อดีตอัยการสูงสุด กางวิอาญา ตอบข้อสงสัย ร้องขอความเป็นธรรมทำได้ถึงชั้นไหน

12 มิ.ย.2567 - ศ.พิเศษ อรรถพล ใหญ่สว่าง อดีตอัยการสูงสุด (อสส.) ให้ความเห็นข้อกฎหมายถึงเรื่องการร้องขอความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ว่า ในคดีอาญาที่รัฐเป็นผู้ดำเนินคดีที่มีการเเจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจก็จะทำการสอบสวนแล้วส่งให้พนักงานอัยการ ถ้าพิจารณาแล้วฟ้องคดีก็จะไปที่ศาล ตนจะพูดเฉพาะในส่วนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่พูดถึงกฎหมายคดีพิเศษหรือกฎหมาย ปปช.

โดยในการดำเนินคดีอาญานั้นเจ้าพนักงานสามารถลงไปสืบสวนคดีได้ตั้งแต่เบื้องต้น แม้จะยังไม่มีการดำเนินคดี จนเมื่อมีการดำเนินคดีและมีการสอบสวนเเละจับกุมตัว ก็สามารถที่จะเริ่มกระบวนการร้องขอความเป็นธรรมได้เลย ซึ่งเมื่อถูกสอบสวนโดยผู้มีอำนาจแล้ว ก็อาจจะร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสูงกว่า

ในประเด็นที่เราจะได้เห็นชัดๆเเละได้ยินข่าวกันบ่อยก็คือการร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการ

ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฯ เเละมีการเเก้ไขเพิ่มเติมตลอดมาว่า การร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการสามารถร้องได้เมื่อมีการส่งสำนวนมา โดยจะเป็นการร้องต่อหัวหน้าพนักงานอัยการที่พิจารณาคดีนั้นยกตัวอย่างเช่น การร้องขอความเป็นธรรมในคดีที่สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี การร้องขอความเป็นธรรมก็จะทำถึงอัยการจังหวัดนนทบุรี

แต่ถ้ายังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอีก ก็สามารถร้องขอความเป็นธรรมได้อีกต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป เช่นร้องไปยังอธิบดีอัยการภาค 1 ส่วนในกรุงเทพหากเราร้องขอ ความเป็นธรรมมายังอัยการพิเศษฝ่ายแล้ว ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมก็อาจจะร้องขอความเป็นธรรมไปยังอธิบดีอัยการสำนักงานนั้นๆ

หากในชั้นอธิบดีอัยการ เรายังรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมอีก ก็สามารถร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่านั้นโดยหลักคืออัยการสูงสุด

เเต่ในคดีอาญาทั่วๆไป ถ้ามีการร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดแล้ว เรื่องจะส่งไปยังสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุดจะเป็นผู้พิจารณาให้ความเป็นธรรมซึ่งเมื่อสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด ได้รับคำร้องขอความเป็นธรรมมาเเล้ว เห็นว่าควรจะสอบสวนเพิ่มเติม ก็จะแจ้งไปยังอธิบดีอัยการสำนักงานเจ้าของเรื่องว่าเห็นควรสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าอธิบดีสำนักงานที่ถูกเเจ้งพิจารณาเเล้วเห็นควรสอบสวนเพิ่มเติม ก็จะสั่งสอบสวนเพิ่มเติม และส่งมายังสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด เพื่อนำเสนอไปยังรองอัยการสูงสุดที่รับผิดชอบสั่งคดี

เเต่ถ้าอธิบดีสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุดส่งไปเเล้วอธิบอดีอัยการสำนักงานที่เป็นเจ้าของเรื่องเห็นว่าไม่ควรสอบสวนเพิ่มเติมเพราะอาจเป็นการประวิงคดีของฝ่ายจำเลย สำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุดก็จะนำพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งส่วนมากก็จะสั่งยุติเรื่องร้องขอความเป็นธรรมเว้นเเต่รองอัยการสูงสุดพิจารณาเเล้วมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมก็จะต้องทำการสอบสวนเพิ่มเติมเมื่อได้พยานหลักฐานมาก็จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยจะสิ้นสุดที่รองอัยการสูงสุด


ยกเว้นคดีบางประเภทที่อยู่ในอำนาจของ อสส.โดยตรงเช่น คดีวิสามัญฆาตกรรม หรือ คดีนอกราชอาณาจักรฯ

ส่วนเมื่อมีการสั่งยุติร้องขอความเป็นธรรมไปเเล้ว ความเห็นโดยส่วนตัวมองว่าผู้ต้องหายังสามารถร้องขอความเป็นธรรมได้ตลอด ขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า มีคดีที่ยุติร้องขอความเป็นธรรมเเล้ว มีพยานยืนยันว่าคนที่ตกเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดชิงทรัพย์ เเต่ปรากฎว่ามีพยานหลักฐานใหม่เป็นกล้องวงจรปิดดูเเล้วคนที่ลงมือก่อเหตุมีหน้าตาคล้ายกันเเต่ไม่ใช่ผู้ต้องหา เเบบนี้ก็สามารถร้องขอความเป็นธรรมเข้าไปใหม่ได้ เเต่การจะยุติเรื่องอีกหรือไม่ก็ต้องดูว่าการร้องต้องมีข้อเท็จจริงเเละพยานหลักฐานที่เเตกต่างจากเดิมหรือไม่อย่างไร

“คนอยากจะร้องอย่าไปห้ามเขา ให้เขาร้องมาเเต่การพิจารณา ก็ตัองพิจารณาว่าสมควรดำเนินต่อไปหรือไม่ เช่นร้องมาไม่มีพยานหลักฐานใหม่อะไรเลย ก็สามารถสั่งยุติเรื่องทันทีก็ได้ เเต่อย่าไปห้ามคนร้อง มิเช่นนั้นจะเรียกว่าร้องขอความเป็นธรรมได้อย่างไร ที่เขาร้องเพราะเขาคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม" อดีตอัยการสูงสุดระบุ

ในคดีนอกราชอาณาจักรคนที่มีอำนาจว่าจะพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมคืออัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการณ์เเทนที่จะเป็นคนสั่งคดี เเต่การร้องขอความเป็นธรรมก็จะมีขั้นตอนในการกลั่นกรองเเล้วเเต่ระเบียบในเเต่ละเรื่อง เเละการร้องขอความเป็นธรรมเเม้ฟ้องศาลไปเเล้วก็ยังสมารถร้องเข้ามาได้ ยกตัวอย่างหากมีการยื่นฟ้องศาลไปเเล้วมีพยานหลักฐานที่ได้มาใหม่ ซึ่งต้องยอมรับว่าเมื่อมีการฟ้องคดีสู่ศาลเเล้วจะมีการหยุดการสอบสวนทันที เเต่หากเกิดมีผู้หวังดีมีพยานหลักฐานที่เเน่ชัดซึ่งตนมองว่า คือพยานหลักฐานที่เป็นนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งพยานบุคคลก็สู้ไม่ได้ ก็สามารถจะร้องขอความเป็นธรรมได้

“เเม้บางคนอาจจะบอกไว้ว่าให้เก็บไว้สู้คดีในศาล เเต่อัยการไม่ได้มีหน้าที่ฟ้องคดีอย่างเดียว ต้องมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมด้วย ถ้าดูบทบัญญัติเรื่องการสอบสวนตามมาตรา131 จะเห็นชัดว่าในการสอบสวนนั้นสอบสวนเพื่อที่จะให้ได้ข้อเท็จจริงเเละพยานหลักฐานเพื่อที่จะนำผู้กระทำผิดมาฟ้องเเละถูกลงโทษ หรือ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของของคนที่ถูกเป็นผู้ต้องหาก็ได้ ในความเห็นส่วนตัวเมื่อไปถึงศาลก็ยังร้องขอความเป็นธรรมได้” ศ.พิเศษ อรรถพล ระบุ

ส่วนผลที่ร้องขอความเป็นธรรมหลังฟ้องศาลไปเเล้วคนร้องก็อาจหวังให้มีการถอนฟ้องหรือว่าขอความเป็นธรรมอ้างเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีหลักฐานใหม่เพิ่มเติมขึ้นมา ในส่วนเรื่องการถอนฟ้อง อำนาจถอนฟ้องเป็นของพนักงานอัยการที่ฟ้องคดี เเต่จะมีขั้นตอนในการเสนอผู้บังคับบัญชาว่าเรื่องใดควรจะถอนเเละใครควรจะเป็นคนถอนฟ้อง คล้ายกับการยื่นอุทธรณ์คดี

เเต่ในคดีนอกราชอาณาจักรอำนาจถอนฟ้องเป็นของอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการณ์เเทน ซึ่งที่ผ่านมาอัยการสูงสุดในอดีตก็เคยมีการถอนฟ้อง เช่นพิจารณาเเล้วเป็นเรื่องความมั่นคงหรือประโยชน์สาธารณะ

ซึ่งหลักในการถอนฟ้องก็จะเหมือนกับการสั่งไม่ฟ้อง เช่นเมื่อฟ้องคดีไปเเล้วเห็นว่าเขาไม่ได้กระทำผิดก็ถอนฟ้องได้ ระเบียบของสำนักงานสูงสุดให้อำนาจไว้ ส่วนคนอนุญาตถอนฟ้องได้หรือไม่คือศาล บางคนเข้าใจผิดคิดว่าอัยการถอนฟ้องเเล้ว ศาลจะต้องอนุญาตเสมอไป ซึ่งความจริงต้องเป็นไปตาม ป.วิอาญามาตรา 35,36 ศาลอาจจะไม่อนุญาตก็ได้

เเต่ในกรณีหากมีคำพิพากษาของศาลเเล้วต้องยอมรับว่าตรงนี้มีผลคำพิพากษาเเล้วถ้าจะถอนฟ้อง ตามกฎหมายผลของคำพิพากษาก็ยังมีอยู่ ยกตัวอย่างในคดีที่ไม่ว่ารัฐหรือราษฎรฟ้องเองหากตัดสินเเล้ว เเม้ถอนฟ้องไปเเล้วผลของคำพิพากษาจะยังมีอยู่ เรียกว่าถอนฟ้องได้ยันฎีกาเเต่ผลคำพิพากษาก็ยังมีอยู่

ถ้ามองในเเง่ตรรกกะเเล้วเมื่อศาลตัดสินเเล้วคดีเสร็จเเล้วการถอนฟ้องจะดำเนินการได้อย่างไร การถอนฟ้องต้องศาลยังไม่ตัดสิน เเละในป.วิอาญายังกำหนดไว้ว่าถ้าฟ้องเเล้วจำเลยยังไม่ได้ให้การ การถอนฟ้องไม่ต้องถามจำเลย เเต่ถ้ามีการยื่นถอนฟ้องขณะที่จำเลยให้การเเล้วต้องถามจำเลยด้วยว่าคัดค้านหรือไม่ ถ้าจำเลยคัดค้านจะถอนฟ้องไม่ได้ เเละต้องถอนฟ้องก่อนศาลตัดสิน เว้นเเต่กรณีเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่สามารถยื่นถอนฟ้องได้จนกว่าคดีจนถึงที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' หลุดปาก 'ยิ่งลักษณ์' จะกลับบ้าน แสดงถึงอาการร้อนรนในสถานการณ์ 22 พ.ย.

'จตุพร' แทงสวน อสส.ส่งความเห็นหลังปล่อยอำนาจหลุดมือ เชื่อ 22 พ.ย. ศาลรธน. มติเอกฉันท์ รับคำร้อง โต้สีอื่นไม่เคยตกใส่เสื้อแดง มีแต่สีคนตระบัดสัตย์ไม่ซื่อตรงปชช. ชี้ 'ทักษิณ' หลุดปาก 'ยิ่งลักษณ์' จะกลับบ้าน แสดงถึงอาการร้อนรนในสถานการณ์ เตือนหลายฝ่ายทนไม่ไหว คดีทุจริตไม่ติดคุกสักวัน หวั่นเหตุการณ์ซ้ำรอย

เข้าทาง! ผู้ร้องคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง ฟันธงศาลรธน. รับคำร้องแน่นอน

จากกรณีที่มีข่าวว่านายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ส่งหนังสือความเห็นถึงศาลรธน.ในคำร้องคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ร้องว่า นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่หนึ่งและพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่สอง

ตามคาด! อสส.ไม่รับดำเนินการคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

อัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการคดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเเล้วพร้อมผลการสอบถ้อ

สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!

นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื