ปฏิปักษ์สถาบัน! สโมสรนักศึกษา มช. ไม่ร่วมรับเสด็จในพิธีพระราชทานปริญญา อ้างกดขี่ให้ 'คนไม่เท่ากัน'

13 ม.ค.2565 - ดร.เสรี วงษ์มณฑา ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด โพสต์เฟซบุ๊กว่า "ไม่เข้าใจ และไม่เคยคิดว่านักศีกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (จำนวนหนึ่ง) จึงแสดงตนเป็นปรปักษ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์องค์ใดทรงทำอะไรให้พวกเขาเดือดเนื้อร้อนใจ

พ่อแม่ของพวกเขาเห็นด้วยกับการกระทำของลูกๆเหรอ จึงไม่มีการห้ามปราม พวกเขาไม่เห็นน้ำพระทัยและพระกรุณาขององค์สมาชิกพระราชวงศ์เลยหรือ

เด็กๆพวกนี้ไปเอาความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาจากไหน หรือมาจากอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (บางคน) ที่ครอบงำนักศึกษา

นักศึกษาที่มีความรู้สึกอย่างนี้ สติปัญญาเขาเป็นเช่นไร จึงมองไม่เห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของประเทศไทย

หรือว่าการศึกษาของเราล้มเหลวในการปลูกฝังความรักชาติ รักแผ่นดิน ความกตัญญูรู้คุณพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ทรงงานหนักเพื่อความสุขของพสกนิกรของพระองค์

ข่าวการประกาศไม่ต้อนรับพระราชวงศ์ของสโมสรนักศึกษา มช. เมื่อรับรู้แล้วรู้สึกสลดหดหู่มาก ไม่อยากจะเชื่อว่าความรู้สึกเช่นนี้จะเกิดกับคนที่สังคมมองว่าเป็นปัญญาชน"

โพสต์ของ ดร.เสรี สืบเนื่องจากเมื่อ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา งานนโยบาย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ประกาศแสดงจุดยืนในเฟซบุ๊ก เพจ “งานนโยบาย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMU Student Union's Policy Team” ว่าจะไม่ส่งตัวแทนร่วมรับเสด็จในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 55 ในวันศุกร์ที่ 14 ม.ค.ที่จะถึงนี้

โดยงานนโยบาย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่แสดงจุดว่าจะ “ไม่ส่งตัวแทนและไม่ให้การสนับสนุนทุกวิถีทางในการรับเสด็จ” ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทุกครั้งที่เกิดขึ้นในวาระการดำเนินงานของงานนโยบาย สโมสรนักศึกษารุ่นนี้ พร้อมทั้งเสนอให้สมาชิกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสโมสรนักศึกษาคณะและวิทยาลัยต่างๆ ปฏิเสธการส่งตัวแทนรับเสด็จ ด้วยเหตุผลทั้งสิ้น 2 ประการ ได้แก่ 1.เป็นการสนับสนุนระบบศักดินา 2.เป็นรูปแบบหนึ่งของการกดขี่ให้คนไม่เท่ากัน

งานนโยบาย สโมสรนักศึกษา มช. ระบุต่อว่า พิธีการรับเสด็จในการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยคนจำนวนหนึ่งเพื่อไปแสดงออกถึงความรักและเคารพไม่ว่าจะด้วยวิธีการสมัครใจหรือวิธีการบังคับโดยทางอ้อมผ่านปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้ที่ต้องไปยากที่จะปฏิเสธ การรับเสด็จเป็นการกระทำระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกัน กลุ่มหนึ่งนั้นคือผู้ที่ถูกทำให้อยู่สูงกว่าในขณะที่อีกกลุ่มถูกทำให้ต่ำกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราต่างเกิดมาอย่างเท่าเทียมด้วยเลือดเนื้อเชื้อไขเผ่าพันธุ์เดียวกัน เราต่างเป็น homo sapiens sapiens เหมือนกันทุกคนตามธรรมชาติ

ด้วยเหตุความเป็นจริงอันแท้นี้ทำให้ไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะใช้ลดทอนคุณค่าของมนุษย์พวกเดียวกันได้อีกแล้ว ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณีโบราณเหล่านี้จึงเป็นหนทางเดียวที่ใช้กดขี่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การเข้ารับเสด็จจึงเป็นวิธีการหนึ่งของประเพณีโบราณดังกล่าวที่สร้างความเหลื่อมล้ำต่ำสูงให้กลายเป็นเรื่องปกติ ผ่านการหลอกลวงและกล่อมเกลาให้เห็นว่าเป็นเรื่องดีงาม ในขณะที่ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ความเท่าเทียมและสิทธิมนุษย์ชนตลอดจนศักดิศรีของความเป็นมนุษย์ได้ถูกเชิดชูเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นการเข้ารับเสด็จจึงเป็นการกระทำที่สืบทอดสิ่งตกค้างจากยุคโบราณที่จะดึงมนุษย์หวนกลับสู่ยุคมืด

"การแสดงออกถึงความเท่าเทียมสามารถกระทำได้หลากหลายรูปแบบและมีหลากหลายวิธีที่เราจะยับยั้งหรือยุติความผิดพลาดที่มีมาแต่อดีต หนึ่งในวิถีทางที่เป็นการแสดงออกได้อย่างชัดเจนคือการปฏิเสธเข้ารับเสด็จและยึดมั่นในความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน มีเกียรติ ศักดิศรีและพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอถ้วนหน้ากัน" งานนโยบาย สโมสรนักศึกษา มช. ระบุท้ายประกาศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาเป็นชุด! 'ดร.เสรี' ฟาดคนโอหัง ความรู้ไม่มี ทักษะไม่มี ไร้ภาวะผู้นำ น่าสมเพชอย่างแท้จริง

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า เตือนก็แล้ว ตำหนิก็แล้ว ต่อว่าก็แล้ว เยาะเย้ยก็แล้ว ล้อเลียนก็แ

จัดระดมสมอง 'สื่อยุคเทคโนโลยีใหม่ ความท้าทายแห่งอนาคตสื่อสารมวลชน' 21 พ.ย.นี้

สมาคมศิษย์เก่าสื่อสารมวลชน - คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มัดรวมกูรู ร่วมเสวนา “สื่อยุคเทคโนโลยีใหม่ ความท้าทายแห่งอนาคตสื่อสารมวลชน" พร้อม Live สด ให้ชมทั่วประเทศ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน นี้

ข้าอยากได้อะไร...ข้าต้องได้

เราคนไทยมักจะอ้างว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ มีการบริหารกิจการต่างๆ ภายในประเทศตามหลักการของนิติธรรม แต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้ หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐจริงหรือ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี

ดร.เสรี ยกวาทะจัญไรแห่งปี 'เขาเว้นเกาะกูดให้เรา'

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ประโยควาทะอัปรีย์จัญไรแห่งปี "เขาเว้นเกาะกูดให้เรา" แสดงว่าเขาเมตตาเราสินะ เราต้องขอบคุณเขา สำนึกบุญคุณเขาใช่ไหม

ไม่สนใจใครจะต่อว่า เสียงนกเสียงกา...ข้าไม่สนใจ

ถ้าหากเราจะบอกว่านายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเสียงตำหนิ มีการนำเอาการพูดและการกระทำที่ไม่ถูกไม่ต้อง ไม่เหมาะไม่ควร