อ 1 ล้านรายชื่อไปยื่นต่อหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบให้ดำเนินการตรวจสอบแอมเนสตี้ อันดับแรกจะไปยื่นต่อกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นนายทะเบียน เพื่อให้เร่งรีบเพิกถอนใบอนุญาตให้องค์กรนี้พ้นสภาพเพราะทำผิดหลายประการไม่ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขระเบียบในการยื่นขอนุญาตจดทะเบียนเอาไว้ เมื่อกรมการปกครอง เพิกถอนใบทะเบียนแล้วเท่ากับว่า แอมเนสตี้เป็นองค์กรเถื่อน ใครเคลื่อนไหว อ้างชื่อองค์กรเถื่อนก็จะต้องรับผิดชอบตัวเองและตนจะดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด ไม่ยอมให้ใครอ้างองค์กรเลวๆที่ทำลายความมั่นคง ทำลายสถาบันได้มีที่ยืนบนผืนแผ่นไทยอย่างเด็ดขาด" นายเสกสกล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทนายฯ เผย ผูัลี้ภัยไทยยังมี 104 คน เรียกร้องศาลให้ประกันคดีการเมือง-นิรโทษ 112

ศูนย์ทนายฯ เผย สถานการณ์ผู้ลี้ภัยไทย ยังมี 104 คนอยู่ต่างแดน เรียกร้องศาลให้ประกันคดีการเมืองเพื่อไม่เพิ่มผู้ลี้ภัย-รบ.เร่งนิรโทษไม่เว้น 112

'นางแบก' แขวะทูตโลกที่1 กังวลเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน แต่ช่วยอะไรไม่ได้

นางสาวลักขณา ปันวิชัย หรือ คำผกา หรือ แขก กองเชียร์พรรคเพื่อไทย และพิธีกรชื่อดัง โพสต์ข้อความใน X Kam Phaka @kamphaka ระบุว่า

'กสม.' เสนอเร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบ ต่อผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว

'กสม.' เสนอเร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว -​การแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย

'โบว์' ตั้งคำถามจะมีผลกระทบอย่างไรต่อสถาบัน หาก 'ตะวัน' เสียชีวิตระหว่างฝากขัง

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา โพสต์เฟซบุ๊กว่า ตะวันและแฟรงค์ ถูกฝากขังในชั้นสอบสวน ทั้งที่อิสรภาพของผู้ต้องหาทั้งสองคนไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน