'เศรษฐา' หัวโต๊ะถกดิจิทัลวอลเล็ต ถามหา “ผู้ว่าแบงก์ชาติ” กลางวง ด้าน “รองผู้ว่าฯ” ตอบแทนติดภารกิจไปต่างประเทศ สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหาแหล่งเงิน ย้ำกระบวนการต้องเป็นไปตามกฏหมาย
27 มี.ค.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 2/2567 โดยในที่ประชุมช่วงต้น นายกฯได้มองหา นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พร้อมสอบถามว่า ”ท่านผู้ว่าฯติดภารกิจหรือครับ” ด้าน นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน กล่าวตอบว่า “ท่านผู้ว่าฯติดภารกิจไปต่างประเทศ”
จากนั้นนายกฯ กล่าวเปิดการประชุมตอนหนึ่งว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาการเจริญเติบโตต่ำกว่าศักยภาพเป็นเวลายาวนาน และเผชิญกับปัญหาทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการฟื้นตัวของรายได้ของประชาชนที่ไม่เท่ากันหลังสถานการณ์โควิด-19 และภาระดอกเบี้ยที่ยังสูงตลอดเวลา ดังนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตนขอเน้นย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตนี้ เป็นหนึ่งในมาตรการระยะสั้นที่จะช่วยเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นผ่านประชาชน ผู้ได้รับสิทธิ์และผู้ประกอบการร้านค้า ดังนั้นการดำเนินงานในขอบเขตที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
นายเศรษฐา กล่าวว่า จากที่กล่าวมาโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ควรถูกขับเคลื่อนและผลักดันเกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว นอกจากนี้ ตนยังทราบมาว่าคณะทำงานรวบรวมข้อมูลความเห็นข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะทุกภาคส่วนได้จัดตั้งขึ้นแล้ว และอยู่ระหว่างรอหน่วยงานต่างๆให้ความเห็นกลับมา ซึ่งก็ขอให้การดำเนินโครงการนี้คำนึงถึงความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
“วันนี้ในการประชุมผมเห็นว่าควรพิจารณาทางเลือกแหล่งเงินที่จะใช้ในโครงการ และมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการ ไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเป็นไปตามข้อพึงระวังหรือความเห็นจากหน่วยงานต่างๆที่ได้รับมา ผมขอเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะดำเนินโครงการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยกระบวนการต่างๆ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบต่างๆ ต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ และที่สำคัญการใช้อำนาจต่างๆ ในการดำเนินการโครงการนี้ จะต้องเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์และสุจริต รอบคอบและระมัดระวัง เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด” นายกฯ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดภารกิจ 'กิตติรัตน์' ในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกฯ ทำหลุดเก้าอี้ 'ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ'
กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีการ่วม 3 คณะ มีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ
ตามสูตร! ฟื้นคณะกรรมการ 6 ชุดแก้ปัญหาสมัชชาคนจน
'ชูศักดิ์' ถก คกก.สมัชชาคนจน ตั้ง 6 กก. สมัยเศรษฐา เร่งวางแนวทางแก้ 4 เรื่องด่วน
ครม.เคาะแพ็กเกจใหญ่ช่วยเหลือ 'ลูกหนี้รายย่อย-เอสเอ็มอี'
ครม. อนุมัติชุดใหญ่! จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นแน่
'คำนูณ' เตือนอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย! ชี้ไทยไม่รับอำนาจศาลโลกมา 64 ปีแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน