7 มี.ค.2567 - จากกรณีศาลอาญายกฟ้อง อ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คดีหมิ่นประมาท นายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เขียนหนังสือ "ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ" และ "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
ล่าสุด นายปฏิพล อภิญญาณกุล นักเขียนชื่อดังได้โพสต์ข้อความว่า สืบย้อนอดีต “วิทยานิพนธ์บิดเบือน” #ไม่มีอาชญากรรมใดที่สมบูรณ์แบบ_คนร้ายย่อมทิ้งร่อยรอยไว้ในที่เกิดเหตุเสมอ – เชอร์ล็อก โฮมส์
เนื่องจากผลการฟ้องร้องของนายณัฐพล ใจจริง เพื่อเรียกค่าหมิ่นประมาทเสียหายต่อ ศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร และศาลได้มีการตัดสินยกฟ้องแล้ว ด้วยเหตุผลที่ ศ.ดร. ไชยันต์ ได้ทำหน้าที่ในฐานะปวงชนชาวไทยในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรื่องราวทั้งหมด ไม่อยากให้จางหายเร็วเหมือนไฟไหม้ฟาง เป็นกระแสวูบวาบแล้วหายไป
– มาย้อนอดีตดูความเป็นไป เป็นมากัน
…
จุดเริ่มต้น เริ่มจากการ “เอ๊ะ !” การเอ๊ะ! .. ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเอ๊ะขึ้นมาง่ายๆ นักปราชญ์ นักคิด นักวิทยาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์และอัดแน่นไปด้วยความรู้
- การเอ๊ะ! ของพวกเขา มักจะสร้างพัฒนาการบางอย่างขึ้นมาใหม่เสมอ ในวันหนึ่ง ที่ห้อง 102 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ อ.ไชยันต์ อ.สมบัติ จันทรวงศ์ , อ.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ กำลังนั่งอ่านหนังสือเพื่อทำวิจัย ศ.ดร. สมบัติ จันทรวงศ์ พลันสะดุดตา เอ๊ะ! กับข้อความในหน้า 124 จากหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” ของ ผศ.ดร. ณัฐพล ใจจริง ในประโยคที่เขียนว่า “ผู้สำเร็จราชการฯ (กรมขุนชัยนาทนเรนทร) ได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์..." นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นสืบค้นหา ..
พบว่า หนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ อ้างอิงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง ของตัวเอง แล้ว ศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร จึงได้ไล่อ่านทั้งวิทยานิพนธ์และหนังสือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จนพบข้อผิดพลาดมากมาย อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดธรรมดา แต่เป็นข้อผิดพลาดใหญ่ที่ไม่มีหลักฐานใด ๆ เลย
เข้าลักษณะ “ใส่ความเพียงข้างเดียว” โดยมีเสื้อคลุมคำว่า “นักวิชาการ” ปกปิดสิ่งที่ผิดเอาไว้ ในวิทยานิพนธ์นั้น ผิดพลาดกว่า 31 จุด แต่เพื่อรวบรัดกระชับ ขอยกจุดใหญ่ที่เป็นปัญหาอย่างมาก มาให้ทราบ คือ
กล่าวหาว่า กรมขุนชัยนาทนเรนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ เข้าไปนั่งเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี เสมือนเป็นตัวแทนกษัตริย์เพื่อปูทางให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์
* (ตอนนั้น รัชกาลที่ 9 ทรงมีอายุ 20 พรรษา และยังอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์)
กล่าวหาว่า สมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) สนับสนุนรัฐประหาร และอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 2490
กล่าวหาว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับรู้แผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า ด้วยพระองค์ทรงยินดีและพึงพอใจ
* (เพื่อทำให้อ่านแล้วเข้าใจว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีส่วนในการทำรัฐประหาร)
กล่าวหาว่า การเสด็จไปยังชนบทต่างจังหวัดเพื่อช่วยเหลือประชาชนของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นการท้าทายอำนาจรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
* (ในความหมายก็คือ รัฐบาล = ประชาธิปไตย – แต่การทรงงานของในหลวง คือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พยายามแทรกแซงประชาธิปไตย)
นี้แค่ตัวอย่างใหญ่ ๆ ที่ “พุ่งเป้า” เพื่อสร้างความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆ ที่อำนาจทั้งหมดในขณะนั้นอยู่กับกลุ่มคณะราษฎรทั้งสิ้น
ถ้าสถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์มีอำนาจจริง / มีหรือที่รัชกาลที่ 7 จะทรงพกปืนสั้นติดตัวไว้ตลอด และเสด็จหนีลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ
มีหรือที่บรรดาเชื้อพระวงศ์หลายท่าน จะถูกจับขังคุก และถูกขับไล่ให้ออกจากแผ่นดินไทย
…
ศ.ดร. ไชยันต์ ได้นำข้อผิดพลาดในวิทยานิพนธ์ที่พบในหลายประเด็น เสนอต่อจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จนนำไปสู่การระงับการเผยแพร่ แม้วิทยานิพนธ์ถูกระงับการเผยแพร่ - แต่นายณัฐพล ก็ยังคงขายหนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ซึ่งก็คือร่างทรงวิทยานิพนธ์ที่มีปัญหานั้นเอง และเมื่อหนังสือขอฝันใฝ่ฯ กำลังจะเป็นปัญหาตามไปด้วย - นายณัฐพลจึงแปลงร่างอีกครั้ง ด้วยการทำหนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี มาออกอีกเล่ม
การตรวจสอบของ ศ.ดร.ไชยันต์ สร้างกระแสร้อนแรงไปทั่วแวดวงวิชาการ ทำให้คณะอาจารย์จำนวนกว่า 279 คน กระโดดออกมาปกป้องนายณัฐพล
279 นักวิชาการ : รุม 1 (ไชยันต์) เหมือนเข้าลักษณะสำนวน “อาจารย์หมู่” อย่างน่านับถือ
หรือ ? แท้จริงแล้วการปกป้องวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ก็คือการปกป้องวิทยานิพนธ์ของตัวเอง ใครจะไปรู้วิทยานิพนธ์อีกนับ 279 เล่ม อาจจะมีข้อผิดพลาดใส่ไข่ มากกว่าเล่มของนายณัฐพลก็ได้
…
หลังจากนั้น ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ซึ่งเป็นหลานปู่ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้ฟ้องร้องนายณัฐพล ใจจริง ในข้อหาใส่ร้าย หมิ่นประมาท และสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล ด้วยจำนวนเงิน 50 ล้านบาท
ซึ่งขณะนี้คดีความกำลังอยู่ในศาล .. คงต้องใช้เวลาสืบสวนและพิจารณา
แต่ที่น่าสนใจ กังขา และถามหาก็คือ ทางคณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วยการมี “คำสั่งลับ” ตั้ง “ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลาง” ขึ้นมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ เมื่อเดือน มีนาคม 2564 - เสร็จเรียบร้อยแล้ว มิใช่หรือ ?
นับจากมีนาคม 2564 .. จนบัดนี้ มีนาคม 2567
3 ปีแล้ว ทำไมถึงยังไม่มีการประกาศผลสอบสวนออกมา ? จะดึงดันยืดเยื้อช่วยเหลือนายณัฐพล หรือจะรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิของ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ?
หรือที่แท้การเมืองภายในจุฬาลงกรณ์ ฯ ก็มิได้สะอาดโปร่งใส หรือและอาจจะเปรอะเปื้อนยิ่งกว่าการเมืองระดับชาติด้วยซ้ำ ?
เราจะคอยติดตามข่าวการประกาศผลตรวจสอบของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย > แม้อธิการบดีจะตายไปแล้วกี่รุ่นก็ตาม
รุ่นเหลนของเรา จะต้องได้คำตอบนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 51: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 40): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 39): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร