‘อังคณา’ รับมีสว.ตั้งกลุ่มต่อรองขอตำแหน่ง บอกได้ยินคนเล่าให้ฟัง เสนอเงื่อนไขดูแลรายเดือน เตือนเพื่อนสว.อย่าเอาโควตาไปตั้งคนในบ้านมาช่วยงานกินเงินเดือนหลวง
14 ก.ค.2567- นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา(สว.) กล่าวถึงกรณ๊มีกระแสข่าวงการล็อบบี้ สว.ว่า ส่วนตัวไม่มีเลย แต่ว่าได้คุยกับบางคนที่อายุยังไม่มาก เขาก็เล่าให้ฟังว่ามีคนโทรศัพท์มา ก็มีแบบสัญญาว่าจะให้อะไรแบบนี้ ตัวเลขอาจจะเป็นแบบเงินเดือนเพิ่มเติม มีอะไรให้แบบนี้ เขาก็มีพูดให้ฟัง อันนี้เท็จจริงก็แล้วแต่ แต่เราก็รับฟัง แล้วก็คนที่แบบบอกว่าผมก็อยู่กับพวกคุณ แล้วเราจะเสนอคนนี้เป็นรองประธานวุฒิสภา เราก็แบบอ้าวมาจากไหน คนนี้เราไม่เคยรู้จักเลยด้วยซ้ำไป ที่เข้าใจก็คือ จะมีคนที่แบบพยายามจะรวมกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ เพื่อที่จะไปต่อรองขอรับตำแหน่ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะมาเอาชื่อเราไปรวมอยู่ด้วย เพราะรู้สึกมีความพยายามรวบรวม และเท่าที่ทราบก็มีบางคนที่เขาติดเข้าไปอยู่ในหลายกลุ่ม แล้วบอกว่ากลุ่มตัวเองมีอยู่ 30 คน เพราะฉะนั้นต้องได้หนึ่งตำแหน่ง อะไรแบบนี้ ตรงนี้ก็ได้ยินอยู่ แต่ว่าจริงหรือไม่จริงก็ไม่ทราบ
นางอังคณากล่าวว่า ที่ได้ยินกับตัวเอง ก็คือมีคนมาพูดว่า มีคนที่อยากจะมาอยู่กลุ่มกับเรา แล้วเราจะเสนอเขาเป็นรองประธานวุฒิสภา พอได้ยิน เราก็คิดว่า เขาเป็นใครหรือ ไม่เคยเห็นหน้าเลย ไม่เคยได้ยินเสียง แล้วอยู่ดีๆ จะมาอะไรได้ยังไง ก็มีอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีใครมาคุยกับเรา คิดว่าทุกคนก็ระมัดระวัง เพราะหากว่าพบมีการไปปรากฏตัวอยู่ด้วยกัน ทุกคนก็ระมัดระวัง แต่ก็จะเหมือนมีแบบ มีตัวแทนที่คอยเข้ามา แล้วก็บอกว่า ผมมีพวกอยู่อีก 2-3 คน แล้วมาพูดว่า คนนี้เหมาะสมมากเลยควรได้เป็นรองประธานวุฒิสภา ควรเสนอชื่อ อะไรแบบนี้ ก็ลักษณะแบบนี้มีอยู่
นางอังคณา ยังกล่าวถึงบุคคลที่จะมาเป็นประธานวุฒิสภา ควรมีคุณสมบัติอย่างไรว่า คนที่จะมาทำหน้าที่เป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ควรเป็นพลเรือน ซึ่งบางทีวิสัยทัศน์ของคนที่เคยอยู่ในหน่วยงานด้านความมั่นคง อาจจะเคยชินกับการออกคำสั่ง เพราะฉะนั้น ส่วนตัวมองว่าประธานวุฒิสภาควรเป็นพลเรือน มีความยืดหยุ่น และเมื่อนั่งในตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีความเป็นกลาง เป็นธรรม ไม่ลำเอียงและโดยส่วนตัว ก็ตั้งใจว่า หนึ่งในสามตำแหน่งที่จะเลือกกัน มีความจำเป็นที่ต้องมีผู้หญิงเข้าไปด้วย เพราะเรื่องของสัดส่วนทางเพศมีความสำคัญมาก
“ในอดีตก็เคยมีรองประธานสภาฯ ที่เป็นผู้หญิงอยู่ แล้วก็หายไปนาน อย่างล่าสุดตอนที่มีการเลือกรองประธานสภาฯ ครั้งล่าสุด เราก็ลุ้นอยู่ว่าจะมีเสนอผู้หญิงหรือไม่ แต่สุดท้าย ก็ไม่มี สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในเวทีโลก เวทีต่างประเทศ ทุกคนจะถามหาสัดส่วนของนักการเมืองหญิงในประเทศไทย ซึ่งตัวเลขยังต่ำอยู่สำหรับผู้หญิงที่เข้าไปสู่แวดวงการเมือง ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าจะเป็นความสง่างาม ความเท่าเทียม เป็นการเปิดโอกาสที่ดี ถ้าหากว่าหนึ่งในสามตำแหน่งจะเป็นผู้หญิง ที่เสนอไม่ใช่ว่าจะเสนอตัวเอง แต่เป็นสว.ผู้หญิงคนใดก็ได้ ที่มีความสามารถจะทำหน้าที่ประธานหรือรองประธานวุฒิสภาได้ เพราะคนที่ผ่านมา จนถึงตรงนี้ได้ ทุกคนต้องมีความสามารถเท่าๆกัน รวมถึงประสบการณ์ที่เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนวุฒิการศึกษา ก็สำคัญแต่วุฒิการศึกษาไม่ใช่ข้อจำกัดที่จะทำให้ความสามารถของคนน้อยกว่ากัน”
ถามว่าที่ผ่านมาวุฒิสภาบางชุดถูกตั้งฉายาเช่น สภาชิน สภาผัวเมีย เกรงไหมว่า สำหรับสว.ชุดนี้ ที่เมื่อเข้าไปทำงานแล้ว อาจจะถูกฝ่ายการเมืองจากบางพรรคการเมือง สามารถคอนโทรลเสียงสว.ได้เกือบหมด เข้าไปครอบงำ เข้าไปแทรกแซงได้ นางอังคณากล่าวว่า หากเป็นพรรคการเมือง อย่างที่มีข่าวลือจริง มันก็จะมีผลไปถึงสภาผู้แทนราษฎรด้วย ทำนองว่า อาจมีเสียงส.ส.ในสภาฯน้อย แต่คุณจะมีเสียงในวุฒิสภาเยอะ แล้วอาจเกิดกรณีเช่น กฎหมายที่มีการเสนอแก้ไขแล้วผ่านสภาฯมาแล้ว พอส่งไปที่วุฒิสภา ทางสว.กลับไปแก้ไขร่างของสภาฯ โดยแก้ไขให้กลับไปมีเนื้อหาเหมือนเดิม คิดว่ามันก็อาจจะมีในลักษณะแบบนี้ แต่ว่าเอาจริงๆ แล้วก็ต้องดูว่าคนที่เข้าไปจะยืนยันในหลักการแค่ไหน เพราะถ้าสมมุติว่า หากปล่อยให้มีการชี้นำ เหมือนกับการโหวตครั้งสุดท้าย(โหวตไขว้เลือกสว.ระดับประเทศ) ที่คะแนนออกมาแบบเป๊ะ เป็นขั้น ขึ้นมาสูงเลย ก็จะถูกตั้งคำถามว่า คุณไม่เคยคิดอะไรกันเลยหรือ ซึ่งคนที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักการเมือง หรือคนที่มีบารมี คุณก็ต้องตระหนักว่า ตรงนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนจริงๆ
“ฉะนั้นในเรื่องของระบบวุฒิสภา ที่ถือว่าเป็นสภาสูงที่มีหน้าที่กลั่นกรอง ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่สภาฯส่งมา ความเป็นสภาผู้ใหญ่ ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ สิ่งสำคัญ ก็คือความซื่อสัตย์ ความตรงไปตรงมา แต่ถ้าคุณคิดจะใช้อำนาจครอบงำตามอำเภอใจ ก็คิดว่า คุณ ที่หมายถึง นอมินีที่เข้าไปนั่งทั้งหลาย ต้องยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ สุดท้าย ทุกคนต้องพิสูจน์ตัวเอง ไม่มีใครจะมาคอยอุ้มพยุงใครไปได้ ปกป้องใครไปได้ และสว.เอง สามารถถูกตรวจสอบได้ อย่างสว.หนึ่งคน จะมีผู้ช่วยสว.-ที่ปรึกษาได้เจ็ดคน ก็ควรตั้งคนดี ๆเข้ามา อย่าไปคิดแต่ว่าจะต้องมีการตอบแทน เอาพรรคพวกเข้ามา เอาคนในครอบครัวเข้ามา ตรงนี้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะบางที การเอาพวกพ้องหรือคนในครอบครัวตั้งเข้ามา จะเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ที่ต้องระมัดระวัง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กกต. ยื้อ 'หมอเกศ' เลื่อนถกคุณสมบัติจบดอกเตอร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้มีการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพ.ญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือชื่อเสียงเกียรติคุณ
กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง
‘หมอเปรม’ แฉมีจนท.รัฐ ใช้ กม.หาประโยชน์กับประชาชน ที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร
หมอเปรม แฉมีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายหาประโยชน์กับประชาชนที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร จี้รัฐบาลแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค รมว.ดีอียันรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มที่ให้การใช้โดรนเกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภารกิจ
'สว.ชิบ' เค้นรัฐบาล! ใครสั่งโยกคดี 'ดิไอคอน' ให้ดีเอสไอ หวั่นบอสรอดคุก
'สว.ชิบ' ตั้งกระทู้ถามนายกฯ ข้องใจคำสั่งจากใคร ทำให้รัฐบาลโยกคดี 'ดิ ไอคอน' ใส่มือดีเอสไอ หวั่นสรุปคดีไม่ทันเวลา เปิดโอกาสบรรดา 'บอส' รอดคุก
ชวน 'นายกฯอิ๊งค์' ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปาก 'เหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต'
'อังคณา' ชี้รัฐบาลพท.-แพทองธาร ปฏิเสธความรับผิดชอบคดีตากใบไม่ได้ ชวนนายกฯ ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปากเหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต เตือนระวังคนรู้สึกไม่เป็นธรรม อาจเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ
สว. ห่วงบีอาร์เอ็นฉวย 'คดีตากใบ' โหมไฟใต้ วอนหน่วยมั่นคงป้องเหตุร้าย
'สว.' ห่วงสถานการณ์ชายแดนใต้ ชี้บีอาร์เอ็นฉวยคดีตากใบโหมไฟใต้ วอนหน่วยความมั่นคงบูรณาการปกครองรับมือ ป้องเหตุร้ายสถานที่ราชการ-ร้านค้า-ปั้มน้ำมัน-ชุมชนไทยพุทธ