ตัดสิทธิ์ตลอดชีวิตหลอน! 'พิธา' สั่งทีมงานศึกษาคดี 'ช่อ-ปารีณา'

16 มี.ค.2567 - ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ได้ยื่นยุบพรรคก้าวไกล ว่า มีทีมเตรียมข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ก้อน คือคดีของกกต.และคดีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งกำลังไล่ดูว่า รายละเอียดของกกต. ยังขาดอะไรอยู่บ้าง และป.ป.ช.หากเทียบกับคดีที่ศาลฎีกาเมื่อสมัยก่อนในการตัดสินคดีของนางสาวพรรณิการ์ วานิช หรือนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ รวมถึงนายสิระ เจนจาคะ ใช้เวลาเท่าไหร่

"ทางปปช.ใช้เวลาเท่าไหร่เราก็ทำงานกลับและเตรียมอธิบายสู้คดี เรื่องเกี่ยวกับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นมาตรา 49 ที่ตัดสินไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม และมาตรา 92 อันหนึ่งเป็นมาตรฐานที่ไว้ใช้ป้องกันอีกอันเป็นมาตรฐาน ที่ใช้ประหารพรรคการเมือง น้ำหนักมันคนละอนุมาตรากัน สมมุติแม้จะมีคำว่าล้มล้างเหมือนกันแต่ไม่ได้หมายความว่าโทษจะได้สัดส่วนเหมือนกัน เราจะต้องมีดุลยพินิจ ว่ามาตราหนึ่งมีไว้แค่ตักเตือน บอกให้หยุดการกระทำแต่อีกมาตราหนึ่งมีไว้เพื่อที่จะยุบพรรค และนำไปสู่การริดรอนสิทธิทางการเมือง ในการลงเลือกตั้งครั้งต่อไป และเชื่อว่าศาลจะให้ความยุติธรรมและให้น้ำหนักมากกว่าเรื่องของมาตรา 49" นายพิธากล่าว

นายพิธา ยืนยันว่าไม่มีความกังวลหากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล เพราะเราต้องเตรียมการทำงานล่วงหน้า

"การทำงานของพรรคก้าวไกล เราคิดว่าเหมือนกับการเขียนหนังสือ มีชัตเตอร์ที่ 1 ชัตเตอร์ที่ 2 ชัตเตอร์ที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุดมการณ์ ปณิธาน และนโยบาย ที่พี่น้องประชาชนให้มา 14 ล้านเสียง เราก็เดินหน้าต่อแน่นอน ไม่ว่าจะมีพรรคก้าวไกลหรือไม่มีพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะมีผลหรือไม่มีผล"

เมื่อถามว่าแสดงว่าเตรียมแผนรองรับหากศาลมีคำพิพากษาออกมาแล้วใช่หรือไม่นายพิธา กล่าวย้ำว่าเตรียมมานานแล้ว

สำหรับคดีของ นางสาวพรรณิการ์ วานิช และนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ที่นายพิธาพูดถึงนั้น เนื่องจากทั้งสองถูกป.ป.ช.ชี้มูล ผิดจริยธรรมร้ายแรง และยื่นฟ้องต่อศาลฎีกา กระทั่งศาลฯพิพากษาเพิกถอนสิทธิ์ลงเลือกตั้งตลอดไป

และขณะนี้ 44 สส.ของพรรคก้าวไกล ถูกกล่าวหาผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยป.ป.ช.อยู่ระหว่างการสอบสวนและมีรายงานว่ามีความคืบหน้าไปมากแล้ว

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. พูดถึงเรื่องนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ถึงแม้จะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว แต่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงในการกระทำ ซึ่งกรอบระยะเวลาได้กำหนดไว้ 180 วันนับจากได้รับเรื่องร้องเรียน แต่อย่าลืมว่าเราต้องตรวจสอบถึง 44 คน ก็ต้องใช้เวลา แต่จะเร่งให้อยู่ภายในกรอบระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิพิฏฐ์' โพสต์ 'หน้าที่รัฐ' ความต่างระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "หน้าที่รัฐ" ระบุว่า การถือกำเนิดของรัฐ มาจากหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น

‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน

ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี

'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ