15 ก.ค. 2567 – ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 11.40 น. น.ส.นภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มาแสดงตนแล้ว 198 คน ซึ่งคาดว่าอีก 2 คน จะมาแสดงตนในช่วงบ่ายของวันนี้ และเมื่อ สว. มารายงานตัวครบ 200 คนแล้ว การนัดประชุมวุฒิสภานัดแรก เลขาธิการวุฒิสภาจะเป็นผู้นัดประชุม ซึ่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 15 กำหนดว่า การนัดประชุมวุฒิสภาต้องนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ดังนั้น วันประชุมวุฒิสภาที่มีความเหมาะสมที่จะนัดเป็นครั้งแรก คือ วันที่ 23 ก.ค.
สำหรับวาระการประชุมวุฒิสภานัดแรกจะประกอบด้วย 1.เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้ 1.1 รับทราบประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่อง ผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 1.2 รับทราบประกาศ กกต. เรื่อง ผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (บัญชีสำรอง) 1.3 สมาชิกวุฒิสภากล่าวปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา115 ของรัฐธรรมนูญ 2.เลือกประธานวุฒิสภา และ 3.เลือกรองประธานวุฒิสภา
น.ส.นภาภรณ์ กล่าวว่า การนัดการประชุมครั้งแรกตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2562 ข้อ 5 กำหนดว่า ในการเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการวุฒิสภาเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม
โดยสมาชิกวุฒิสภาผู้มีอายุสูงสุดเรียงตามลำดับ 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1.พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี อายุ 78 ปี 2.นายแล ดิลกวิทยรัตน์ อายุ 77 ปี และ3.นายบุญส่ง น้อยโสภณ อายุ 75 ปี อย่างไรก็ตาม หากในวันดังกล่าว พล.ต.ท.ยุทธนา ไม่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภา สว. ผู้ที่มีอายุสูงสุดลำดับถัดไปตามลำดับ จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ประธานชั่วคราวของที่ประชุมวุฒิสภา และเมื่อเลือกเสร็จแล้ว ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะต้องยืนยันมติและส่งเรื่องไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 9
ทั้งนี้เมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาแล้ว จึงจะมีการนัดประชุมวุฒิสภาครั้งต่อไปได้ โดยประธานวุฒิสภาจะต้องเป็นผู้มีคำสั่งนัดประชุม ซึ่งคาดว่าระยะเวลาเร็วสุดที่อาจเป็นไปได้เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ผ่านมาประมาณ 7 วัน ดังนั้นในการประชุมครั้งถัดไปอาจจะเป็นวันที่ 30 ก.ค.
เมื่อถามว่า ก่อนการเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภา มี สว. อยากให้นัดสัมมนาทำความรู้จักกันก่อน เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า ตามปกติสำนักงานจะจัดสัมมนาหลังจากที่ สว. ได้เข้าทำหน้าที่แล้ว ส่วนการนัดพบปะกันก่อนการโหวตเลือกนั้น ขึ้นอยู่กับสมาชิกที่จะดำเนินการ
ส่วนการตรวจสอบประเด็นวุฒิการศึกษาของ สว. ที่มองว่าอาจไม่ใช่ของจริงนั้น น.ส.นภาภรณ์ กล่าวว่า ตามอำนาจและหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว เป็นเรื่องของ กกต. ที่จะต้องตรวจสอบ อย่างไรก็ดีทางสำนักงานได้ให้ฝ่ายกฎหมายได้พิจารณาและวิเคราะห์ความเห็นที่เกิดขึ้นกับเรื่องดังกล่าวว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามอำนาจหน้าที่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ต้อนรับเลขาธิการโออีซีดีย้ำไทยพร้อมเป็นสมาชิก!
รัฐบาล ต้อนรับเลขาธิการ OECD ย้ำไทยพร้อมเข้าเป็นสมาชิก เร่งปรับปรุงกฎระเบียบสู่มาตรฐานสากล ด้าน OECD ชื่นชมบทบาทไทยในอาเซียน พร้อมช่วยผลักดันนโยบายภาครัฐ
นายกฯ อิ๊งค์ใส่ชุดผ้าไหมของคุณหญิงพจมานมอบรางวัลสุดยอดซีอีโอ
นายกฯ สวมชุดผ้าไหมคุณแม่ มอบรางวัลสุดยอดซีอีโอ บอกสื่อ-รัฐบาลต่างหน้าที่แต่เป้าหมายเดียวกันทำเพื่อปชช.- ประเทศชาติ พร้อมรับฟังข้อมูล นำไปแก้ปัญหาให้ประชาชน
ปลุกเที่ยวเหนือ สั่งเยียวยาเพิ่ม ฟื้นพื้นที่น้ำท่วม
นายกฯ อิ๊งค์แต่งตัวรับลมหนาว ฟุ้งไทยแม้หนาวไม่มากแต่มีกิจกรรมให้ทำยาวทุกจังหวัดตั้งแต่ พ.ย.ปีนี้ถึง ม.ค.ปีหน้า
มติพท.ชงนิรโทษไม่รวม112
"พท." เคาะมติเห็นพ้องเสนอร่าง กม.นิรโทษกรรมประกบ หวังสร้างสมานฉันท์
'หมอวรงค์' ให้ข้อมูล กกต. เพิ่ม 3 ประเด็นใหม่ หลักฐานมัดทักษิณครอบงำเพื่อไทย
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี เข้าให้ถ้อยคำต่อกกต.กรณียื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคเพื่อไทย ยินยอมให้นายทักษิณ ชินวัตร
หอบหลักฐานยุบ 6 พรรค มัด 'ทักษิณ' ครอบงำ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว
'พิราบขาว' หอบหลักฐาน แจง กกต. คำร้องยุบ 6 พรรค ยันสัมพันธ์ชัด 'ทักษิณ' ครอบงำสั่งการ บี้นายกฯอิ๊งค์เปิดภาพแค่กินข้าวจริงหรือไม่ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว