17 พ.ค. 2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำสั่งในคดีที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในคดีหมายเลขดำ อท.60/2567 ที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้ยื่นฟ้อง พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับพวกรวม 30 คนในฐานความผิด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ
คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่าจำเลย์ที่ 1 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 - 27 เป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งที่ 58/2567ลงวันที่ 1 ก.พ.2567 โดยจำเลยที่ 2 - 28 ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้า รองหัวหน้า พนักงานสืบสวน และพนักงานสอบสวน
ซึ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีอาญาที่ 724 คดีเว็บมินนี่มีเส้นการเงินของบัญชีทั้งสามชื่อ ได้แก่ น.ส.เบญจมิน แสงจันทร์ (เป็นพยานในคดีเว็บมินนี่) นายสมพงษ์ ชิตวิลัย (เป็นพยานในคดี) และนายพุฒิพงษ์ พูนศรี (เป็นผู้ต้องหาในคดีเว็บมินนี่ ) ต่อมา คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ส่งสำนวนในคดีอาญาเลขที่ 724/2566 ของกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 กรณีการกล่าวหา พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 กับพวกในข้อหาเรียกรับผลประโยชน์จากเว็บไชต์การพนันออนไลน์ กระทำความผิดฐานฟอกเงิน และร่วมกันฟอกเงินต่อคณะกรรมการปปช.ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทูจริต พ.ศ.2561 มาตรา 61
โดย คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่าเรื่องกล่าวหาอยู่ในหน้าที่และอำนาจของ ป.ป.ช. แต่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ดำรงตำแหน่งสูงและยังไม่เข้าข่ายความผิดร้ายแรง จึงมีมติให้ส่งเรื่องดังกล่าวคืนคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ เเล้วรายงานผลให้ ป.ป.ช.ต่อไป และคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ทำการสอบสวนและได้สรุปสำนวนการสอบสวนส่งพนักงานอัยการสำนักงานปราบปรามการทุจริต สำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ต่อมาในระหว่างที่มีการดำเนินคดีอาณาที่ 724/2566 คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้มอบหมายให้จำเลยที่ 29 และ 30 ผู้กล่าวหา มาร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 16 ที่ สน.เตาปูน มีการกล่าวหา พ.ต.ท.คริษฐ์ ปริยะเกตุ, น.ส.เบญจมิน แสงจันทร์, นายพุฒิพงษ์ พูนศรี และ น.ส.พิมพ์วิไล ปล้องอ่อน กับพวกรวม 7 คน ในความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน นั้น
จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 29 และจำเลยที่ 30 ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อจำเลยที่ 16 โดยนำข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่อยู่ในคดีอาญาที่ 724/2566 หรือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบสวนสวนสวนขยายผลในคดีอาณาที่ 724/2566 ของกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชณากรรมทางเทดโนโลยี อันเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างกัน และยังเป็นความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน โดยปรากฎว่าความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกัน หรือผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกัน ในการกระทำความผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการผู้สมรู้ร่วมคิดก็ตาม มาดำเนินคดีเป็นคดีขึ้นใหม่กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้ถูกกล่าวหา ถูกกล่าวหาในหลายท้องที่ และเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ส่งสำนวนนี้ไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนู (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทจริต พ.ศ.2561 มาตรา 61
ต่อมาวันที่ 27 ธ.ค. 2566 คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ได้ส่งสำนวนในกรณีกล่าวหาโจทก์กับพวกรวม 5 คน ไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดฯ , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฯ สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน
วันที่ 2 ก.พ. 2567 หัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้มีหนังสือถึง ป.ป.ช. เพื่อขอทราบมติของ ป.ป.ช. เกี่ยวกับเรื่องที่มีการกล่าวหาโจทก์กับพวกรวม 5 คน โดยคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนเห็นว่า คดีที่ร้องทุกข์กล่าวโทษโจทก์กับพวกรวม 5 คน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันกับสำนวนการสอบสวนคดีเดิม (พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิสมัยกับพวก) โดยมีผู้ต้องหาเพิ่มเติมบางคนเป็นถึงข้าราชการตำรวจชั้นใหญ่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือได้ว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้ต้องหาบางคน ร่วมถึงช่วยเหลือ สนับสนุน เจ้าของเว็บไซต์การพนัน ให้สามารถเปิดเว็บไซต์ จึงเป็นการร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันฯ, เป็นเจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดฯ, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามข้อกล่าวหา ดังนั้นสำนวนการสอบสวนที่ ปปช. ส่งคืนให้คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับสำนวนการสอบสวนที่กล่าวหาโจทก์กับพวกรวม 5 คน ว่าการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเพิ่มเติม เพราะเป็นการดำเนินการกับตัวการ ใช้ ผู้สนับสนน และเป็นคดีที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวข้องกันและความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน โดยขอรับสำนวนการสอบสวนคืนจากคณะกรรมการ ปปช.เพื่อมาทำการสืบสวนสอบสวน
วันที่ 4 มี.ค. 2567 ป.ป.ช. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 26/2567 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญฯ มาตรา 234 (2) ได้กำหนดให้ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ป.ป.ช. จึงมีมติเสียงข้างมากรับเรื่องกล่าวหาโจทก์กับพวกรวม 5 นาย กรณีเรียกรับผลประโยชน์จากเว็บไชต์การพนันออนไน์ เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งสูงกว่าอำนวยการระดับสูงและเทียบเท่า และพฤติการณ์มีการได้รับผลประโยชน์เป็นเงินจำนวนมาก อีกทั้งเป็นคดี ที่สำคัญอยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปอันเข้าลักษณะเป็นความผิดร้ายแรงหรือเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางประกอบกับสำนวนการสอบสวนคดี พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัยกับพวก เป็นคดีที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน จึงให้เรียกสำนวนการสอบสวนเรื่องกล่าวหา พ.ต.อ.ภาคภูมิ กับพวก และเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดคืนมาเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
การกระทำของจำเลยที่ 1 ในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนรับผิดชอบคดีอาญาที่ 391/2566 ของ สน.เตาปูน โดยมีจำเลยที่ 2 - 28 เป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญาที่ 724/2566 และเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบสวนสวนสวนขยายผลในคดีอาณาที่ 724/2566 ของกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโนโลยี 1 จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ ที่พนักงานสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง รวมทั้งรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นแล้วส่งให้คณะปปช. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการร้องทุกข์กล่าวโทษคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนจึงไม่มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวน รวมตลอดถึงการขอศาลอาญาอนุมัติออกหมายจับ พ.ต.ท.คริษฐ์ กับพวก 7 คน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันกับธุรกรรมการโอนเงินในคดีอาญาที่ 724/2566
โดยในคำร้องขอออกหมายจับต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ของจำเลยที่ 17 ผู้ร้อง ได้กล่าวถึงบัญชีธนาคารของนางสาวพิมพ์วิไล ปล้องอ่อน ผู้ต้องหาในคดีที่ 391/2566ไว้ในคำร้องแล้ว แสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบัญชีธนาคารของนางสาวพิมพ์วิไล ที่จำเลยที่ 29 และจำเลยที่ 30 นำมาแจ้งข้อกล่าวหาและรับเป็นคดีใหม่ที่ สน.เตาปูนนั้น เป็นข้อเท็จจริงเดิมในคดีอาณาที่ 724/2566 ซึ่ง ป.ป.ช. ได้มีมติเรียกสำนวนไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว จึงเป็นกรณีแสดงให้เห็นแล้วว่า จำเลยทั้งสามสิบคน ร่วมกันวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้ถูกกล่าวหาในหลายท้องที่ และเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ส่งสำนวนนี้ไปยัง ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน และส่งผลให้ พ.ต.ท.คริษฐ์ ถูกออกหมายจับถูกจับกุม และถูกแจ้งข้อกล่าวหา จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิ และเสรีภาพ
ต่อมาโจทก์ทราบว่าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 593/2566 ซึ่งรับผิดชอบสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่ 724/2566 โดยมีพล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวถแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน มีการนำข้อเท็จจริงจากการทำธุรกรรมการเงินและพยานหลักฐานเดิมที่มีการดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.คริษฐ์ในคดีอาญาที่ 724/2566 ไปร้องทุกข์กสาวโทษเป็นคดีใหม่ที่สน.เตาปูน เป็นคดีอาญา391/2566 ว่ากระทำความผิดฐาน "ฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน"
โดยจำเลยที่ 1 ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน โดยมีหน้าที่รับผิดชอบสำนวนการสอบสวนคดีอาญาจึงย่อมต้องทราบข้อเท็จจริงมาตลอดว่าธุรกรรมการเงินและพยานหลักฐานที่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ในคดีอาญาที่ 391/2566 เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันกับธุรกรรมการโอนเงินในคดีอาญาที่ 729/2566 การที่คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนซึ่งรับผิดชอบสำนวานการสอบสวนคดีอาณาที่ 729/2566 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีกับพ.ต.ท.คริษฐ์ กับพวก ที่เตาปูนในคดีอาญาที่ 391/2566 จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ป.ป.ช. ได้มีมติที่จะรับคดีดังกล่าวไว้พิจารณา
อีกทั้ง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 กำหนดว่าคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน คดีความผิดที่มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 60 และมาตรา 61 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ที่เป็นคดีอาญาอื่นที่มีมูลน่าเชื่อว่ามีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่มีมูลค่าตั้งแต่สามร้อยล้านบาทขึ้นไป การที่คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาพันตำรวจโทคริษฐ์ ปริยะเกต. กับพวก ในความผิดฐานสมคบกันฟอกเงินฯเเละปรากฎยอดเงินจำนวนสี่ร้อยล้านบาท ซึ่งอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดังนั้น คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งกองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ 58/2567 จึงไม่มีอำนาจสืบสวนสอบสวน การสืบสวนสอบสวนที่ผ่านมาจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 12 มี.ค. 2567 จำเลยที่ 2, 4- 28 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาออกหมายจับโจทก์กับพวก โดยกล่าวหาว่าสมคบกันโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดรานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน
โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนในความผิดดังกล่าว ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันกับสำนวนการสอบสวนเดิมคือสำนวน 724/2566.ซึ่งเคยกล่าวหาโจทก์ไว้ว่าเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัที่เป็นผู้ต้องหาบางคน ร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเจ้าของเว็บไซต์การพนันอันมีลักษณะนการร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันอันเป็นเจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยคณะพนักงานสอบสวนในคำสั่งที่ 593/2566 ซึ่งรับผิดชอบสำนวนการสอบสวนคดีอาญาที่729/2566 ได้เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อโจทก์เพียงข้อหาสมคบกัน โดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เพราะเหตุที่ได้สมคบกัน และร่วมกันฟอกเงิน
โดยไม่มีข้อหาเป็นเจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด,เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่อย่างใด เพราะข้อหาดังกล่าวหากมีการกล่าวหาสำนวนการสอบสวนก็จะอยู่ในอำนาจของปปช.เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามสิบคน พยายามเบี่ยงเบนสำนวนการสอบสวน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังปปช.และเพื่อเป็นการใช้อำนาจในการสอบสวนดำเนินคดีกับโจทก์อย่างไม่เป็นธรรมและไม่เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
การกระทำของจำเลยทั้งสามสิบคน จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดรานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 83 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทจริต พ.ศ.2561 มาตรา 4 มาตรา 171 และมาตรา 172 เหตุเกิดที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล, สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน และศาลอาญา
โดยภายหลังยื่นฟ้อง ศาลมีกำหนดนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาในชั้นตรวจคำฟ้อง ในวันที่ 27 พ.ค.2567
เเต่เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยให้เหตุทำนองว่า เนื่องจากโจทก์ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจริตแห่งชาติ ขอให้ดำเนินการไต่สวนกับคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนไว้เเล้ว จึงขอถอนฟ้อง โดยศาลพิจารณาคำร้องเเล้วอนุญาตให้ถอนฟ้องได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ชุดตำรวจที่ไปพัวพันคดีเว็บการพนันเเละถูกจับกุมซึ่งเป็นลูกน้องของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้ยื่นฟ้องชุดพนักงานสอบสวนเเละชุดจับกุมหลายคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในศาลอาญาคดีทุจริตฯซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องมาโดยตลอด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ
ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น
เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.
ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย
‘เรืองไกร’ สบช่องร้อง ป.ป.ช. เช็คบิล ‘กิตติรัตน์’ ว่าที่ปธ.บอร์ดธปท.
เรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. ตรวจ กิตติรัตน์ ป.กมธ.งปม.2555 เข้าข่ายมีความผิดแบบ สมหญิง หรือไ
กูรูใหญ่ปูดข่าว 'บิ๊กโจ๊ก' ให้การ ปปช. ยืนยันชั้น 14 'ป่วยทิพย์'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
ลุ้นองค์คณะฯอ่านคำพิพากษา ดับฝัน 'โจ๊ก-แมว9ชีวิต' กลับตร.
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา "บิ๊กโจ๊ก" - พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งคดีนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางปกครองในระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ