'นิด้าโพล' ชี้ประชาชนไม่พอใจผลงาน 9 เดือนรัฐบาลเศรษฐา

9 มิ.ย.2567 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ขอถามบ้าง … 9 เดือน รัฐบาลนายกฯ เศรษฐา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในรอบ 9 เดือน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample)
ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในรอบ 9 เดือน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ การบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ มีความล่าช้า และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากเดิม รองลงมา ร้อยละ 31.69 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ ไม่มีความก้าวหน้าในการทำงานและไม่สามารถทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ มีความพยายามผลักดันนโยบายต่าง ๆ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และเห็นผลงานที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 7.40 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ มีความตั้งใจในการทำงาน ช่วยเหลือประชาชน ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ตอบ/
ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น ผลงานยังไม่ชัดเจน แก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ การทำงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ร้อยละ 22.14 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงาน มีทักษะด้านการบริหาร สามารถทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้ ร้อยละ 5.42 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะ รัฐบาลมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา มีการบริหารที่ดีสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ภายในระยะเวลา 2 เดือน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.44 ระบุว่า นายกฯ เศรษฐา ยังคงอยู่ในตำแหน่งเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 15.65 ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังคงเหมือนเดิม ร้อยละ 15.50 ระบุว่า จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 10.92 ระบุว่า จะมีการยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงมาจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 6.56 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ คนใหม่จะมาจากพรรคฝ่ายค้าน ร้อยละ 6.11 ระบุว่า จะมีการสลับขั้วทางการเมือง เปลี่ยนรัฐบาล ร้อยละ 4.58 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ คนใหม่จะมาจากพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบัน ร้อยละ 3.21 ระบุว่า สส. ฝ่ายรัฐบาลจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.05 ระบุว่า จำนวนพรรคร่วมรัฐบาลจะลดลง ร้อยละ 2.60 ระบุว่า จำนวนพรรคร่วมรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น และ สส. ฝ่ายรัฐบาลจะมีจำนวนลดลง ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”

โฆษกรัฐบาล เผยปี 2568 นายกฯอิ๊งค์ จะทำให้ประเทศไทยเจริญทุกตารางนิ้ว!

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนอร์ทกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ในประเด็น “ท่านเห็นว่าบุคคลใดที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นนักการเมืองแห่งปี 2567 ” พบว่า ประชาชนชื่นชมและชื่นชอบ

‘ภูมิธรรม’ ชี้ 3 เดือนน้อยไป ประเมินปชช.ไม่เชื่อมั่นผลงานรัฐบาล ลั่นรอดูปีหน้ามาแน่

ปีหน้า ขอให้ประชาชนรอดูผลงาน ซึ่งจะมีผลงานดีๆออกมาอีกมาก เชื่อว่า ปีหน้าจะเป็นปีในการเริ่มต้นสร้างโอกาสตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายเอาไว้

สอบตก! ‘เทพไท’ ฟันฉับ 90 วันรัฐบาลอิ๊งค์ ชี้ขุดดินขายคือนโยบายตลกที่สุด

ถ้าจะให้คะแนนผลงานของรัฐบาลชุดนี้ ส่วนตัวผมให้สอบตก มีนักวิชาการหลายคนประเมินให้คะแนนสอบตก กระแสความรู้สึกของประชาชนก็สอบตก ผลจากสวนดุสิตโพลก็สอบตก สรุปได้ว่ารัฐบาลสอบตกจริงๆ

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด