เปิดความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี

2 พ.ค.2567 - สืบเนื่องจาก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี เฉพาะตามมาตรา 160(6) ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 ก.ย.2566 ตอบกลับเลขาธิการคณะรัฐนตรี โดยมีเนื้อหาระบุว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าว โดยมีผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริง และมีความเห็นในแต่ละประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ หนึ่ง เห็นว่า มาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยใน(6) ของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า รัฐมนตรีต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 ซึ่งมาตรา 98 (7) กำหนดลักษณะต้องห้ามไว้ว่า "เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้งเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลทุโทษ" ดังนั้น การได้รับโทษจำคุกไม่ว่าโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งใด จึงเป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี บุคคลซึ่งเคยได้รับโทษจำคุกในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว เว้นแต่บุคคลนั้นได้พ้นโทษเกินสิบปีแล้ว หรือได้รับโทษจำคุกในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ อันเป็นข้อยกเว้นที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ประเด็นที่สอง เห็นว่า มาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ชัดเจนว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวไม่รวมถึงคำสั่งให้จำคุก ดังนั้น ผู้ซึ่งจะด้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจึงต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

ทั้งนี้ การให้ความเห็นในกรณีนี้เป็นการตอบข้อหารือตามที่ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงต่อกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ว่าประสงค์จะขอหารือเฉพาะกรณีมาตรา 160 (6)ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เท่านั้น

อนึ่ง ข้อหารือนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดย่อมเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ การให้ความเห็นในกรณีนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เลขาฯครม.' แจงถ้านายกฯให้คุยกับ 'วิษณุ' ปมตั้ง 'พิชิต' ก็ต้องทำแบบนั้น

ที่ทำเนียบรัฐบาล นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมการทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธร

'สุทิน' มั่นใจ หุ้นเมีย ไม่ใช่จุดตาย เหตุต่างจากคนอื่นในอดีต ไม่มองถูกถูกเลื่อยขาเก้าอี้

รมว.กลาโหม มั่นใจ หุ้นเมีย ไม่ใช่จุดตาย เหตุต่างจากคนอื่นในอดีต ไม่มองถูกถูกเลื่อยขาเก้าอี้ แค่บังเอิญถูกร้องช่วงนี้ ระบุแล้วแต่จะมองนายกฯ ถูกวางยาหรือไม่ปมตั้ง'พิชิต'

'เศรษฐา' รอดยาก! จับตาเอกสารสลค.สำคัญที่สุดในการเข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยังไม่สิ้นกระบวนความ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับฟ้อง พิชิต ชื่นบาน เพราะลาออกไปก่อน

ยังไม่จบ 'พิชิต' ลาออกแต่ 'เศรษฐา' กระทำผิดสำเร็จแล้ว รอดยาก

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กภายหลังนายพิชิต ชื่นบาน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า

'ราเมศ' กรีด 'พิชิต' อย่ารีบลาออกรมต. ต้องต่อสู้พิสูจน์ถุงขนม 2 ล้านเป็นการกระทำซื่อสัตย์สุจริต

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สว.ได้ยื่นคำร้องตรวจสอบคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน และนายพิชิต ชื่นบาน ว่าตั้งแต่วันแรกที่ทราบว่านายพิชิตเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี

'ภูมิธรรม' ป้อง 'พิชิต' มีปัญหาตรงไหน จริยธรรมอะไร อย่าขวางทางรัฐบาลจะแก้เศรษฐกิจ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณี สว. 40 คน ยื่นถอดถอน นายพิชิต ชื่นบาน รมต.ประจำ