14 ก.ย.2567 - พลตรี วินธัย สุวารี โฆษก กอ.รมน. กล่าวว่าตามที่ได้มีผู้เขียนหนังสือ “ในนามของความมั่นคงภายใน การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย” โดยมีการตีพิมพ์จำหน่ายทั้งแบบรูปเล่มหนังสือ และรูปแบบออนไลน์ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมกับมีการจำหน่ายทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ ประกอบกับมีการนำข้อมูลในหนังสือที่ตนเองเขียนเองนั้น ไปบอกเล่าผ่านการเสวนา และการบรรยายในเวทีต่างๆ พร้อมกับได้มีการบันทึกนำไปเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจำนวนหลายครั้ง
กอ.รมน. ได้ทำการตรวจสอบ พบว่าผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวไม่ได้มีคุณวุฒิการศึกษาและไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงโดยตรง อีกทั้งไม่ได้รับผิดชอบให้ทำการสอนในเรื่องดังกล่าว และไม่มีผลงานทางวิชาการในด้านความมั่นคงปรากฎให้เห็นมาตามลำดับ โดยหนังสือและผลงานทางวิชาการของผู้เขียนก็ไม่ได้ทำการศึกษาวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย แต่กลับใช้วิธีการเลือกนำข้อมูลเฉพาะที่สนับสนุนแนวคิดตนเองที่ตั้งไว้แล้วนำมาเป็นข้อสรุปขึ้นเอง
ประกอบกับไม่ได้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงาน เช่น กอ.รมน. หรือ กองทัพโดยตรง รวมถึงไม่ได้ทำการศึกษากฎหมาย ระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติราชการ จึงเกิดเป็นข้อสรุปย่อยที่เป็นเท็จจำนวนมาก นำมาสู่ข้อสรุปในภาพรวมถึงการแทรกซึมของกองทัพ โดยมี กอ.รมน. เป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมสังคมไทย
โฆษก กอ.รมน. กล่าวอีกว่าการที่ผู้เขียนได้มีการนำข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนสูงในลักษณะนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่จำหน่ายเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอน และกิจการการศึกษา จึงอาจเป็นการละเมิดข้อบังคับจริยธรรมของมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรงรวมถึงอาจเข้าข่ายความผิดในทางกฎหมายด้วยเช่นกัน
“ขอเรียนว่า กอ.รมน. เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ โดยมีบุคลากรในการปฏิบัติทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาความมั่นคง ซึ่งรัฐต่างๆ ล้วนแล้วแต่ใช้กองทัพเข้ามาสนับสนุนฝ่ายพลเรือนมานานแล้ว อีกทั้งในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานราชการใดในประเทศที่มีอำนาจอิสระอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของรัฐบาล ประกอบกับการกำหนดนโยบายความมั่นคงและนโยบายกระทรวงกลาโหมนั้นเป็นเรื่องในระดับรัฐที่มีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานพลเรือนที่รับผิดชอบ ไม่ใช่ระดับกองทัพหรือ กอ.รมน. จะกำหนดเองได้
ส่วนแผนงานโครงการที่กล่าวอ้างว่าเป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคมไทยนั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับมอบจากรัฐบาล สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงต่างๆ ซึ่งมีการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนและทบทวนทุกปีตามขั้นตอนความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี”
พลตรี วินธัย กล่าวว่ากอ.รมน. ขอเรียนว่าการนำหนังสือและบทความทางวิชาการที่มีข้อมูลในลักษณะที่เป็นเท็จ ไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจำหน่ายเป็นแบบรูปเล่มหนังสือ และการไปร่วมเสวนาบันทึกนำไปเผยแพร่ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลให้เกิดความเสียหาย ทำให้สังคมเข้าใจผิด และกระทบภาพลักษณ์ขององค์กรหน่วยงาน
“กอ.รมน.จึงขอความร่วมมือในการระงับการจำหน่ายหนังสือฯ ดังกล่าว และจะประสานทางมหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้กรุณาพิจารณาในเรื่องของจริยธรรม รวมถึงอาจจำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป ทั้งนี้หากนักวิชาการ สื่อมวลชนหรือสังคมมีความสงสัย ต้องการทราบรายละเอียดในประเด็นใด สามารถติดต่อมาที่หน่วยงานหรือทีมโฆษก กอ.รมน. ได้ตลอดเวลา”โฆษก กอ.รมน.ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เย้ยกฎหมาย! โพสต์ขาย 'น้ำท่อม' ฉลองวันลอยกระทง
ภายใต้การนำของ พ.ต.อ.พิเชษฐ์พงศ์ แจ้งค้ายคม ผกก. สภ.เมืองสมุทรสาคร พ.ต.ท.สุขุม เพาะไธสง รอง ผกก.ป. พ.ต.ท.โสภาส ถนนทิพย์ สวป. สภ. พร้อมกำลังตำรวจ
'ภูมิธรรม' แบ่งงาน 'บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กรอย-สุรสิทธิ์-ธิติรัฐ' ลุยงานมั่นคง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้นำนายธิติรัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของนายภูมิธรรม พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
ชมภาพชุด ซ้อมพิธีสวนสนาม 'ทหารรักษาพระองค์'
พลตรีวิทัย ลายถมยา โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย เปิดเผยระหว่างการซักซ้อมพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ฯ ณ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
โฆษก มท. แจงมติครม.เร่งแก้ปัญหาคนไร้สถานะทางทะเบียน 4.8 แสนราย ไม่ใช่ให้สัญชาติคนต่างด้าว
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามา
ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย