เพจ 'กฎหมายแรงงาน' เคลียร์ ไม่เข้ารับปริญญา ไม่รับเข้าทำงานได้เหรอ?

16 ม.ค.2565 - เฟซบุ๊กเพจ "กฎหมายแรงงาน" โพสต์ข้อความระบุว่าจากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสว่า "ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน" ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา

และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน

"เขา" ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ

ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา

โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

การวางกติกาว่าหากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้

แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

การเลือกปฎิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม

จริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฎิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

๑) การเลือกปฎิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ

เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ ๕๕ ลูกจ้างชายเกษียณ ๖๐ ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแต่งต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ ๒๑๒๗/๒๕๕๕)

๒) การเลือกปฎิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย

เคสนี้ น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฎิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๔๒/๒๕๔๗) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๖/๒๕๔๕)

๓) การเลือกปฎิบัติเพราะผลการเรียน

เป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๕๘/๒๕๕๐)

และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฎิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ออม' ปลื้ม 'หลิงหลิง' มาร่วมยินดี ฉลองงานรับปริญญาสุดอบอุ่น

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตป้ายแดง นางเอกสาว “ออม-กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์” นักแสดงสังกัดช่อง 3 ที่เข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีการศึกษา 2566 คณะเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เด็ก มธ. ชวนสร้าง 'ค่านิยมใหม่' วันรับปริญญา ใช้วาระเฉลิมฉลองบัณฑิต เป็นสะพานเชื่อมโอกาสสู่สังคม

‘วันรับปริญญา’ ถือเป็นวาระแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่มองว่าวันรับปริญญาคือหลักไมล์สำคัญของชีวิต เป็นรอยต่อที่จะก้าวเข้าสู่โลกการทำงานอย่างเต็มตัว

'นุ NEW COUNTRY' คว้าปริญญา ม.มหิดล ปลื้มได้ดอกไม้จากไอดอล 'ก๊อท จักรพันธ์'

เรียกว่าเป็นบอยแบนด์สุดฮิตฝั่งลูกทุ่งเลยทีเดียว สำหรับวง NEW COUNTRY ที่มีเพลงดังอย่าง STAND BY หล่อ, เฉือนใจ และล่าสุด กับเพลง "รบกวนเอ็นดู" ที่มีสมาชิก 4 หนุ่ม นำโดย นุ, ติณติณ, เอ็มโบ และ กีต้าร์ ล่าสุด 1 ในสมาชิกวง NEW COUNTRY ได้แก่ นุ-พุฒธิวัฒน์ หนุ่มสุพรรณ ก็เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต เอกขับร้องสากล มหาวิทยาลัยมหิดล

'ชวน' รับปริญญา 'ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์' ใบที่ 21 สาขาทัศนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กเปิดเผยว่า ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาทัศนศิลป์ ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม พิจารณามอบให้นายชวน หลีกภัย ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ