21 ก.ย.2567 - พ.ต.อ.กอบ อัจนากิตติ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) กล่าวถึงกรณีพรรคการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน มีความเคลื่อนไหวยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาในเดือนตุลาคมว่า รัฐธรรมนูญได้กำหนดบทบาทของแต่ละฝ่ายไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ เช่นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกรัฐสภา ดังนั้นทุกคนต้องเคารพรัฐธรรมนูญก่อนเป็นลำดับแรก เวลาปฏิญาณตนเข้าปฏิบัติหน้าที่ฯ ก็บอกว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แล้วจู่ๆ จะมาแก้ไขรธน. แล้วที่ออกสื่อว่าจะแก้ไขเรื่องมาตรฐานจริยธรรม ในเมื่อไม่มีจริยธรรมแล้วคุณมาเป็นนักการเมืองทำไม จริยธรรมมันอยู่ที่ตัวคน หากคุณคิดเสียสละเพื่อบ้านเมือง ต้องมีจริยธรรมก่อนเป็นลำดับแรกเลย ซึ่งจริยธรรมคือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ละอายและเกรงกลัวต่อการปฏิบัติตัวผิด ทุจริตคิดมิชอบ เท่านี้เอง นี้คือจริยธรรม หากนักการเมืองไม่มีจริยธรรม ก็กลับไปอยู่บ้านเลย เพราะที่รัฐสภา ไม่ใช่จะมาทำอะไรตามอำเภอใจ
ถามถึงว่า ฝ่ายพรรคการเมืองให้เหตุผลว่า ที่เสนอแก้ไขมาตรา 160 (4) และ (5) เพราะไม่มีความชัดเจนเลยต้องเสนอแก้ไขให้ชัดเจน พ.ต.อ.กอบ กล่าวว่า จะมาแก้ไขเรื่องนี้ มันอยู่ในตัวคน เพียงแต่มาเขียนให้เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้นเอง แล้วคุณจะไปกลัวอะไร เรื่องต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ถ้าคุณไม่ใช่คนชั่ว คุณกลัวอะไร
“ถ้าจะแก้ไขตอนนี้ ผมไม่เห็นด้วยในการจะมาเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ อยากให้ไปแก้ปัญหาปากท้องประชาชนก่อน อย่างที่ผมอภิปรายไว้ตอนรัฐบาลแถลงนโยบาย เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นปัญหาอะไร ส่วนจะแก้ไขอย่างไรต่อไป ก็ว่ามา ให้เห็นเป็นร่างก่อน จะมาพูดตีปลาหน้าไซว่าจะแก้อะไรตรงไหน ผมไม่เห็นด้วย คุณมาทำให้ผมเห็นก่อน และในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปี 2560 ก็เขียนไว้ว่า วิกฤตทางรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหาช่วงที่ผ่านมา ก็เพราะมีบางคนไม่เคารพกติกาบ้านเมือง ไม่เคารพกฎหมาย กฎหมายเมืองไทยมีมากมาย แล้วบังคับใช้เต็มประสิทธิภาพหรือยัง นี้ต่างหากที่ต้องไปทำ “
เมื่อถามว่า การแก้ไขรธน.ดังกล่าว เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ แก้เพื่อตัวเอง พ.ต.อ.กอบ กล่าวว่า ถูกต้องอยู่แล้ว แต่เขาคงไม่รับหรอก
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า หากจะเสนอแก้ไขรธน.เรื่องมาตรฐานจริยธรรมฯอะไรต่างๆ เห็นด้วยหรือไม่ พ.ต.อ.กอบ กล่าวว่า ไม่เอา ไม่แก้ ผมถือว่าคนต้องมีจริยธรรมก่อน ผมชัดเจนอยู่แล้ว เพราะผมไม่ได้มาด้วยผลประโยชน์ทับซ้อนกับใคร
สำหรับพ.ต.อ.กอบ ช่วงที่ผ่านมา ตกเป็นสว.คนดัง หลังโซเชียลมีเดีย เผยแพร่คลิปการอภิปรายนโยบายรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพ.ต.อ. กอบ อภิปรายตอนหนึ่งว่า “ รัฐธรรมนูญไม่ใช่ปัญหา การปฏิวัติไม่ใช่ปัญหา แต่คนโกงเป็นปัญหาและเป็นต้นเหตุ”จนทำให้โซเชียลมีเดียมีการแชร์คลิปดังกล่าวอย่างกว้างขวางที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะต้องพิจารณาในที่ประชุมร่วมรัฐสภา ร่างแก้ไขรธน.ที่จะผ่านความเห็นชอบทั้งวาระหนึ่งและวาระสาม ต้องได้เสียงโหวตเห็นชอบจากสว. อย่างน้อย 67 เสียง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดชื่อ 18 กมธ.วิสามัญ แก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา 'สว.พันธุ์ใหม่' ได้ 1 ที่
จากที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 415 เสียง ไม่เห็นด้วย 185 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับการประชุม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... จากนั้นตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็นสส.13 คน สว. 5 คน
รัฐสภารับหลักการแก้ข้อบังคับฯ เปิดทางคนนอกร่วมแก้รธน. 'หมออ๋อง' คัมแบ็ค
ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน
รัฐสภา ถกแก้ข้อบังคับ 'สว.-รทสช.' รุมค้านเปิดทาง 'คนนอก' ร่วมวงกมธ.แก้รธน.
ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บั
'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น
'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล
นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256
'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่