เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน ประธานศาลรธน. 1 ใน 4 ตุลาการ : ความเป็นรมต.ของ 'เศรษฐา' ไม่สิ้นสุดลง

12 ก.ย.2567 - สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5) กรณีแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี

โดยตุลาการเสียงข้างมากที่เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ประกอบด้วย 1.นายปัญญา อุดชาชน 2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยที่เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลง ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.นายนภดล เทพพิทักษ์ 3.นายอุดม รัฐอมฤต 4.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ

โดยล่าสุดสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตน โดยมีความเห็นส่วนตนของ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยที่เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลง

ประเด็นวินิจฉัย

ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) หรือไม่

ความเห็น

รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ และมาตรา ๑๗๐ เป็นบทบัญญัติในหมวด ๘ คณะรัฐมนตรีโดยมาตรา ๑๖๐ บัญญัติว่า "รัฐมนตรีต้อง ... (๔) มีความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์(๕) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ..." และมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ ..(๔)ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐.. "

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ผู้ถูกร้องที่ ๒ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขอลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว การนี้จึงทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๒) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีในส่วนของผู้ถูกร้องที่ ๒ ต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๑ กรณีไม่เป็นไปตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสามประกอบมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธธรรมนูญจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องกรณีของผู้ถูกร้องที่ ๒

พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธธรรมนูญโดยรัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติในการตรากฎหมายอันเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในสังคมส่วนคณะรัฐมนตรีจะใช้อำนาจบริหารในการบริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินนโยบาย รวมถึงการบริหารงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในประเทศ และศาลซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนดให้มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น สำหรับคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ วรรคหนึ่งกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน โดยคณะรัฐมนตรีประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารและรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ ที่แบ่งส่วนราชการโดยแยกตามภารกิจ รัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีไว้ในมาตรา ๑๖๔ โดยบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมถึงต้องปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจด้วยความชื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เปิดเผยมีความรอบคอบและระมัดระวังในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนส่วนรวม รักษาวินัยในกิจการที่เกี่ยวกับเงินแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สร้างเสริมให้ทุกภาคส่วนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรม ผาสุก และสามัคคีปรองดองกัน ด้วยเหตุที่คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินตามที่รัฐธรรมนูญมอบให้ซึ่งถือเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิบไตยทางหนึ่ง การกำหนดที่มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมถึงเหตุแห่งการสิ้นสุดของตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นจึงเป็นข้อสำคัญ เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะได้บุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามก่อนที่จะเข้าสู่ตำแหน่งและคงสถานะนั้นไว้ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า การที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ ๒ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ ๒ เคยต้องโทษตามคำสั่งศาลฎีกาให้จำคุกเป็นเวลา๖ เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล การดังกล่าวทำให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ เป็นบุคคลที่ไม่มีความชื่อสัตย์สุจริตและมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธธรรมนูญมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) กรณีจึงเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔)และ (๕)

เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ ได้บัญญัติคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามรัฐมนตรีไว้โดยบัญญัติว่า "รัฐมนตรีต้อง ... (๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ (๕) ไม่มีพฤติกรรมอัมอันเป็นการฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ..." กรณีตามคำร้องการพิจารณาว่าบุคคลใดมีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามในการได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่นั้นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) เป็นสำคัญ และแม้ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอยู่ก็ตาม รัฐมนตรีผู้นั้นย่อมต้องคงสถานะของตนให้มีคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) อยู่ตลอดขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยหากเกิดกรณีที่ไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) เสียแล้ว จะส่งผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้นั้นสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๐ โดยวรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ... (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ ..." เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญมีความมุ่งหมายที่จะให้รัฐมนตรีเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ในที่นี้คงต้องหมายถึงความชื่อสัตย์สุจริตที่รับรู้เป็นการทั่วไปว่ารัฐมนตรีผู้นั้นมิได้มีมลทินมัวหมองที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเคลือบแคลงสงสัย รวมไปถึงต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีหรือใช้อำนาจหน้าที่ของตนโดยมิชอบอันอาจส่งผลเสียหายแก่รัฐหรือประโยชน์สาธารณะหรือแก่ประชาชนทั่วไป

เมื่อพิจารณาจากความมุ่งหมายของบทบัญญัติมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) ที่ให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต้องครองตนให้มีความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และไม่มีพฤติกรรมที่ฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงอยู่ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ประกอบกับกับอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งประกอบไปด้วยส่วนราชการต่าง ๆ ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน ในการดำเนินนโยบาย รวมถึงการใช้งบประมาณของแผ่นดินเพื่อบริหารจัดการกิจการของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในสังคมความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และไม่มีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงนั้นย่อมถือเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญอย่างยิ่งที่รัฐมนตรีต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารและถือเป็นตำแหน่งสูงสุดในคณะรัฐมนตรีย่อมมีดุลยพินิจในการเลือกบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำกระทรวงให้มีจำนานวนครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งถือเป็นดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ที่จะตัดสินใจอย่างอิสระในการเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญโดยตรงกับสายการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของกระทรวงนั้น ๆ อันถือเป็นการตัดสินใจทางการเมืองร่วมกันกับพรรคการเมืองที่เข้ามาร่วมรัฐบาลภายใต้หลักความไว้วางใจระหว่างนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองดังกล่าว เนื่องด้วยรัฐมนตรีแต่ละคนเมื่อประกอบกันเป็นคณะรัฐมนตรีแล้วต้องบริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน หากไม่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีได้มีดุลยพินิจในการเลือกรัฐมนตรีด้วยตนเองแล้ว อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในการบริหารประเทศอย่างเป็นเอกภาพได้

การนี้จึงต่างจากกรณีการตรวจสอบความถูกต้องของคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามที่กฎหมายกำหนดอันเป็นกระบวนการตรวจสอบทางกฎหมายซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดมาตรฐานของบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยกระบวนการตรวจสอบดังกล่าวนั้นย่อมสามารถถูกตรวจสอบได้โดยองค์กรอื่นหรือแม้กระทั่งการตรวจสอบโดยประชาชนโดยการยื่นคำร้องผ่านองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น เป็นกระบวนการปฏิบัติงานภายในของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นและยังเป็นหน่วยงานที่จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งรัฐมนตรีเพื่อดำเนินกระบวนการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งรัฐมนตรี และการขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสนำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น จะดำเนินการตรวจสอบจากแบบแสดงประวัติและแบบแสดงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นผู้จัดทำเอกสารและรับรองตนเองว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะประสานงานสอบถามไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงหน่วยงานที่ครอบครองข้อมูลข่าวสารเพื่อตรวจสอบรายละเอียดประวัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อไป อาทิ ตรวจสอบการเป็นบุคคลล้มละลาย ตรวจสอบข้อมูลคดีแพ่งและคดีอาญา รวมถึงเชิญบุคคลดังกล่าวมาชี้แจงกรณีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการตรวจสอบประวัติและตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้ถูกร้องที่ ๒ ตามขั้นตอนกระบวนการแล้วอย่างครบถ้วนก่อนที่เสนอชื่อบุคคลดังกล่าวเพื่อนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเพื่อทรงแต่งตั้งรัฐมนตรี ประกอบกับแบบแสดงประวัติและแบบแสดงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่ผู้ถูกร้องที่ ๒ เป็นผู้จัดทำข้อมูลและรับรองว่าตนเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรับรู้ของผู้ถูกร้องที่ ๒ เอง ซึ่งในกระบวนการจัดทำเอกสารข้อมูลแบบแสดงประวัติและแบบแสดงคุณสมบัติ รวมถึงกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลนั้นอาจเกิดข้อบกพร่องในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ขึ้นได้โดยข้อเท็จจริงตามคำร้องนี้คงต้องถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ไม่ร้ายแรงถึงขนาดจะทำให้เห็นว่าผู้ถูกร้องที่ ๑ รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ (๔)และ (๕) แต่จงใจที่จะเสนอชื่อผู้ถูกร้องที่ ๒ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี อันจะทำให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์หรือมีพฤติกรรมอันเป็นการผ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) แต่อย่างใด

กรณีการตีความปัญหาที่ว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๐ บัญญัติไว้ หรือไม่ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของององค์กรอื่น อันได้แก่ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ หรือศาลฎีกาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๔ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบมาตรา ๒๓๕ วรรคหนึ่ง (๑) แล้วแต่กรณีซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้ถูกร้องที่ ๑ ในฐานะนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ เป็นบุคคลผู้ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) กรณีที่จะถือว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ ตกเป็นบุคคคลที่ต้องห้ามมีให้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรรมต่อผู้ถูกร้องที่ ๒ และในการนี้จะถือว่าผู้ถูกร้องที่ ๑ รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) มิได้ เพราะเป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจหรือความเข้าใจแห่งตนพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป

ดังนั้น การที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ ๒ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยที่ผู้ถูกร้องที่ ๒ เคยต้องคำสั่งศาลฎีกาให้จำคุกเป็นเวลา ๖ เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล การดังกล่าวไม่ถือว่าผู้ถูกร้องที่ ๑ เป็นบุคคลไม่มีความชื่อสัตย์สุจริตหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) แต่อย่างใด ดังนั้น ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ จึงไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕)

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) อ่านต้นฉบับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้องใจ! 'นายกฯอิ๊งค์-บิ๊กเพื่อไทย' ทำไมขยันลงพื้นที่ภูเก็ต

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "อุ๊งอิ๊ง หนีกระทู้สภา ไปกระทู้ภูเก็ต" โดยระบุว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

'หัวหน้าเท้ง' มั่นใจสู้คดี 44 สส. ยื่นแก้ ม.112 แต่หากถูกตัดสิทธิยังมีดาวเด่นอีกหลายคน

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีจริยธรรมของ 44 สส. อดีตพรรคก้าวไกล ว่า ทีมกฎหมายได้เตรียมการไว้อย่างดี และตนยังอยากให้ทุกคนกลับมาย้อนคิดอีกครั้ง อยากให้ทุกคนย้อนกลับมาคิดอีกครั้งว่าที่มาที่ไปของปัญหานี้เกิดจาก ก

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี

ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า