เปิดข้อมูลตอกหน้าแก๊งล้มเจ้า กุเรื่องนำเข้า 'ปลาหมอคางดำ' เพื่อพัฒนาพันธุ์ปลานิล

ปลาหมอคางดำ

13 ก.ค.2567 - นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda ว่า เมื่อเช้าอ่านเจอโพสต์หนึ่งที่กล่าวในทำนองว่า ปลาหมอคางดำเป็นปลาที่นำเข้ามาเพื่อพัฒนาปลานิลจิตรลดา โดยมีการระบุด้วยว่าเป็นปลานิลจิตรลดารุ่นที่สาม เนื่องจากในรายงานนั้น ปลานิลจิตรลดารุ่นที่สาม มีการพัฒนาจากสายพันธุ์หลายชนิดรวมทั้งปลานิลจากประเทศกานา

ก็เลยอยากจะเรียนให้ทราบว่า ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดารุ่นที่สามนั้น เป็นผลผลิตของการนำปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลเพื่อการบริโภค ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ทำการทดลองกันที่ หน่วยงานวิจัย ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยการผสมชนิดปลานิลหลายๆสายพันธุ์(รวมทั้งสายพันธุ์จิตรลดารุ่นก่อนๆ)จนได้ลูกที่เรียกกันว่า GIFT (Genetic Improvement of Farmed Tilapia) รุ่นที่ ๕

และได้นำลูกปลาสายพันธุ์ผสมในรูปแบบสายพันธุ์ที่พัฒนามาแล้วรุ่นนี้จากหน่วยงานการวิจัยดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พศ. ๒๕๓๘ และก็มีการวิจัยพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถนำออกมาจำหน่ายจ่ายแจกให้กับเกษตรกรในชื่อรุ่น "นิลจิตรลดารุ่นที่ ๓" ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากการนำปลาชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นชนิดแท้ (ในกรณีนี้คือปลาหมอคางดำ) เข้ามาในประเทศแล้วหลุดรอดออกไปจนเกิดปัญหาการรุกรานดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นะครับ

จึงขอเรียนนำเสนอข้อเท็จจริงให้ทราบ เผื่อใครจะคิดว่าต้นเหตุปัญหาเกิดจากโครงการปลานิลจิตรลดาครับ

โดยมีผู้เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในคอมเมนต์ว่า "นำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปลานิล" ฟังดูมันต้องเอ๊ะหรือเปล่า ปลานิลกับปลาหมอ ชื่อมันไม่คล้ายกัน มันคนละสายพันธุ์กันไหมนะ

ปลานิล ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus (Linn.)

ปลาหมอสีคางดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Sorotheodon Melanotheron

คนละ genus กัน ผสมข้ามกันไม่ได้นะครับ ถ้า genus เดียวกัน แต่ต่าง species ผสมกันได้ลูก แต่ลูกเป็นหมัน ถ้า species เดียวกัน แต่ต่าง subspecies ผสมกันได้ ได้ลูกผสมครับ การปรับปรุงพันธุ์จะใช้วิธีนี้ ความรู้ชีวะวิทยา ม.ปลาย (ซึ่งเดี๋ยวนี้เห็นบาง รร.สอนเรื่องนี้ในระดับประถม!!!) ใครเชื่อเรื่องนี้ เรียกควายยังสงสารควายเลยครับ 

นายนิธิพัฒน์ ตอบกลับว่า "คนเราถ้ามุ่งแต่จะหาเรื่องกันแล้ว ก็สามารถจับแพะชนแกะได้สม่ำเสมอแหละครับ"

มีรายงานเพิ่มเติมว่า หนึ่งในผู้ที่โพสต์ข้อมูลบิดเบือนเรื่องปลาหมอคางดำเพื่อหวังใส่ร้ายโจมตีสถาบันก็คือ นายนิธิวัต วรรณศิริ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ซึ่งหลบหนี้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส เจ้าของเฟซบุ๊ก "จอมไฟเย็น ปฏิกษัตริย์นิยม" ได้โพสต์ข้อความว่า "ปลานิลคางดำ ถูกนำเข้ามาพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา จนได้สายพันธุ์นิลจิตรลดา 3"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง

“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด

ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว

ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3

เอาแล้ว! เลขาฯไบโอไทย เจอหมายเรียกปมปลาหมอคางดำ

เฟซบุ๊กเพจ BIOTHAI ของมูลนิธิชีววิถีโพสต์ข้อความ ระบุว่าหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งแจ้งความดำเนินคดี นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ