กมธ.นิรโทษกรรม นัดประชุม 27 มิ.ย.ถก 4 ประเด็น บอกยังมีเวลาทำงาน อีก 1 เดือน
26 มิ.ย.2567 - นายนิกร จำนง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า กมธ.นัดประชุมวันที่ 27 มิ.ย. เวลา 13.00 น. โดยมีวาระพิจารณาและเตรียมลงมติใน 4 ประเด็น คือ การนิรโทษกรรมโดยใช้รูปแบบกรรมการ ซึ่งมีรายละเอียด อาทิ รูปแบบคณะกรรมการ หน้าที่ และอำนาจ โครงสร้างองค์ประกอบ วาระ หน่วยธุรการ งบประมาณ การตรวจสอบและติดตาม นอกจากนั้นคือ มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ กระบวนการสร้างความสมานฉันท์ เช่น การยอมรับผิด และการให้อภัย การล้างมลทิน การคืนสิทธิ รวมถึงคดี ฐานความผิด หรือการกระทำที่จะได้รับการนิรโทษกรรม
“ในรายละเอียดที่เตรียมไว้ หากประเด็นใดสามารถพิจารณาได้จะพิจารณารวมถึงการให้ความเห็นชอบด้วย อย่างไรก็ดีในรายละเอียดการทำงานของ กมธ.ยังมีกรอบเวลาอีก 1 เดือน โดยจะสรุปรายงานให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ค. ก่อนจะส่งให้สภาพิจารณาต่อไป ดังนั้นในประเด็นการทำงาของ กมธ.ยังมีเวลา” นายนิกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิกร' ทำใจ! บอก กมธ.ประชามติทั้งซีก 'สว.-สส.' ไม่มีใครถอย
'นิกร' ปลง สว.ไม่ยอมถอย แม้เสนอทางสายกลาง 'เสียงข้างมากชั้นครึ่ง' หวั่น 2 สภาหักกันลากยาวจน ส.ส.ร.เป็นหมัน
ประธาน กมธ.ที่ดินเล็งขอถกที่ดินเขากระโดงเป็นวาระด่วนบอกไม่มีการเมือง!
'กมธ.ที่ดิน' เตรียมขอมติที่ประชุม นำข้อพิพาทที่ดิน 'เขากระโดง' พิจารณาเป็นวาระด่วน คาดเร็วสุดสัปดาห์หน้า เผย ไม่นำประเด็นการเมืองเข้ามาพิจาณาร่วม ยันตรวจสอบตรงไปตรงมา
'วันนอร์' ยกเครื่อง ออกระเบียบตั้งที่ปรึกษา กมธ. สภาฯ หลังปมฉาวใช้ตำแหน่งตบทรัพย์
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิประจำคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 15 ต.ค. 2567 มีเนื้อหาระบุว่า
นิกรเตือนพท. อย่าหักสภาสูง ปมประชามติ!
“นิกร” เตือนสติ “เพื่อไทย” อย่าดื้อปมประชามติ เพราะหากง้างกับสภาสูงรัฐธรรมนูญจะไม่ได้เกิด “สรวงศ์”
'ชูศักดิ์' มึนประชามติชั้นครึ่งกัดฟันบอกเพื่อไทยดันรัฐธรรมนูญเต็มที่แต่ได้แค่ไหนไม่รู้
'ชูศักดิ์' ชี้สูตรประชามติชั้นครึ่งของ 'นิกร' ไม่ต่างอะไรจากเดิม ถ้าชั้นแรกไม่ผ่านก็จบ ย้ำ พท.มุ่งมั่นจะทำรธน.ฉบับใหม่ ออกตัว ผลักดันได้แค่ไหน ค่อยว่ากันอีกที
ชทพ.หนุนนิรโทษกรรมแต่ต้องไร้ ม.110-ม.112
'ชาติไทยพัฒนา' หนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ต้องเว้น ม.110 และ 112 เชื่อก้าวข้ามความขัดแย้งได้