วาระเร่งด่วนก้าวไกล ยื่นปธ.สภาฯ ตั้งกมธ.ศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรธน. คดีล้มล้างการปกครอง


‘ก้าวไกล’ ยื่นญัตติด่วน ‘ปธ.สภาฯ‘ ตั้ง ’กมธ.วิสามัญศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ-ขอบเขตอำนาจนิติบัญญัติ‘ ด้าน ‘ชัยธวัช‘ หวัง ถูกบรรจุลงวาระโดยเร็วที่สุด เหตุ มีผลโดยตรงต่อ ’สส.-สมาชิกรัฐสภา‘ ยัน ไม่กระทบต่อคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้นแล้ว-ไม่เกี่ยวกับการละเมิดศาล

6 มี.ค.2567 - เมื่อเวลา 14.45 น. ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อม สส.ของพรรคก้าวไกล ยื่นหนังสือถึงนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอญัตติด่วน ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและขอบเขตอำนาจนิติบัญญัติ สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 หรือคดีลบล้างการปกครองของพรรคก้าวไกล ซึ่งมีคำวินิฉัยฉบับเต็มประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ก.พ.ที่ผ่านมา

โดยพรรคก้าวไกล เห็นว่า มีประเด็นบางประการที่กระทบกับการทำหน้าที่ และการปฎิบัติงานของ สส. รวมถึงสมาชิกรัฐสภา อย่างมีนัยสำคัญ จึงจำเป็นจะต้องเสนอญัตติด่วน เพื่อเสนอญัตติด่วน ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและขอบเขตอำนาจนิติบัญญัติ กรณีตรวจสอบการกระทำของ สส. หรือสมาชิกรัฐสภา ในการดำเนินการทางนิติบัญญัติ ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 และคำวินิจฉัยอื่นๆ

เนื่องจากในการกล่าวหา ว่าการเสนอแก้ไขร่างกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของ สส.พรรคก้าวไกลนั้น เป็นการล้มล้างการปกครอง ซึ่งมีประเด็นหนึ่งที่ทางพรรคก้าวไกล ได้โต้แย้งข้อกล่าวหาไว้ว่า การเสนอแก้ไขร่างกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ใช่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ที่ปรากฏในคำร้อง

แต่การเสนอร่างกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นฉบับใด เป็นอำนาจของ สส.ตามกระบวนการนิติบัญญัติ และการเสนอร่างกฎหมาย ไม่สามารถเป็นการล้มล้างการปกครองได้ เพราะรัฐกำหนดให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจการตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติ ทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้อยู่แล้ว แต่ปรากฏว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการตีความขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้ว่า แม้การเสนอร่างกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎรเป็นวิธีการทางรัฐสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจโดยตรงในการเสนอกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจที่จะตรวจสอบและวินิจฉัยว่า การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ จะส่งผลต่อความชัดเจนของขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็น สส. หรือสมาชิกรัฐสภา

ดังนั้น เราจึงเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรควรจะพิจารณาโดยเร่งด่วนในการเสนอญัตติด่วน ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและขอบเขตอำนาจนิติบัญญัติ กรณีการตรวจสอบการกระทำของ สส. รวมถึงคำวินิจฉัยของศาลก่อนหน้านี้ เช่น คำวินิจฉัยที่ 15-18/2566 (ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ), คำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 และที่ 4/2564 (เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนกระทบต่อสมดุลและดุลยภาพอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ อย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลหวังว่า จะสามารถบรรจุเป็นญัตติด่วนได้โดยเร็วที่สุด เนื่องจากเราเห็นว่า ควรจะเร่งด่วน เพราะคำวินิจฉัยขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลโดยตรงทำให้ สส.และสมาชิกรัฐสภา ไม่ความชัดเจนแน่นอน ว่าอะไรที่ทำได้หรือทำไม่ได้ และอะไรที่สามารถถูกตีความ หรือถูกตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญได้มากกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว และเรื่องนี้เป็นเพียงญัตติเพื่อเสนอให้มีการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้กระทบต่อคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้นแล้ว และไม่ได้เกี่ยวกับการละเมิดศาลใดๆ ทั้งสิ้น

ด้าน นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า จะรับญัตติดังกล่าวไปให้ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ตรวจสอบขอบเขตของอำนาจประธานสภาฯ และวิธีการดำเนินงานต่อไป โดยไม่ให้ขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อบังคับต่างๆ และจะดำเนินการตามที่พรรคต้องการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2

จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง

ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง

ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง