จับตาพยานปากเอก”เลขาธิการครม.”คาด กลุ่ม 40 สว.ส่งชื่อให้ ศาลรธน.เรียกให้ถ้อยคำ มัด’นายกฯ-พิชิต’ ด้าน ‘ดิเรกฤทธิ์’ ชี้เปรี้ยง ไม่เกิน90 วัน รู้ผลเสี่ยนิดเป็นนายกฯต่อหรือกลับรังเก่าแสนสิริ
26 พ.ค.2567-นายดิเรกฤทธิ์ เจนคลองธรรม สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะแกนนำกลุ่ม 40 สว.ที่ยื่นคำร้องคดีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ววิเคราะห์เส้นทางคดีดังกล่าวของศาลรธน.ต่อจากนี้ว่า เนื่องจากศาลรธน.การพิจารณาคดีใช้ระบบไต่สวน คือองค์คณะตุลการศาลรธน.จะทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงตามคำร้อง ดังนั้น คดีนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นไปได้สูงที่ ศาลรธน.จะมีการเปิดห้องพิจารณาไต่สวนคดีในห้องพิจารณาคดีของศาลรธน.อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพื่อให้คู่กรณีได้แถลงปิดคดีต่อศาลรธน.เพื่อให้สรุปข้อเท็จจริง-ข้อกล่าวหา-ข้อกฎหมายในการสู้คดีทั้งหมด ทางคู่กรณีเช่นผู้ถูกร้องได้ส่งพยานหลักฐานอะไรต่อศาลรธน.แล้วบ้าง เพื่อแก้ข้อกล่าวหาของผู้ร้อง และศาลรธน.ก็อาจจะถามคู่กรณีว่าจะมีข้อมูลอะไรส่งให้ศาลรธน.เพิ่มเติมหรือไม่ หรือจะถามว่าจะคัดค้านการให้ถ้อยคำของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร ก็เป็นกระบวนการไต่สวนที่จะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย และเมื่อได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนเพียงพอที่ศาลรธน.จะนัดลงมติวินิจฉัยคดีได้ ศาลรธน.ก็จะนัดคู่กรณีฟังคำวินิจฉัยคดีต่อไป
แกนนำกลุ่ม 40 สว.ผู้ยื่นคำร้องดังกล่าว วิเคราะห์ว่า ทางศาลรธน. น่าจะใช้เวลาในการพิจารณาคำร้องไม่นาน เพราะคำร้องที่กลุ่ม 40 สว.ส่งให้ศาลรธน.ที่เป็นมูลเหตุของการกล่าวหา เราส่งให้ศาลรธน.หมดแล้ว โดยคำร้องมีความชัดเจนในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เมื่อมีความชัดเจนในคำร้อง ก็ทำให้สามารถกำหนดประเด็นที่มีความชัดเจนและครอบคลุม เพื่อให้ผู้ถูกร้อง(นายกรัฐมนตรี)ชี้แจงกลับมายังศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในคราวเดียว โดยจากที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ผู้ถูกร้องส่งเอกสารคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามายังศาลรธน.ภายใน 15 วัน หากเขาไม่ขอเลื่อน ก็สามารถตอบกลับไปที่ศาลรธน.ได้เลย แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่ผู้ถูกร้องจะขอขยายในการส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก็มองว่าภายในช่วง 15-30 วัน กระบวนการในการส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของนายกรัฐมนตรีก็น่าจะเสร็จสิ้นลงได้ และทางศาลรธน.หากต้องการข้อมูลจากบุคคลใดหรือตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในคำร้องมาให้ข้อมูล ก็สามารถเรียกมาไต่สวนได้
“คิดว่ากระบวนการต่างๆในการพิจารณาคดีของศาลรธน. คงใช้เวลาไม่น่าจะเกินสามเดือน เพราะโดยตัวเรื่องตามคำร้อง ดูแล้วไม่น่าจะใช้เวลานาน อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้ถูกร้อง หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่ฯ แปลว่า น่าจะหมายถึงศาลรธน.อาจมองว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาคำร้องไม่นาน เพราะถ้าหากคิดว่าจะใช้เวลานาน ก็อาจให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่การที่ไม่ได้มีคำสั่งให้หยุด ผมก็คิดว่าคำร้องนี้การไต่สวนคดีก็อาจเสร็จเร็ว เพราะไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพราะการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ อาจจะเสียประโยชน์ เพราะต้องมารับรองความชอบ ระหว่างหยุดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าหากสุดท้าย ผลคำวินิจฉัยออกมาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญ ก็เลยให้ทำงานต่อไป ทำเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ ทำด้วยความสุจริต จึงไม่ได้มีการให้ผู้ถูกร้อง หยุดพักปฏิบัติหน้าที่การเป็นนายกฯ ไว้ชั่วคราว ดังนั้นดูจากเนื้อหาในคำร้องที่ยื่นไป และข้อมูลข้อเท็จจริงไม่ได้เยอะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีไม่มาก น่าจะใช้เวลาในการแสวงหาข้อเท็จจริงไม่นาน คงไม่เกินสามเดือนต่อจากนี้ ก็น่าจะมีการนัดลงมติได้”
มีรายงานว่า หากศาลรธน.มีการเปิดห้องไต่สวนคดี เพื่อเรียกผู้ร้องคือตัวแทนกลุ่ม 40 สว. และผู้ถูกร้องคือนายกรัฐมนตรี รวมถึงพยานที่เกี่ยวข้องที่ศาลรธน.ต้องการไต่สวนข้อเท็จจริงในคดี ที่จะมีการเรียกมาให้ถ้อยคำ มีการคาดการว่า พยานบุคคล ที่คาดว่า ฝ่ายผู้ร้องคือกลุ่ม 40 สว.จะระบุไว้ในบัญชีรายชื่อพยานบุคคล ที่ขอให้ศาลรธน.เรียกมาให้ถ้อยคำเพื่อทำการไต่สวนคดี บุคคลหนึ่ง ที่กลุ่ม 40 สว.จะระบุไว้ในบัญชีรายชื่อพยานฝ่ายผู้ร้อง ก็คือ นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บริหารสูงสุดของ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เป็นฝ่ายกลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติตลอดจน คุณลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะถูกเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรี และที่สำคัญ เป็นบุคคลที่ลงชื่อทำหนังสือตีตราลับ ถามความเห็นไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอให้พิจารณาว่าคุณสมบัติของนายพิชิต ชื่นบาน ที่ถูกเสนอชื่อเป็นรมต.สำนักนายกรัฐมนตรีว่าสามารถเป็นรัฐมนตรีได้หรือไม่ หลังก่อนหน้านี้นายพิชิต เคยถูกคุมขังในคดีถุงขนม 2 ล้านบาท และต่อมา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทำหนังสือตีตรา ลับมาก ส่งความเห็นดังกล่าวไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า
'นิพิฏฐ์' โชว์ประสบการณ์ทนาย ศาลยกฟ้อง เหตุไม่มีอำนาจพิจารณา
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง และทนายความ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เขตอำนาจศาลในคดีอาญา
อย่าสับสน ปมศาลรธน.ยกคำร้องเรื่องป่วยทิพย์นักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
ก.ต.แต่งตั้ง 21 อรหันต์ เป็น อ.ก.ต. ทุกชั้นศาลชุดใหม่ กลั่นกรองโทษวินัยศาล
ที่อาคารศาลยุติธรรม ถนนราชดำเนินใน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกานั่งเ
เปิด 'คำสั่งศาลรธน.' ตีตกคำร้อง 'วัฒนา อัศวเหม' กรณีคำพิพากษาคดีทุจริตคลองด่าน
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๗๐/๒๕๖๗ เรื่อง นายวัฒนา อัศวเหม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย