17 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงมติไม่รับร่างหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2567
โดยนายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สว.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติร่วมกันที่จะไม่เห็นด้วยกับหลักการของร่าง พ.ร.บ.งบเพิ่มเติมฯ ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1.พวกเราในนามพรรคร่วมฝ่ายค้าน มิใช่ไม่เห็นด้วยกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ เรายังยืนยันว่าเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบัน มีปัญหาที่สมควรได้รับการกระตุ้น แต่จำเป็นต้องถูกจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม เพราะจากการคาดการณ์หรือการประเมินของหลายสถาบันที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารโลก ก็ประเมินว่าผลกระทบของมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะลงไปสู่เศรษฐกิจไทย ได้ไม่คุ้มเสีย หมายความว่าประโยชน์ที่จะช่วยกระตุ้นจีดีพี ทั้งปีนี้ และปีหน้าต่ำกว่าเม็ดเงินที่จะได้ ดังนั้น นี่เป็นส่วนสำคัญ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นอย่างเหมาะสม เพื่อใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า
2.ความสุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย รวมถึงสร้างบรรทัดฐานผิดๆ ในการจัดทำงบประมาณ และการใช้เงินในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดรายจ่ายลงทุนใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ หรือเรื่องการใช้งบกลางในปีงบประมาณหน้าหรือในช่วงปลายปี นี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่พวกเราพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่าเป็นปัญหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
และ 3.สิ่งสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุด พวกเราในฐานะพรรคฝ่ายค้านเห็นว่า การใช้งบประมาณ แม้ว่ามีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่จำนวนเม็ดเงินที่ใช้รวมทั้งโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จำเป็นต้องบริหารงบประมาณอย่างเหมาะสม ระหว่างการสร้างสมดุลการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน ปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องมากกว่าการกระตุ้นการบริโภค แต่เป็นโจทก์ของภาคการผลิต รัฐบาลจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อไปสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
ดังนั้น ด้วย 3 เหตุผล ข้างต้น นี่จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเราพรรคร่วมฝ่ายค้านเห็นว่า ไม่สามารถรับหลักการ พ.ร.บ.นี้ได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยสร้างไทย กล่าวเสริมว่า พรรคไทยสร้างไทยเห็นด้วยกับมติของฝ่ายค้าน ที่จะไม่รับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจากมองว่า พ.ร.บ.นี้ ผิดวินัยการเงินการคลัง และกระทบต่องบประมาณ ปี 68 ที่จะเกิดขึ้น รัฐบาลควรจะถอนรอนร่างดังกล่าว เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่จะเดือดร้อนต่อประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น