“ปณิธาน” ชี้ “ทักษิณ” ถกชนกลุ่มน้อย สุ่มเสี่ยง ล่อแหลม สถานะไม่ชัด เผยหลายกลุ่มแตกแยก-ปัญหาซับซ้อน แนะบทบาทไทยต้องเป็นทางออก ไม่ใช่ทางเลือก ตัดวงจรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยึดแนวทางรักษาชีวิตคน-ช่วยเหลือมนุษยธรรม
8 พ.ค.2567 - นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวในรายการ “เจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์” ถึงกรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร เดินสายไปพูดคุยกับกลุ่มชาติพันธุ์ ของเมียนมาว่า ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงและล่อแหลม การเจรจาเป็นเรื่องที่ดี แต่จะเสริมอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และประเทศชาติได้ประโยชน์จริงๆ สถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างผกผัน
ดังนั้นการไปคุยอย่างไม่เป็นทางการ โดยที่บางกลุ่มไม่อยากเจรจาแต่ต้องการให้เราไปบอกรัฐบาลเมียนมาให้ลงจากอำนาจและถอยออกไปเพื่อสถาปนารัฐอิสระดูแลตัวเองปกครองตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ประเทศไทยต้องตั้งหลักให้ดี โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ
“เราทราบดีว่า เป็นบทที่เล่นกันมาแล้ว ทั้งบรูไน หรือแม้กระทั่ง สมเด็จ ฮุนเซน กัมพูชาที่เล่นบทบาทนี้ทั้งทางตรงทางอ้อม รวมถึง อินโดนีเซีย จนมาถึงจีน ต่างก็ล้มเหลวกันทั่วหน้า ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากทหารพม่าไม่ยอมลงจากอำนาจ และขณะนี้ทหารเมียนมาก็เตือนทางไทยแล้วว่าความสำคัญในเรื่องพลังงานจะละเลยไม่ได้ ให้ดูแลตามแนวชายแดน เพราะขณะนี้มีความรั่วไหลอยู่หลายประการ กลุ่มต่างๆเข้าไปสนับสนุนความขัดแย้งอยู่หลายรูปแบบ เหล่านี้อยู่ในรายงานของนานาชาติแทบทั้งสิ้น และมีข้อพิพาทของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยกับเมียนมาอีกหลายเรื่อง ที่จำเป็นต้องเดินความสัมพันธ์แบบเป็นทางการจึงกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนขึ้นไป
จีนเองก็เอากำลังกดดันให้กองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มถอยร่นลงมาติดชายแดนไทยตามรายงานของทางสหรัฐฯ ทำให้การประสานฝ่าย กองกำลังของไทย กระทรวงต่างประเทศ สมช. ต้องมีหัว ในการกำหนดเป็นนโยบายและมีการเดินในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป"
อดีตที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ถ้าจะมี อดีตนายกฯ อดีตเอกอัครราชทูต ไปพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจะ ยืดหยุ่นกว่าก็จริง สามารถ ทาบทาม ลองเชิง กดดันได้ แต่จะต้องมีสัญญาณที่สอดคล้องกับ ช่องทางกึ่งทางการ ซึ่ง 5 ประเทศที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาดำเนินการอยู่ มีการคุยกันที่อินเดียและจีนแล้ว โดยมีตัวแทนของทหารเมียนมาและ NUG สำหรับไทยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศก็ไปคุยกับสหรัฐฯ เพื่อเปิดทางให้มีการช่วยเหลือในหลายรูปแบบ ทั้งหมดนี้ถ้าไทยจะกระโจนเข้ามาระหว่างทาง วงอาจจะแตกได้ ถ้าไม่ซักซ้อมกันให้ดี โดยต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์เดียวซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ซับซ้อนจะให้เขสรู้ทั้งหมดไม่ได้ แต่จะไม่ให้เขารู้ก็ไม่ได้เหมือนกัน ถ้าไปบอกผู้แทนชนกลุ่มน้อยว่าไม่ได้รับอำนาจไปเจรจา เขาก็จะไม่ยอมเซ็นเอกสารอย่างที่ปรากฏเป็นข่าว หรือถ้าบอกว่าไม่มีอำนาจ แค่มาขอทาบทาม ก็จะเดินไม่ได้อีก เพราะไม่มีข้อผูกมัดเ พราะทั้งหมดนี้จะนำกลับเข้าไปสู่ในโต๊ะทางการของอาเซียน ตามข้อตกลงฉันทามติในที่สุด
“แต่ปัญหาใหม่ๆยังตามมาอีกหลายประการ ความสัมพันธ์กับจีน ขณะนี้ค่อนข้างแปรผัน แต่อย่างไรก็ดีเรายังเห็นยุทโธปกรณ์สมัยใหม่เข้าไปในพื้นที่อย่างเช่นรัฐฉานมากขึ้น การเยี่ยมเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของจีนและเมียนมาร์ก็กระชับมากขึ้น และยังมีประเด็นของอินเดียและรัสเซียที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในสมรภูมิอีก ทั้งหมดเหล่านี้ถ้าทางการไทยจะบริหารและมั่นใจว่าทำได้ โดยเฉพาะตามแนวชายแดนก็ต้องควบคุมดูแลการปฎิบัติในพื้นที่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกำลังนเรศวร หรือกองกำลังผสมของเรายังไม่ได้เข้ามาในบริบทของเรื่องเหล่านี้เลย”
นายปณิธาน กล่าวว่า ที่สำคัญ การเข้า-ออกของทุกกลุ่มตั้งแต่เดือนที่แล้ว ควรต้องมีการอำนวยความสะดวก ดูแลรักษาความปลอดภัย เพราะเอาเข้าจริงเราก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้ครึ่งตัวไปแล้ว สถานการณ์ขณะนี้มีผู้เล่นที่เกี่ยวข้องมากมายรวมถึงมหาอำนาจ และเราจะต้องคุยกับผู้เล่นเหล่านี้ให้ดีด้วย เพราะประเทศจีนก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนกันค่อนข้างมาก และเป็นบทบาทที่อ่านยาก ในบริบทหนึ่งเมื่อกดดันกลุ่มสีเทาให้ถอยร่นออกไป ในบริบทหนึ่งก็ไม่อยากเสียพันธมิตรรัฐบาลทหารเมียนมาไป ขณะเดียวกันก็เฝ้าดูพันธมิตรของสหรัฐ ที่รุกคืบเข้ามาเรื่อยๆในหลายพื้นที่ รวมถึงประเทศไทย ตรงนี้ก็ทำให้เราอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง แต่ก็สามารถพลิกให้ได้ประโยชน์ได้เหมือนกันถ้าเราสามารถดำเนินการเชิงรุกในบางรูปแบบ แต่ตอนนี้พื้นที่ระเบียงมนุษยธรรมก็ปิดไปแล้ว โดยสัปดาห์นี้ทางการเมียนมาแจ้งเข้ามาไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ก็เป็นการถอยหลังมาอีกก้าวหนึ่ง ก็ต้องกลับไปผลักดันกันใหม่ให้เกิดขึ้น
ส่วนที่มองว่าประเทศไทยก็วางตัวยากเลยสำหรับการดังกล่าวนั้น นายปณิธานกล่าวว่า ทางออกคือ เราต้องผลักดันให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันช่วยในเรื่องความปลอดภัยเพื่อช่วยเหลือคนจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะกะเหรี่ยงตามแนวชายแดนอย่างเดียวต้องตั้งหลักใหม่ในการให้ไทยเป็นฐานในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจริงๆ โดยให้ไทยเป็นทางออก ไม่ใช่ทางเลือกในการต่อสู้กันในเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างที่บางประเทศเป็น ขณะที่เมียนมากำลังเตรียมการเลือกตั้ง เมื่อ กกต. จัดเรื่องทะเบียนเสร็จในเดือนตุลาคมจะมีการเลือกตั้งในบางพื้นที่ตรงนั้นเป็นจังหวะที่ทำให้เราผลักดันในการเลือกตั้ง ที่โปร่งใส เป็นธรรม แม้เป็นเรื่องยากก็จริงที่จะทำให้ไทยดูเหมือนไม่เลือกข้าง แต่ก็สนับสนุนประชาธิปไตย
“สุดท้ายคือที่ต้องทำจริงๆการควบคุมขบวนการที่แปรปรวน เช่น ขบวนการสีเทา ขบวนการส่งกำลังบำรุงต่างๆ ว่ากันว่า ถึงขนาดมีเครื่องบินเล็กบินเข้าออกตามตะเข็บชายแดน โดยที่การควบคุมทำได้ยากมาก ถ้าเป็นเรื่องจริงก็ต้องรีบจัดการเรื่องเหล่านี้ ถ้าเรายืนระยะตรงนี้ได้ไทยก็จะไม่เสียดุล ถ้ามีการเลือกตั้งหรือเจรจา ไทยก็จะเป็นหนึ่งในแกนสำคัญในการกำหนดทิศทางได้โดยการนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของคนเป็นล้านคนซึ่งอยู่ในเมืองไทยแล้วก็จะกลายเป็นความหวัง”
เมื่อถามว่า คิดว่าฝันของนายทักษิณ ต่อกรณีเมียนมา จะเป็นเหมือนในอดีตที่ไทยเคยประสบความสำเร็จในการเจรจาเขมรสามฝ่ายมาแล้วหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า คงจะยากพอสมควร แต่ต้องไปถึงจุดนั้นให้ได้ นำไปสู่การวางอาวุธและเข้าสู่ระบบของการเมืองที่มีดุลยภาพมากขึ้น ขณะนี้ติดอยู่ที่ว่ากองกำลังชนกลุ่มน้อยต้องการยึดพื้นที่ ยังไม่มีการวางอาวุธ กรณีของเขมรกว่าจะวางอาวุธก็มีการสู้รบ ฆ่าล้างเผ่าพันธ์เสียชีวิตคนเป็นหลายล้านคน ซึ่งเราต้องตัดวงจรอย่าให้เป็นเช่นนั้นเด็ดขาด ตอนนี้รัฐบาลทหารเมียนมาร์มีความเชื่อว่าเขาสามารถรุกกลับมาได้โดยเฉพาะที่เป็นเมืองใหญ่ ส่วนที่ชนกลุ่มน้อยเองก็ไม่ยอมวางอาวุธเพราะรุกคืบยึดพื้นที่หลายเมือง แต่ชนกลุ่มน้อยรู้ดีว่ารัฐบาลเมียนมามีกำลังทหาร 4 แสนนายในขณะที่ชนกลุ่มน้อยมี 2แสนนาย
“เชื่อว่าทหารเมียนมาจะสู้จนคนสุดท้ายโดยเฉพาะเมืองหลวง เมืองใหญ่ที่มีผลประโยชน์มหาศาลขณะที่ประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลเมียนมา ก็ไม่รู้จะไปไหน ก็คงหันหลังกลับมาต่อสู้กับชนกลุ่มน้อย ขณะนี้ก็มีความแตกแยกกันอยู่หลายเรื่อง จึงตัดวงจรตรงนั้น โดยดูจุดอ่อนของแต่ละฝ่ายเพื่อผลักดันไปสู่โต๊ะเจรจา กล่าวคือเมียนมาจะไม่เหมือนเดิมจะต้องเป็นประชาธิปไตยมีการปกครองที่มีสันติและมีการแบ่งผลประโยชน์ของรัฐต่างๆให้ลงตัวกว่านี้ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากซึ่งตามแนวใช้แดนก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่บนโต๊ะเจรจา”นายปณิธาน กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ
60ปีเฮได้เงินหมื่น จ่ายไร่ละพันพักหนี้
“นายกฯ อิ๊งค์” ชี้ “ทักษิณ” จ้อการเมืองแค่สีสันสนุกสนาน ไม่ฉุดเศรษฐกิจดิ่ง
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง