“ฮิวมิค” มหาอำนาจทางการเกษตรแห่งใต้พิภพ

โลกในปัจจุบัน เราต่างให้ความสำคัญกับความยั่งยืนกันมากขึ้น หลายองค์กรทั่วโลกจึงนำ “โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” มาใช้เพื่อสร้างความมั่นใจในการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลกให้อยู่ดีมีสุข สำหรับเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่เป็นการผสมผสานการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านสังคม เศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม และให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals–SDGs ขององค์การสหประชาชาติ (UN)

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่นำ “โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ BCG Economy Model มาใช้โดยดำเนินภารกิจหลักควบคู่ไปกับการดูแลสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน เช่น การร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาวิจัยนำ ลีโอนาร์ไดต์ (Leonardite)  หรือชั้นดินปนถ่านลิกไนต์คุณภาพต่ำ ที่พบได้จำนวนมากภายในเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งชั้นดินประเภทนี้ไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เนื่องจากมีค่าความร้อนต่ำ แต่กลับมีอินทรียวัตถุสำคัญสามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก โดยการนำลีโอนาไดต์มาพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์ฮิวมิคแบบน้ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงดิน ช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

จากลีโอนาไดต์ไร้ค่า พัฒนาสู่ “ฮิวมิค” ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ในการทำเหมือง กฟผ. แม่เมาะ จำเป็นต้องเปิดหน้าดินที่ปิดทับถ่านหินลิกไนต์ออก เพื่อนำลิกไนต์ที่มีคุณภาพดีมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งการเปิดหน้าดินนี้ทำให้พบชั้นดินปนถ่านลิกไนต์คุณภาพต่ำและมีค่าความร้อนต่ำ ไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เรียกว่า “ลีโอนาไดต์” (Leonardite)  ซึ่งเป็นชั้นดินที่มีอินทรียวัตถุสำคัญแทรกอยู่ คือ สารประกอบฮิวมิค (กรดฮิวมิค กรดฟูลวิค และฮิวมิน) จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ลีโอนาร์ไดต์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรมได้หลากหลาย เช่น ใช้ปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก 

ต่อมา กฟผ. แม่เมาะ ได้ศึกษาวิจัยกระบวนการคัดแยกสิ่งเจือปนออกจากลีโอนาร์ไดต์ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ฮิวมิคแบบน้ำเป็นผลพลอยได้ (By-Product) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ มีธาตุอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด สามารถใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปรับปรุงดิน การบำบัดน้ำเสีย หรือใช้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้

นายวิรัตน์ คำพรม หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรมเหมืองแม่เมาะ กฟผ. กล่าวว่า ภาพรวมตลาดโลกปริมาณความต้องการใช้สารฮิวมิค เติบโตค่อนข้างสูงเฉลี่ยปีละกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่การใช้งานภายในประเทศก็คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มที่แพร่หลายมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงเป็นโอกาสทางการตลาดที่ดี ผนวกกับ กฟผ. แม่เมาะ เองก็มีแหล่งวัตถุดิบลีโอนาร์ไดต์ในปริมาณกว่า 1.1 ล้านตัน ซึ่งศักยภาพนี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างเพียงพอในราคาที่เกษตรกรและผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ โดยปี 2567 โรงงานต้นแบบงานวิจัยสกัดสารฮิวมิคจากลีโอนาร์ไดต์ เพิ่มกำลังการผลิตเป็นปีละกว่า 420,000 ลิตร และยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์โลกที่มีความต้องการใช้สารฮิวมิคที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ฮิวมิคยังพบ “กรดฟูลวิค” ที่มีศักยภาพนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เช่น ส่วนผสมของเครื่องสำอาง ยา และอาหารเสริม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการต่อยอดและเป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นต้นแบบของการนำวัตถุพลอยได้ซึ่งเป็นของเหลือทิ้ง มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

กฟผ. มีความพร้อมทั้งวัตถุดิบ องค์ความรู้จากการวิจัย และมีโรงงานต้นแบบในการผลิตสารฮิวมิค ที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารปรับปรุงดินจากลีโอนาร์ไดต์ขึ้นรูปแบบเม็ดให้กับชุมชนโดยรอบ สร้างอาชีพ เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร กระจายรายได้สู่ชุมชน นอกจากนี้ ยังได้ผลิตและจำหน่ายสารฮิวมิคให้ผู้สนใจทั่วไปในราคาย่อมเยา ให้เกษตรกรเข้าถึงปัจจัยการผลิตได้โดยง่าย ช่วยลดต้นทุนการปลูกพืชได้” นายวิรัตน์ กล่าว

“ฮิวมิค” แม่ทัพคนสำคัญ ผู้ฟื้นคืนชีวิตดิน สร้างรายได้สู่ชุมชน

คุณสมบัติของฮิวมิค (Humic) จากลีโอนาร์ไดต์เหมืองแม่เมาะ ช่วยปรับค่า pH ในดินให้สมดุล มีค่าดูดซับไอออนบวกธาตุอาหารพืชสูง CEC อยู่ในช่วง 54 – 81 cmole/kg รวมถึงมีปริมาณ Organic Matter (OM) สูง มีปริมาณธาตุอาหารรอง อาหารเสริมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหลากหลาย เหมาะสมกับการใช้ในดินเหนียวและดินทราย ซึ่งเป็นดินส่วนใหญ่ของประเทศไทย ในสภาพที่เป็นดินเหนียว ธาตุอาหารจะถูกตรึงไว้ และยึดเกาะกันอย่างเหนียวแน่น รากพืชไม่สามารถดึงธาตุอาหารมาใช้ได้ ฮิวมิคจะเข้าไปจับกับธาตุอาหาร แล้วปลดปล่อยให้พืชได้ ส่วนในดินทรายจะเพิ่มการยึดจับธาตุอาหารในอนุภาคเม็ดดิน

ฮิวมิคไม่เพียงแค่ช่วยปรับปรุงดินให้พืชเจริญเติบโตเท่านั้น แต่ยังเป็นการคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน ด้วยการนำทรัพยากรชีวภาพ มาช่วยพัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับชุมชน (BIO Economy) ความสำเร็จของฮิวมิคไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มผลผลิต แต่ยังเป็นการเพิ่มความสุข เพิ่มความรักและความภาคภูมิใจในการทำเกษตรกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคตอีกด้วย

 “เมลอน สวนลุงสิงห์” เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ทดลองนำ “ฮิวมิค” มาใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างดี ผลผลิตเมลอนที่ได้มีขนาดลูกใหญ่กว่าไม่ใช้ฮิวมิค มีความหวานเพิ่มขึ้น 2 บริกซ์เมื่อเทียบกับต้นที่ไม่ใช้ฮิวมิค ฮิวมิคคืออาหารเสริมของพืชแต่ไม่ใช่สารทดแทนปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้ยังต้องใช้อยู่ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ฮิวมิคจะมาช่วยให้ปุ๋ยที่เราใส่ให้กับพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฮิวมิคจะช่วยให้รากพืชมีความแข็งแรง ดูดซึมสารอาหารได้ดี รากฝอยมีปริมาณมากขึ้น ปกติเราใส่ปุ๋ยไป พืชอาจจะนำไปใช้ได้เพียง 50-60% แต่ถ้าใส่ฮิวมิคร่วมด้วยอาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 80-90%  ที่สำคัญฮิวมิคไม่มีอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อพืชและผู้ใช้งาน เพราะสกัดมาจาก ลีโอนาไดต์ ที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์นับล้านปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาคเหนืออ่วม เขื่อนใหญ่ กฟผ. ช่วยหน่วงน้ำ บรรเทาอุทกภัย

กฟผ. ร่วมติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคเหนืออย่างใกล้ชิด เผยเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ยังสามารถรับน้ำได้อยู่ พร้อมปรับแผนลดการระบายน้ำและบริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบกับประชาชน

เฉลิมพระเกียรติฯ องค์ราชัน ตามรอยพระยุคลบาท ส่งต่อความรู้ให้เยาวชนผ่านโครงการห้องเรียนสีเขียว

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพ ทั้งยังทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย

กฟผ.เสริมศักยภาพท่องเที่ยวเกาะสมุย เตรียมขยายเคเบิลใต้น้ำเพิ่ม 1 เส้นรองรับฮับท่องเที่ยว

เกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและต่างชาติ เห็นได้จากหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวของเกาะสมุยกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

กฟผ. ลุยต่อโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เขื่อนศรีนครินทร์ เปิดขายเอกสารประกวดราคา วันนี้ – 3 ก.ค. 67

นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.

นักประดิษฐ์ กฟผ. คว้า 3 รางวัลใหญ่จากเวทีนานาชาติ “INTARG 2024” สาธารณรัฐโปแลนด์

“เรือสำรวจพร้อมระบบเก็บตัวอย่างน้ำแบบปลอดเชื้ออัตโนมัติ (สำหรับเก็บตัวอย่างน้ำทางจุลชีววิทยา)” ของนักประดิษฐ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คว้า 3 รางวัลใหญ่

กฟผ. แจ้งเปลี่ยนกำหนดปิดการจราจรบนถนนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 เพื่อขึงสายส่งไฟฟ้าเป็น 8 พ.ค. นี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปลี่ยนกำหนดดำเนินการขึงสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดข้ามถนน จากสถานีไฟฟ้าย่อยชลบุรี 2 ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยบ่อวิน จ.ชลบุรี