13 ส.ค.2567- ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn เรื่อง รัฐบาลตะวันตกที่แทรกแซงรัฐไทย
ท่านรู้จัก ข้อ 5 ที่เป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้โลกเดินไปสู่สันติภาพที่ถาวรร่วมกันของ คานท์ (Kant) ไหม ?
- ”ไม่มีรัฐใดที่จะบังคับ แทรกแซงรัฐธรรมนูญและรัฐบาลของรัฐอื่นได้”
คานท์ (Kant) เห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดๆ สำหรับการแทรกแซงโดยรัฐบาลของรัฐหนึ่งในรัฐบาลของอีกรัฐหนึ่ง
เว้นแต่เมื่อมีความขัดแย้งภายในที่ทำรัฐถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ก่อตัวเป็นสองรัฐที่แยกจากกัน
คานท์ ชี้แจงถึงความแตกต่างระหว่างความช่วยเหลือและการแทรกแซง
ตราบใดที่ความขัดแย้งภายในไม่รุนแรง อำนาจต่างชาติก็ไม่ควรเข้ามาแทรกแซงเรื่องนี้
ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน และจะทำให้ทุกรัฐไม่มั่นคง
Have you ever leant about Kant’s Perpetual Peace article 5 ?
- “No state shall forcibly interfere in the constitution and government of another state.”
Kant cannot think of any justification for interference by a state in the government of another except when there is an internal discord, and the state is divided into two parts, forming two separate states. He clarifies the difference between assistance and interference here. As long as the internal conflict is not critical, a foreign power should not interfere in its matter, or it would be treated as a violation of the rights of the people, and it would make all states insecure.
———
จากงานเรื่อง Perpetual Peace (สันติภาพที่ถาวร) ของ อิมมานูเอล คานท์
คานท์เป็นนักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการก่อกำเนิดหลักการขององค์การสหประชาชาติ
เรื่องการห้ามแทรกแซงรัฐอยู่ในมาตรการข้อ 5 ในมาตรการพื้นฐานทั้งหมด 6 ข้อ ใน Perpetual Peace ของคานท์
เขาเห็นว่า ถ้าแค่มาตรการ 6 ข้อนี้ ยังทำกันไม่ได้ ก็อย่าหวังจะให้เกิด สันติภาพที่ถาวร ได้
——-
หมายเหตุ
การแทรกแซงของรัฐบาลของท่านต่อประเทศเราต่างหาก ที่จะเร่งให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง จนเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่ชอบธรรมให้ท่านเข้ามาอย่างเต็มตัว
เวียดนาม อเมริกาใต้ อัฟกานิสถาน และอีกมากมายที่ท่านได้สร้างความหายนะเสียหายไว้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 51: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 40): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร