องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าประชากรเกินครึ่งหนึ่งของยุโรปจะติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนภายในเดือนมีนาคมนี้ ขณะธนาคารโลกเตือนว่าภาวะโรคระบาดจะถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเหลือโตแค่ 4.1% ในปีนี้

รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565 กล่าวว่า คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) และธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) มีออกมาในวันอังคาร ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 2 ปีที่ทางการจีนยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเพราะไวรัสโคโรนารายแรกของโลก เป็นผู้ป่วยชายอายุ 61 ปีชาวเมืองอู่ฮั่นที่โควิด-19 เริ่มระบาดเป็นแห่งแรก และถึงปัจจุบันไวรัสนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกแล้วมากกว่า 5.5 ล้านคน จากผู้ติดเชื้อเกิน 313 ล้านคน
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังต้องดิ้นรนควบคุมการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น รัฐบาลต่างๆ ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดอีกครั้ง รวมถึงการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ แต่ในคำแถลงของคณะที่ปรึกษาด้านวัคซีนของดับเบิลยูเอชโอเมื่อวันอังคารแนะนำว่า การฉีดวัคซีนโดสกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนโควิดแบบเดิมไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลหรือยั่งยืนกับสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ควรพัฒนาวัคซีนใหม่ที่ป้องกันการแพร่เชื้อได้ดีขึ้น
ภูมิภาคยุโรปกำลังเป็นศูนย์กลางการระบาดรอบใหม่ที่น่าวิตก โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกขณะนี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดยเอเอฟพีเผยว่า ช่วง 7 วันที่ผ่านมา ยุโรปมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 8 ล้านคน และในวันอังคาร ฮานส์ คลูก ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า คลื่นจากตะวันตกสู่ตะวันออกลูกใหม่กำลังแผ่ทั่วภูมิภาคนี้
"สถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (ไอเอชเอ็มอี) ทำนายว่า มากกว่า 50% ของประชากรในภูมิภาคนี้จะติดเชื้อโอมิครอนภายใน 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า" เขากล่าว
ภูมิภาคยุโรปของดับเบิลยูเอชโอครอบคลุม 53 ประเทศและดินแดน ซึ่งรวมถึงหลายประเทศในเอเชียกลางด้วย ซึ่งคลูกกล่าวว่า มี 50 ประเทศตรวจพบโอมิครอนแล้ว กระนั้นเขาย้ำว่า วัคซีนที่ผ่านการอนุมัติยังให้การป้องกันการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ รวมถึงจากโอมิครอน
ด้านองค์การยายุโรป (อีเอ็มเอ) กล่าวว่า การแพร่กระจายของโอมิครอนกำลังผลักดันให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่มนุษยชาติสามารถอยู่ร่วมได้ แม้ว่าตอนนี้โควิดยังคงเป็นโรคระบาดทั่วอยู่ก็ตาม
วันเดียวกัน เวิลด์แบงก์เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะช้าลงในปี 2565 นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่โอมิครอนจะทำให้การขาดแคลนแรงงานและปัญหาห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.1% หลังจากการฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว ที่ขยายตัว 5.5%
เดวิด มัลพาสส์ ประธานเวิลด์แบงก์ กล่าวว่า โรคระบาดอาจทิ้ง "แผลเป็นถาวรต่อการพัฒนา" ไว้ เนื่องจากตัวชี้วัดความยากจน, โภชนาการ และสุขภาพ กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ผิด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอมนูญ' ชี้โควิดพุ่งหลังสงกรานต์ตามคาดหมาย!
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
‘หมอมนูญ’ เผยสถานการณ์ ‘ไข้หวัดใหญ่-โควิด’ ไวรัสทางเดินหายใจช่วงนี้พบบ่อย
เดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
ระวังอันตรายจากวัณโรคปี 67 เสียชีวิตกว่า 1.3 หมื่นราย
รบ.เตือนระวังอันตรายจากวัณโรค ปี 2567 พบผู้ป่วยรายใหม่พุ่งสูงกว่า 113,000 ราย เสียชีวิตกว่า 13,000 ราย รัฐบาลตั้งเป้าลดอัตราการตายจากวัณโรคลง 95% และลดผู้ป่วยรายใหม่ลงให้ได้ถึง 90%
เจาะลึกศก.ชายแดน 31 จังหวัด 'ยุทธศาสตร์-ที่ตั้งดีเลิศ' แต่เศรษฐกิจกลับไม่รุ่ง
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมมือกับธนาคารโลก ได้นำ
‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19 โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง
หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง
อึ้ง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยงานวิจัยกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA 'บูสเตอร์' มีแนวโน้มเข้ารักษารพ.เพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กว่า