ศาลปกครองเปิดไทมไลน์ชัดๆ เรื่องพิพาทที่ดินจุฬาฯ-อุเทนถวาย

ศาลปกครองชี้ปัญหาพิพาทจุฬาฯ-อุเทนถวาย ศาลไม่เคยมีคำสั่งบังคับคดี แนะยุติด้วยนโยบายรัฐบาลต้องชัดเจน 2 ฝ่ายร่วมตกลง

06 มี.ค.67 - ที่สำนักงานศาลปกครอง นายประวิตร บุญเทียม ประธานแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นในชั้นปกครองสูงสุด ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งรองประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หรืออุเทนถวาย ว่า ศาลปกครองไม่ได้มีคำพิพากษาโดยการบังคับ ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2549 ที่ กำหนดไม่ให้หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐฟ้องศาล แต่ให้ส่งเรื่องต่อสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อนำเข้าคณะกรรมการชี้ขาดคดีทางแพ่ง ซึ่งมีผู้แทนส่วนราชการหลายหน่วยงาน เมื่อมีผลการวินิจฉัยแล้วก็ให้เสนอให้ ครม.ทราบ และให้ส่วนราชการนั้นปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามก็ต้องเสนอ ครม. ดังนั้น กรณีข้อพิพาทระหว่างจุฬาฯ จึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้ และมีการแจ้งผลวินิจฉัยเมื่อปี 2553 ที่ให้อุเทนถวายขนย้าย และส่งมอบพื้นที่คืนแก่จุฬาฯ พร้อมชำระค่าเสียหาย 1,140,900 บาท ตั้งแต่ ปี 2549 จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่คืน แต่ด้วยเหตุขัดข้องต่างๆ ก็ยังไม่ได้มีการปฏิบัติตามมติกรรมการชุดดังกล่าว จนทางอุเทนถวาย เห็นว่า คำวินิจฉัยกรรมการนี้ไม่ถูกต้อง จึงมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อปี 2556 โดยอุเทนถวายเป็นผู้ฟ้องกรรมการชี้ขาดฯ พ่วงฟ้องจุฬาลงกรณ์ฯ โดยต้องการให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยกรรมการชุดนี้

“เมื่อศาลปกครองพิจารณาก็ยกฟ้อง เพราะเห็นว่าคำวินิจฉัยนั้นถูกต้องแล้วโดยดูจากข้ออ้าง ข้อถกเถียงต่างๆ เช่น ข้อที่อ้างว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชทานให้อุเทนถวายเมื่อ ปี 2466 แต่ศาลเห็นว่า ไม่ปรากฎหลักฐานเรื่องนี้แต่เป็นเพียงปรากฎว่า เป็นการพระราชทานเงิน 1 หมื่นบาท เพื่อสร้างโรงงานนักเรียนเพาะช่าง ไม่ได้เห็นว่าเป็กการพระราชทานให้อุเทนถวาย ส่วนเหตุผลอื่นๆ เห็นว่า มีการโอนทรัพย์สินให้กับจุฬาลงกรณ์ฯ ในปี 2482 และเหตุผลที่ 3 ซึ่งฟังได้ว่า คู่กรณี มีการตกลงกันเมื่อ 2547 ว่า ทางอุเทนถวายจะย้ายออกจากพื้นที่ภายในปี 2548 ถ้าจำเป็นก็ขยายเวลาได้ แล้วก็จ่ายตอบแทนปีละ 1,140,900 บาท”

นายประวิตรกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ ศาลปกครองจึงยกฟ้อง เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของกรรมการชี้ขาดฯ นั้นชอบแล้ว ผลของเรื่องนี้ศาลไม่ได้ออกข้อบังคับ แค่ยืนยันคำวินิจฉัยของคณะกรรมการชี้ขาดแล้วและศาลเห็นด้วย ส่วนจุฬาฯ จะมาร้องขอให้ศาลบังคับไม่ได้ เพราะตามกฎหมายศาลทำไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกอย่างต้องเดินหน้าตามนี้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล และการตกลงกันของทั้งจุฬาลงกรณ์ฯ และอุเทนถวาย ดังนั้นคำถามที่ว่า ขอให้ศาลบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่มี และสั่งไม่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม