24 ส.ค.2567 - จากสถานการณ์น้ำและการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ตอนบนของลุ่มเจ้าพระยา ที่มีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปริมาณน้ำบางส่วนจะไหลลงมาที่เขื่อนเจ้าพระยาพระยา ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า สำนักชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท จึงได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา จากอัตรา 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีเกณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปถึง 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างด้านเหนือเขื่อน เตรียมรับน้ำเหนือที่จะไหลมาถึงสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า และรองรับปริมาณน้ำท่าจากฝนที่ตกเหนือเขื่อน
นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 3/2567 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัด อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี เพื่อให้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยา จะมีเกณฑ์เพิ่มการระบายน้ำในอัตรา 500 - 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำ ตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ถึงบริเวณ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 1 – 1.20 เมตร แต่ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว ยังอยู่ในตลิ่งลำน้ำ
ด้าน นายวิทยา ชพานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท สั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยนาท เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ โดยให้นายอำเภอทุกอำเภอ ประชาสัมพันธ์จังหวัดชัยนาท ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดชัยนาท ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้อำเภอติดตาม วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สภาวะอากศ ปริมาณฝนและปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่ รวมทั้งประสานและบูรณาการหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายและภาคเอกชน เพื่อเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย และแผนเผชิญเหตุสำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ รายงานกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยนาททราบทันที
สำหรับสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา วันนี้ เมื่อเวลา 07.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จ.นครสวรรค์ มีปริมาณ 840 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 93 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่ อ.เมืองชัยนาท มีปริมาณ 770 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงขึ้นจากเมื่อวาน 9 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 15.89 เมตร(รทก) น้ำระบายท้ายเขื่อน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 110 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่ อ.สรรพยา สูงขึ้น 32 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 8.72 เมตร(รทก)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง