กรมอุตุฯ ออกประกาศคาดหมายลักษณะอากาศ "ฤดูหนาว" ของประเทศไทยในปี 2567 คาดเริ่มต้นปลายสัปดาห์ที่ 3 เดือน ต.ค. ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติ บริเวณไทยตอนบน หนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุด 6-8 องศา ส่วนกทม. 16-18 องศา เดือน พ.ย.-ธ.ค. จะมีโอกาสเกิดพายุเข้าอ่าวไทยและภาคใต้
2 ต.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่ประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2567 โดยระบุว่า ฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มต้นประมาณปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคม 2567 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568
- บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568
- อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 20 - 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศา ซ.) และจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 21.6 องศา)
- สำหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 6-8 องศา ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณ กรุงเทพมหานคร 16 - 18 องศา และปริมณฑล 14 - 16 องศา
- ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2567 ถึงเดือนมกราคม 2568
- สำหรับยอดดอยและยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง
- ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกซุกหนาแน่นต่อไป โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2-3 แมตร ส่วมทะเลอันตามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
- เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อน แล้วเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่นประมาณ 4-5 เมตร
ลักษณะอากาศทั่วไป
ประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก)
ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นบางแห่ง ทางตอนบนของภาค โดยจะมีฝนเล็กน้อยร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะ ๆ โดยจะมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมประเทศไทย
จากนั้นจนถึงเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นมากขึ้น โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไปและมีอากาศหนาวจัดบริเวณตอนบนของภาค สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางช่วง ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป ส่วนมากทางตอนบนของภาค
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ และต่อเนื่อง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมประเทศไทย และมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ
ส่วนในระยะต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และเริ่มมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง
ภาคใต้
ตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมกราคม มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ซึ่งจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่งก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง
สำหรับคลื่นลมทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ ในบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร เนื่องจากมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ และมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ นอกจากนี้ ในบางช่วงมักจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงหรือพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้
จากนั้นจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ฝนจะลดลง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง และเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทน
รายละเอียดตามภาคต่างๆ
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวันทางตอบนของภาค และมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10 - 20 ของพื้นที่ และอาจมีลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน
สำหรับช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมากขึ้น โดยมีอากาศหนาวเย็น เกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวจัด โดยเฉพาะบริเวณตอนของภาค สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้ง เทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ในบางช่วง
ส่วนช่วงต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและมีฝนบางแห่งในบางวัน กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ โดยยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า และจะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน
ภาคกลางและภาคตะวันออก
ช่วงปลายสัปดาห์ที่สามของเตือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางวัน ทางตอนบนของภาค กับมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน
สำหรับช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขา กับจะมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในบางช่วง
ส่วนช่วงต้นและกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นอุ่นขึ้น และมีฝน บางแห่งในบางวัน โดยมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ แต่สำหรับทางตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขายังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย)
ช่วงปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตลาคมถึงต้นเดือนมกราคม จะมีฝนตกชกหนาแน่นเกือบหัวไปโดยเฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ในบางแห่งสำหรับคลื่นลมจะมีกำลังแรง จะมีคลื่นสูนสูง 2 - 4 เมตรในบางช่วง
ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ฝนจะลดลง เว้นแต่ทางตอนล่างของภาค ยังคงมีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในบางวัน
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน)
ในช่วงปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
สำหรับเดือนธันวาคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยมีฝน ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ช่วงปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นในบางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่
สำหรับช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม จะมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่ กับจะมีหมอกหนาในบางช่วง
ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศจะแปรปรวน อากาศจะอุ่นขึ้น และมีฝนในบางวัน โดยจะมี อากาศเย็นในบางวัน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
ข้อควรระวัง
1. เดือนตุลาคม บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ประกอบกับจะมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมา และในบางช่วงจะมีน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่
2. เดือนธันวาคมและมกราคม บริเวณยอดดอยและยอดภูมักจะเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ กับจะมีหมอกหนาเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยวดยานพาหนะไว้ด้วย
3. เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตก เคลื่อนตัวจากประเทศเมียนมาผ่านประเทศไทยตอนบนซึ่งจะทำให้ช่วงดังกล่าวเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่
4. เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม มักมีหย่อมความกดอากาศต่ำ และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนแล้วเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่นประมาณ 4 - 5 เมตร
หมายเหตุ
เกณฑ์อุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาว
อากาศเย็น หมายถึง 16.0 - 22.9 องศาเซลเซียส
อากาศหนาว หมายถึง 8.0 - 15.9 องศาเซลเซียส
อากาศหนาวจัด หมายถึง ต่ำกว่า 8.0 องศาเซลเซียส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหนือ-อีสาน อากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้