ศาลปกครอง เพิกถอนระเบียบกกต. ให้ผู้สมัครสว. ติดประกาศแนะนำตัวผ่านสื่อโซเชียลได้

ศาลปกครองกลางไฟเขียวผู้สมัคร สว. ติดประกาศแนะนำตัวผ่านโซเชียลให้ประชาชนรู้จักได้ ด้วยการสั่งเพิกถอนระเบียบ กกต.บางข้อที่สั่งห้าม ชี้เป็นการออกระเบียบไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังห้ามผู้สมัครทุกคนแนะนำตัวทางวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงสื่อสิ่งพิมพ์และห้ามให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกกลุ่มอาชีพ

24 พ.ค.2567 - เวลา 13.30น. ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนระเบียบกกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2567 ในส่วนข้อ 3 ข้อ7 ทั้งฉบับแรก และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 8 เฉพาะฉบับแรกที่บังคับใช้ในช่วง 27เม.ย.67-15 พ.ค.67 และข้อ 11 (2) และ (3) โดยให้ผลย้อนหลังนับตั้งแต่ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทั้งสองฉบับ ในคดีที่ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการสำนักข่าวประชาไท ยื่นฟ้อง กกต. และคดีที่นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพวก รวม6 ราย ยื่นฟ้อง กกต. และ ประธาน กกต.ร้องขอให้เพิกถอนระเบียบกกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2567 เนื่องจากเห็นว่า ระเบียบดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมประชาชนตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

โดยศาลให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้ สว. เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย มีหน้าที่สำคัญหลายประการ และมีหน้าที่ให้ความเห็นชอบกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ และมีผลบังคับใช้กับทุกคนในราชอาณาจักรไทย ดังนั้นการทำหน้าที่ของสว.ย่อมมีผลกระทบต่อประชาชนชาวไทย จึงควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แม้ว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. 2561 กำหนดให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเอง ไม่ได้ให้ประชาชนมีสิทธิเลือก สว. แต่รัฐธรรมนูญได้มีการรับรองเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นการพูด การเห็น การคิด การเขียน การโฆษณา การสื่อความหมายอื่นๆ

การที่ระเบียบกกต. การที่ กกต.ออกระเบียบดังกล่าวด้วยการจำกัดข้อมูลประวัติและประสบการณ์ของผู้สมัคร รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้สมัครสว.สามารถแนะนำตัวเฉพาะกับผู้สมัครสว.ด้วยกันเท่านั้น และการห้ามผู้สมัครในสายอาชีพสื่อมวลชน และศิลปินนักแสดง ใช้ความสามารถในวิชาชีพของตัวเองเพื่อประโยชน์ในการแนะนำนั้น จึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้สมัครสว.เกินกว่าเหตุ และถือว่าไม่เป็นการรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน ระเบียบพิพาทนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ส่วนระเบียบข้อ 11 (5) ที่กำหนดห้ามผู้สมัครแนะนำตัวทางวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง เคเบิลทีวี หรือสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึง การให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน นั้น ศาลเห็นว่า ระเบียบข้อนี้เป็นการห้ามเฉพาะผู้สมัครสว. ไม่ได้เป็นการห้ามสื่อมวลชน จึงไม่อาจมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข่าวสารแต่อย่างใด จึงพิพากษาให้ เพิกถอนระเบียบกกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2567 ในส่วนข้อ 3 ข้อ7 ทั้งฉบับแรก และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 8 เฉพาะฉบับแรกที่บังคับใช้ในช่วง 27เม.ย.67-15 พ.ค.67 และข้อ 11 (2) และ (3) โดยให้ผลย้อนหลังนับตั้งแต่ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทั้งสองฉบับ

นายชล คีรีกูณฑ์ ทนายความของนายพนัส ทัศนียานนท์ กล่าวว่า นายชล คีรีกูณฑ์ ทนาย นายพนัสกล่าวภายหลังฟังคำพิพากษาว่า วันนี้ศาลปกครองยืนยันชัดว่าสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยไม่ว่าจะบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญก็ตาม เพราะว่าส.ว. มีอำนาจในการพิจารณากฏหมายต่างๆรวมถึงเลือกผู้แทนขององค์กรอิสระ หน้าที่จึงกระทบกับประชาชนทุกคน ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลของ สว. จึงเป็นเรื่องของการเพิกถอนข้อกำหนดข้อ3 ที่เป็นเรื่องของการเเนะนำตัวจะเกิดขึ้นได้กับ สว.ด้วยกันเท่านั้นเป็นเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงข้อกำหนดข้อ 7 ฉบับทั้งฉบับเก่าเเละใหม่ ซึ่งเป็นการจำกัดเสรีภาพเเสดงความคิดเห็น การเขียนโฆษณาในรูปเเบบต่างๆ

ในส่วนข้อ8 ศาลเพิกถอนเฉพาะฉบับเก่าเพราะฉบับใหม่อนุญาตให้เผยเเพร่ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เเล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนข้อ 11 ซึ่งเป็นเรื่องของการเพิกถอนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของสื่อมวลชนที่อาจจะให้ประโยชน์เเก่ตนเอง เนื่องจากศาลมองว่า ในโลกความเป็นจริงไม่เฉพาะกลุ่มอาชีพสื่อมวลชนเท่านั้นกลุ่มอาชีพอื่นๆก็มีอิทธิพลเเละเข้าถึงสื่อต่างๆได้

ส่วนเรื่องการโปรยใบปลิวศาลก็มองว่าบางคนเข้าถึงสื่อโซเชียลไม่ได้ก็สามารถใช้โปรยใบปลิวเเทนได้ เป็นเรื่องความเท่าเทียม เเต่ในเรื่องการสัมภาษณ์สื่อมวลชนศาลยังมองมาตรการที่จำเป็น เพราะผู้สมัครบางคนอาจจะมีอิทธิพลสามารถเข้าถึงสื่อได้มากกว่าผํ้สมัครอื่น ถ้า กกต. อุทธรณ์ กกต. ต้องคิดเรื่องนี้ด้วยว่าสุดท้ายแล้วเราอาจจะต้องเลือกตั้งส.ว. ใหม่หรือไม่ หรือเราจะทำยังไงกันต่อ

เมื่อถามว่าเป็นความรับผิดชอบของ กกต.ทางกฎหมายหรือไม่ อาจจะไม่ใช่แต่ถ้าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม กกต. ต้องรับผิดชอบเต็มๆ เราไม่ได้ต้องการล้มการเลือกตั้ง เราต้องการเเค่เรื่องระเบียบกระบวนการในการเเนะนำตัว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจงเฟกนิวส์! ยัน ป.ป.ช. ไม่เคยชี้มูล กกต. ทำผิดรธน. หลัง 'ณฐพร โตประยูร' กล่าวหา

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าว “ป.ป.ช. สอบ กกต. ถอดถอนทั้งคณะทำผิด รธน. – อดีตที่ปรึกษ

กกต. ตีตก 2 เรื่อง จาก 10 คำร้อง ปมยุบพรรค-สอบนายกฯ เหตุไร้ข้อเท็จจริง

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงคำร้องที่เกี่ยวข้องขอให้ยุบพรรคการเมือง ว่า ปัจจุบันมีคำร้องที่ยื่นกว่า 10 คำร้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยุบพรรคการเมือง

กกต. เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ฟัน 'สมชาย เล่งหลัก' พ้นเก้าอี้ สว.

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์คำร้องในการตรวจสอบคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภาของพญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ว่า ทางกกต.ได้เร่งรัดทุกสัปดาห์