13 ม.ค.2565 - เฟซบุ๊กเพจ "Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)" ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย(มปท.)ได้เผยแพร่รายการ "คุยกับลุง" EP14
โดยนายสุเทพ กล่าวช่วงหนึ่งถึงการเลือกตั้งซ่อมส.ส.สงขลา และชุมพร ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ ว่าเป็นวันสำคัญของพี่น้องชาวชุมพร และสงขลา เพราะเป็นวันที่มีการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่ จ.ชุมพร เขต 1 และที่ จ.สงขลา เขต 6 เป็นการเลือกตั้งซ่อมส.ส.แทนคนเก่าคือ นายชุมพล จุลใส ที่ จ.ชุมพร และนายถาวร เสนเนียม ที่ จ.สงขลา เป็นเพื่อนรักของตนทั้ง 2 คน
ทั้ง 2 คนนี้เป็นนักการเมืองน้ำดี เป็นส.ส.ที่ดีของสภาฯ ทำหน้าที่ส.ส.ที่ดีมาโดยตลอด แต่ที่ต้องพ้นจากหน้าที่ ส.ส.เพราะเมื่อปี 2556-2557เขาทั้ง 2 ออกมาเป็นแกนนำ นำประชาชน ชุมนุมเดินขบวนเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ลบล้างความผิดให้กับคนที่กระทำความผิดทางอาญา
นายสุเทพ กล่าวว่า ได้ติดตามสถานการณ์ อย่างใจจดใจจ่อว่า สถานการณ์ทั้ง 2 จังหวัดที่จะมีการเลือกตั้งซ่อม จะเป็นอย่างไร ฟังว่าที่ จ.ชุมพร สถานการณ์หนักหนาสาหัสเอาเรื่องอยู่ เพราะว่านายชุมพล ได้ส่งหลานชายคือ นายอิสรพงษ์ มากอำไพ (ตาร์ท) เป็นคนที่มีความรู้ จบปริญญาโท มาจากอังกฤษ ก่อนมาสมัครส.ส.ครั้งนี้ เป็นเลขานุการของ นายกองค์การส่วนบริหาร จ.ชุมพร เป็นคนหนุ่ม มีความรู้ มีความสามารถ นายชุมพล รับรองคุณภาพว่า สามารถที่จะทำงานการเมือง รับใช้พี่น้องชาวชุมพรแทนนายชุมพลได้
"แต่ที่เป็นเรื่องยาก ก็เพราะพรรคพลังประชารัฐได้ส่งคนเลือกตั้งในครั้งนี้ด้วย สถานการณ์ที่หนักหน้าสาหัสสำหรับนายชุมพล เพราะปรากฏตามข่าวว่า หัวหน้าและ เลขาธิการ พรรคพลังประชารัฐลงพื้นที่ลุยเอง ระดมสรรพกำลังประกาศครึกโครมว่า แพ้ไม่ได้นั้น ไม่ทราบว่าที่บอกว่าแพ้ไม่ได้นั้นเขาจะใช้วิธีการอย่างไร ทำได้แต่เพียงส่งเสียงเชียร์ว่า "ลูกหมีสู้ๆ" คิดว่าพี่น้องเขต 1 จ.ชุมพรที่รักและสงสารนายชุมพลคงต้องออกแรงกันมากเป็นพิเศษ"
นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่า ในพื้นที่เขต 6 จ.สงขลาที่เป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ โดยพรรคประชาธิปัตย์ ส่ง นางสุภาพร กำเนิดผล ส่วน พรรคพลังประชารัฐ ส่ง นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ สถานการณ์รุนแรงดุเดือดไม่น้อยกว่า จังหวัดชุมพร เขต 1
"ผมไม่ทราบว่า ในใจลึกๆของนายถาวร เสนเนียม นั้น ตั้งจะให้ใครมาทำหน้าที่เป็นส.ส.ในเขต 6 เพื่อสืบสานอุดมการณ์งาน ทางการเมืองของนายถาวร แต่เชื่อว่าพี่น้องประชาชนในเขต จ.สงขลา ที่เคยทำงานร่วมกับนายถาวร มา คงเข้าใจได้ รู้กันในทีว่า นายถาวรตั้งใจที่จะสนับสนุนใครมาทำงานการเมือง"
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การเลือกตั้งที่ จ.ขุมพร เขต 1 และที่ จ.สงขลา เขต 6 พี่น้องประชาชนทั้ง 2 จังหวัด คงต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยกันทำให้การเมืองเป็นการเมืองที่ดี บริสุทธิ์ ช่วยกันทำให้การเลือกตั้งสุจริตเที่ยงธรรม ไม่เป็นการเลือกตั้งที่ใช้อำนาจ ใช้อิทธิพลเข้าไปข่มขู่บังคับ ไม่มีการทุจริตไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง หรือ อย่างน้อยที่สุดพี่น้องประชาชนชาวชุมพร เขต 1 และสงขลา เขต 6 ต้องช่วยกันระวังไม่ให้การเลือกตั้งหลายเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ยุติธรรม
"ผมตระหนักดีว่า พี่น้องชาว จ.ชุมพรเขต1 และสงขลาเขต6 และพี่น้องทั่วประเทศมีอุดมการณ์เดียวกัน เป็นผู้รักชาติ รักประชาธิปไตยร่วมกันลงแรง มาด้วยความเหนื่อยยากมามาก การเลือกตั้งซ่อมคราวนี้ จึงเป็นการทดสอบครั้งสำคัญทั้งพรรคการเมือง และหัวใจของประชาชน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ผมไม่มีโอกาสลงไปช่วยเหลือใคร ได้แต่ส่งเสียงเชียร์ไปขอให้โชคดีกันทุกคน" นายสุเทพ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น