'เศรษฐา' ระทึก! ลุ้นศาลรธน.สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หากรับคำร้องคดีตั้ง 'พิชิต' เป็นรมต.

18 พ.ค. 2567 - จากกรณี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้ร่วมกันเข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดลงในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของนายพิชิต ชื่นบาน โดยกลุ่มสว. ยื่นในคำร้องว่าทั้งสองคน มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 170 (4) และ (5) ประเด็นที่ว่าด้วยขาดความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งต่อมา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และศาลได้รับเรื่องไว้ตามระบบงานสารบรรณ

นายเจษฎ์ โทณะวณิก อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และประธานหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย กล่าวถึงกรณี สมาชิกวุฒิสภายื่นคำร้องดังกล่าวว่า ไม่ได้มองว่าเป็นการทิ้งทวนก่อนที่สว.ชุดนี้จะหมดวาระการทำหน้าที่เพราะหากไม่เกิดเหตุอะไร จะทิ้งทวนอะไรก็ทำไม่ได้ แต่พอดีว่า ครม.เศรษฐา 1/1 มีชื่อนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี ด้วย ซึ่งตอนตั้งรัฐบาลเศรษฐา 1 ก็มีคนเตือนเรื่องนี้แล้ว แต่ปรากฏว่าการปรับครม.ล่าสุดเอาจริง ซึ่งกรณีของนายพิชิต ไม่ต้องพูดมาก คนทั้งหลายก็รู้อยู่แล้วเรื่องถุงขนม และคนทั้งหลายก็พอวินิจฉัยออก ไม่ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าลักษณะมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์หรือไม่ หากไม่มี ก็เท่ากับนายพิชิตขาดคุณสมบัติ (รัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) ) ส่วนเรื่องนี้ นายเศรษฐา เกี่ยวข้องด้วยเพราะ หนึ่ง ตัวนายกฯต้องรู้อยู่แล้วว่าเรื่องที่นายพิชิตเคยทำ มันเป็นมาอย่างไร แต่คุณเศรษฐา กลับไปรับรองเรื่องนี้ บอกว่านายพิชิต ไม่มีอะไร อันนี้คือประเด็นแรก ประเด็นข้อที่สอง ก็คือ ต่อมามีการทำหนังสือสอบถามไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกา มีนัยว่าจะล้างสิ่งที่นายพิชิตเป็น มันไม่ได้มีอยู่จริง ซึ่งมีการส่งเรื่องไปแล้ว ก็แปลว่าหาทางที่จะทำให้ คุณสมบัติของนายพิชัยเป็นได้ ทั้งที่ข้อหนึ่งรู้แล้วทำไม่ได้ แต่ข้อสอง ก็คือหาทางทำให้ได้ และยังมีชั้นที่สามอีก คือพอคณะกรรมการกฤษฎีกาทำหนังสือตอบกลับไป ก็เอาความเห็นดังกล่าวมาบอกว่า นายพิชิตไม่มีปัญหาอะไรแล้ว จนต่อมา กฤษฎีกา ออกมาอธิบายว่า ประเด็นที่ถาม คือถามเรื่องกรณีเคยถูกจำคุก เป็นคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งกฤษฎีกาก็บอกว่า จำคุกก็คือจำคุก ไม่ว่าจะโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาก็ตาม แต่อีกข้อหนึ่งพูดเรื่องจำคุก โดยคำพิพากษา ก็ต้องอิงคำพิพากษา เป็นแค่คำสั่งไม่ได้ แต่กฤษฎีกาก็บอกว่าแต่คุณสมบัติข้ออื่น เขาไม่เกี่ยว

“มันก็ชัดในตัวมันเองแล้วว่า ชั้นที่หนึ่ง คุณรู้อยู่แล้ว และต่อมามีการส่งหนังสือไปถามกรรมการกฤษฎีกา เพื่อฟอก ชั้นที่สาม เอาหนังสือกฤษฎีกาที่เขาพูดเรื่องอื่นมาอธิบายอีก สว.เขาก็มาคิดว่าแบบนี้ คุณมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์หรือไม่ แล้วเขาอาจคิดเพิ่มว่า หากยื่นเฉพาะคุณพิชิต ก็ไปเฉพาะคุณพิชิต แต่ถ้าร้องนายเศรษฐาด้วย เรือไปทั้งลำ ครม.ไปทั้งหมด เขาก็ต้องเอา เมื่อเทียบกับอีกหลายกรณี เช่นเคสคำร้องพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯเกินแปดปี ที่ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น หากศาลรับคำร้องไว้วินิจฉัย ถ้าพิจารณาแล้วมีมูล หรือมีข้อที่เขาเห็นว่าคำร้องที่ยื่นมา มันอาจเป็นไปตามนั้น ก็อาจสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งถ้าแบบนั้น ศาลก็อาจพิจารณาคำร้องเร็ว เพราะหากปล่อยให้เนิ่นช้า ไปก็คงไม่เป็นผลดี”อดีตที่ปรึกษากรธ.ระบุ

นายเจษฎ์ กล่าวว่าเรื่องนี้มีโอกาสเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนทางการเมืองสูงมาก เพราะหากพิจารณาโดยลำดับอย่างที่บอก ซึ่งเรื่องถุงขนม ไปถามใคร เขาก็คงไม่บอกว่า สิ่งที่ทำไป มันเป็นการซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งคนที่รู้อยู่แล้ว แต่พยายามหาทางทำให้มันไม่เป็นอุปสรรค แล้วเอาสิ่งที่คนอธิบายที่เป็นประเด็นอื่น มาอธิบายว่าบอกแล้วว่าไม่เกี่ยวข้อง อันนี้ก็คือ มีการทำสามชั้น คือ นายพิชิตหนึ่งชั้น เพราะว่าทำเอง แล้วคนที่รู้เห็นเป็นใจกับนายพิชิต พยายามทำหนังสือไปถาม(คณะกรรมการกฤษฎีกา)แล้วก็เอาสิ่งที่ตอบมา มาคอยอธิบาย ก็เท่ากับมีการทำสามชั้น

ทั้งนี้ การหยุดปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี กรณีตกเป็นผู้ถูกร้องในศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ที่เป็นเรื่องการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สมาชิกภาพของส.ส.และสว. แต่ให้ใช้บังคับกับรัฐมนตรีได้ด้วย

โดยรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ารัฐมนตรีมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้อง “หยุดปฏิบัติหน้าที่” จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย และหากท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐมนตรีผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่ “วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่” อย่างไรก็ดี คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีนี้จะไม่กระทบต่อบรรดากิจการที่รัฐมนตรีผู้ถูกร้องได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปกติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะประชุมกันสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง คือทุกวันพุธ แต่พบว่าวันพุธที่จะถึงนี้ 22 พ.ค.ตรงกับวันหยุดราชการ คือ วันวิสาขบูชา

โดยมีรายงานว่า ตุลาการศาลรธน.อาจจะนัดประชุมกันวันพฤหัสบดีที่ 23 พ.ค.นี้ ซึ่งต้องดูว่า ผลการประชุม ที่ประชุมตุลาการศาลรธน.จะรับคำร้องคดีดังกล่าวไว้วินิจฉัยหรือไม่ และหากรับคำร้องไว้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งอย่างไรกับผู้ถูกร้องทั้งสองคนคือ นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี เช่น ศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองคนหรือไม่ หรือสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่แค่คนใดคนหนึ่ง หรือรับคำร้องไว้วินิจฉัย แต่ไม่สั่งให้ทั้งสองคนหยุดปฏิบัติหน้าที่ แล้วให้กระบวนการสู้คดีเป็นไปตามปกติ

โดยหากศาลรับคำร้องไว้วินิจฉัย ศาลก็จะให้ทั้งนายเศรษฐา และนายพิชิต ในฐานะผู้ถูกร้อง ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหามายังศาลรัฐธรรมนูญต่อไปภายใน 15 วันตามขั้นตอนปกติ แต่ขยายเวลาในการส่งเอกสารได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2

จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'อสส.' ตอบความคืบหน้าคดี ทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างปกครองฯ ต่อศาลรธน.เเล้ว

รายงานข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด ความคืบหน้ากรณี เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีเผยแพร่เอกสาร การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา