โอมิครอนคร่ารายที่ 2! หญิงอุดรวัย 84 ปี ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ติดจากลูก

17 ม.ค. 2565 – ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงข่าว​สถานการณ์​การ​แพร่ระบาด​ของ​โรค​โค​วิด​-19​ กล่าวว่า มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ 6,929 ราย เสียชีวิต 13 คน ผู้ป่วยปอดอักเสบที่ยังรักษา 533 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจสะสม 108 ราย โดยผู้เสียชีวิตที่ยืนยันสายพันธุ์เป็นโอมิครอน 2 ราย โดยรายที่ 1 จ.สงขลา เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียงและอัลไซเมอร์ ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ประวัติเสี่ยง หลานชายที่เดินทางกลับมาจากภูเก็ตเป็นผู้ป่วยยืนยันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน แพร่เชื้อให้แก่คนในครอบครัว โดยวันที่ 6 ม.ค.2565 ผู้ป่วยมรไข้ มีเสมหะ ทราบข่าวลูกสาวตรวจพบโควิด หลานสาวตรวจหาเชื้อด้วยATKผลบวกจึงส่งต่อเข้ารับรักษาที่ รพ.หาดใหญ่​ 7 ม.ค.2565 ผู้ป่วยเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่ รพ.หาดใหญ่ แพทย์เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ รพ.หาดใหญ่ ผลพบเชื้อ ผู้ป่วยมีไข้ 38.5 องศา ไอ หายใจลำบาก แพทย์รับไว้ที่แผนก​ เอกซเรย์ปอด ผล infltration both lungs, on ETT แพทย์จ่ายยา Dexamethasone 10mg., Remdesivir ต่อมา12 ม.ค. ผู้ป่วยเสียชีวิต เวลา 09.20 น. ส่งตัวอย่างตรวจยืนยันสายพันธุ์ที่​ ศวก.12 สงขลา ผลพบเชื้อ SAR-COV-2 สายพันธุ์ โอมิครอน

ส่วนรายที่ 2 ผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์​โอ​มิ​ค​รอน​จังหวัดอุดรธานี เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โรคประจำตัวคือ มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย รักษาแบบประคับประคอง ใส่ออกซิเจน​ ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน​เนื่องจากเป็นผู้ป่วยติดเตียง โดยมีประวัติเสี่ยงคือ เป็นผู้ป่วยติดเตียง คนในครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19​ โดยลูกชายของผู้ป่วยมีการได้ไปสังสรรค์​กับเพื่อนที่ต่างอำเภอ​ โดยข้อมูลพบว่าในกลุ่มที่ไปสังสรรค์​ใน​ 4 คนพบการติดเชื้อ​ต่อมาวันที่ 9 ม.ค.2565 ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT -PCR เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของลูกชาย

หลังจากนั้นวันที่ 10 ม.ค.2565 ผลตรวจพบเชื้อ โรงพยาบาลประสานเพื่อเข้ารับรักษา ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเข้ารักษาในโรงพยาบาล แพทย์​อนุญาตให้เข้าสู่ระบบ Home Isolation ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามแผนการรักษา และจัดเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ซึ่งก่อนติดเชื้อโควิดลูกชายที่ดูแลแจ้งว่าค่าออกซิเจน​ปลายนิ้วก็อยู่ระหว่างช่วงดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีเหนื่อย หายใจไม่หอบ​ วันที่ 11-12 ม.ค.2565 ออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้​ วันที่ 13-14 ม.ค.2565 : ผู้ป่วยรับประทานได้น้อยลง ไม่มีหายใจหอบ ไม่มีไข้ ออกซิเจนปลายนิ้ว 86-87%

ต่อมาวันที่ 15 ม.ค.2565 ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจหอบ คำออกซิเจนปลายนิ้ว <76% เปลี่ยนออกซิเจนจาก cannular เป็น mask c bag ให้ออกซิเจนปลายนิ้ว 90% ประสานผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์ให้เพิ่มฟาวิพิราเวียร์ จาก 5 วันเป็น 10 วัน และเพิ่มมอร์ฟีนให้เนื่องจากยาเดิมหมด เวลา 16.00 น. ผู้ป่วยตอบสนองได้น้อยลง หายใจหอบลึก และคลำชีพจรไมได้ หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตเวลา 19.45 น. รวมระยะเวลารักษา Home Isolation 6 วัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง

'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล