'รังสิมันต์' ชี้ปมทักษิณคุยกลุ่มชาติพันธุ์ตอกย้ำสภาวะ 1 ประเทศ 2 นายกฯ

'ปธ.กมธ.ความมั่นคงฯ' จ่อเรียกหน่วยงาน แจงปม 'ทักษิณ' เจรจากลุ่มชาติพันธุ์เมียนมา กังวล ผลผูกมัด รัฐบาล-ลดภาวะผู้นำเศรษฐา

08 พ.ค. 2567 - นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่พบปะกลุ่มชาติพันธุ์เมียนมา เพื่อขอเป็นตัวกลางเจรจาสันติภาพในเมียนมา ว่ากังวลว่าสิ่งที่นายทักษิณดำเนินการนั้น จะสร้างความสับสนต่อบทบาทประเทศไทยในการสร้างสันติภาพในเมียนมา เพราะนายทักษิณไม่มีตำแหน่งใดในรัฐบาล และรัฐบาลไม่ได้มอบหมายให้ไปในฐานะตัวแทนรัฐไทยไปดำเนินการ แม้จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นคนกลางเพื่อสร้างสันติภาพในเมียนมา แต่ควรเป็นไปในกลไกที่ถูกต้อง และมีความชอบธรรม แต่กรณีของนายทักษิณนั้นไม่รู้เป็นมาอย่างไร ไปเจรจาต่างๆ ได้อย่างไร

เมื่อถามว่า กังวลว่าการเจรจาของนายทักษิณจะมีผลผูกพันกับรัฐบาลในการดำเนินการเกี่ยวกับสันติภาพเมียนมาหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เป็นประเด็นที่กังวล เพราะหน้าที่พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นตัวแทนประเทศไทย คือ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งกรณีดังกล่าวมีรัฐสภากำกับ แต่นายทักษิณไม่มีตำแหน่งใดในรัฐบาล ดังนั้นจึงไม่มีกลไกกำกับความสัมพันธ์ หากนายทักษิณเจรจารับคำ เหมือนกับผูกพันรัฐบาลด้วย จะทำให้เป็นปัญหาในเชิงการทำงานและการตรวจสอบ

นายรังสิมันต์เผยว่า เรื่องนี้ กมธ.ต้องตรวจสอบอย่างแน่นอน โดยเบื้องต้นในวันที่ 12 พ.ค. กมธ.จะลงพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งจะมีกรณีของนายทักษิณแทรกมา จากเดิมที่จะไปดูเรื่องการสนับสนุนด้านมนุษยธรรม และเก็บข้อมูลเรื่องนโยบายความมั่นคง และนอกจากนั้น จะเรียกหน่วยงานอื่นๆ คุย เพราะมีนัยสำคัญกับประเทศ

นายรังสิมันต์ กล่าวอีกว่า บทบาทการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพเมียนมา ควรเป็นบทบาทและใช้กลไกของหน่วยงานรัฐบาล ทั้งฝ่ายความมั่นคง และกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ใช่ในฐานะบุคคล ขณะเดียวกันท่าทีของรัฐบาลต่อกรณีของนายกทักษิณ ที่นายเศรษฐา และ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แสดงออกในลักษณะปัดความรับผิดชอบ ไม่รับรู้ จะเป็นปัญหาได้ในภาวะผู้นำตัวจริงของรัฐบาล

“เมื่อรัฐบาลไม่ปฏิเสธสิ่งที่นายทักษิณทำ เท่ากับเพิ่มพลังของนายทักษิณ ทำให้การเจรจาที่ทำนั้น ไม่แตกต่างอะไรจากการเจรจาของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลลดภาวะผู้นำของนายกฯ ลงไป อีกทั้งเมื่อไม่ปฏิเสธที่ชัดเจน ถือเป็นปัญหาที่น่าปวดหัว ว่าใครคือ นายกฯตัวจริง ใครคือผู้มีอำนาจตัดสินใจ”

นายรังสิมันต์ กล่าวด้วยว่า กรณีที่นายทักษิณคุยกับกลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะเป็นฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา แต่ภาพของนายทักษิณต่อสันติภาพเมียนมาไม่ชัดเจน ว่าต้องการประชาธิปไตยแบบไหน และที่ผ่านมาในการตรวจสอบ กมธ.ความมั่นคงฯ ไม่เคยได้รับรายงานว่า กระทรวงต่างประเทศมองภาพสันติภาพเมียนมาแบบไหน ดังนั้น หากเจรจาเพื่อสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา (เอสเอซี) อย่างเดียว จะทำให้สันติภาพไม่ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว! ผู้ตรวจการแผ่นดินขยับขีดเส้น 30 วันให้หน่วยงานแจมปมชั้น 14

'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' ขีดเส้น​ 30 วัน​ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจงปมส่งตัว​ 'ทักษิณ' รักษาชั้น 14​ โรงพยาบาลตำรวจ ไม่หนักใจเชื่อทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือ​ ยืนยันใช้เวลาไม่นาน​

'พ่อนายกฯ' ชี้ต้องคุยกับ 'เมียนมา' มากขึ้น ร่วมแก้ยาเสพติด-แก๊งคอลฯ-ฝุ่นPM2.5-สารหนู

'ทักษิณ' ชี้ต้องคุยกับเมียนมามากขึ้น ร่วมกันแก้ปัญหา ทั้งปมยาเสพติด-คอลเซ็นเตอร์-ฝุ่นPM2.5-สารหนู พร้อมปลอบคนเชียงใหม่และเชียงราย รัฐบาลเร่งจัดการ

'ทักษิณ' จ่อคุย 'อันวาร์' จับมืออาเซียน เจรจา 'ทรัมป์' แบบพันธมิตร ไม่ต่อรองกดดัน

'ทักษิณ' เตรียมหยิบวาระอาเชียนรับมือกำแพง 'ภาษีทรัมป์' คุย 'อันวาร์' โอกาสเยือนไทย 17 เม.ย.นี้ ชี้เจรจาสหรัฐแบบพันธมิตร ไม่ต่อรองกดดัน มั่นใจประเทศไม่ลำบาก