ชวนมองประเทศ หลัง'ทักษิณ'พักโทษ รู้เท่า(ทัณฑ์) กลการเมือง เปิดแผลแผนบริหารโทษ และปิดทางโมเดล 'ทัณฑ์ทิพย์'
ในจำนวนผู้ต้องราชทัณฑ์ 930 คน (**เสนอขอพิจารณา 945 คน) ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพักโทษให้ได้รับสิทธิ์พักโทษตามกฎหมายราชทัณฑ์มาตรา 52 มีรายชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นหนึ่งในนั้น กล่าวคือ นายทักษิณเป็นผู้เข้าคุณสมบัติรับโทษมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ใน 3 / เจ็บป่วยร้ายแรง พิการ มีอายุเกิน 70 ปี ท่ามกลางข้อเคลือบแคลงใจของสังคมหลายประเด็น และสัญญาณไม่ยินยอมต่อความคลุมเครือนี้ในรูปแบบต่างๆ
โดยหากย้อนเส้นทางสู่วิถีทัณฑ์ของนายทักษิณ นับตั้งแต่ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศในรอบ 17 ปี เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย ทั้งที่ระหว่างพำนักต่างแดนแสดงท่าทีไม่ยอมรับมาตลอด ต่อเนื่องสู่กระบวนการบริหารโทษที่ไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว โดยมีสิทธิผู้ป่วยป้องกันการเปิดเผยข้อมูล กระทั่งได้รับสิทธิ์พักโทษ เข้าเกณฑ์ไม่ต้องติดกำไลอีเอ็ม ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกตั้งข้อสังเกตว่า นี่คือ โมเดลการใช้อำนาจเป็นตั๋วผ่านหมุดยุติธรรมที่ ‘มีการออกแบบมาแล้ว’ (ซึ่งแม้ว่าจะมีคดีตาม ม.112 จ่ออายัดตัวต่อคดี ก็ไม่น่าจะเป็นผลบวกลบต่อการรับโทษนัก) ทั้งยังมีโอกาสใช้โมเดลนี้กับนักโทษการเมืองระดับนายกรัฐมนตรีหากต้องโทษในอนาคตอีกหรือไม่ ในแง่หนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นยังสะท้อนว่า เราเดินมาถึงจุดที่หลักนิติธรรมสามารถบิดเบี้ยวได้ หากสอดคล้องกับจุดประสงค์ทางการเมืองของผู้ที่อยู่ในอำนาจแล้วหรือไม่ ? หรือนี่จะเป็นแนวทางที่เอนอ่อนต่อปัญหาความขัดแย้งที่ฝังรากลึกมานาน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทิศทางการเมืองหลังนายทักษิณได้รับการพักโทษก็ถูกจับตาเป็นพิเศษ ไม่เฉพาะในไทย สื่อต่างประเทศหลายสำนักก็วิเคราะห์และรายงานอย่างหลากหลาย โดยมุ่งเป้าไปที่พรรคเพื่อไทย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร และนายเศรษฐา ทวีสิน ตลอดจนความเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ยากเกินกว่าจะคาดเดาได้ แล้วอะไรบ้างที่น่าจะเกิดขึ้น และจะส่งผลต่อการเมืองวิถีไทยอย่างไร
ทั้งหมดนี้ คือประเด็น ‘ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์’ ที่สำนักข่าวไทยโพสต์ จะหยิบยกมาต่อยอดสู่กิจกรรมเปิดบ้านเสวนาจิบชายามบ่าย ที่มีชื่อว่า ทอล์ก ออฟ เดอะ ที ในตอน... จากทัณฑ์ทิพย์ สู่ทิศทาง(การเมือง)ไทย ด้วยความตั้งใจที่จะเปิดพื้นที่ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดสื่อสารสร้างความเข้าใจต่อสังคม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรมากประสบการณ์ 3 ท่าน ได้แก่
- คุณจตุพร พรหมพันธุ์
วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน
- ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
- คุณนันทิวัฒน์ สามารถ
อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ดำเนินรายการโดย : สำราญ รอดเพชร
คลิ๊กเพื่อลงทะเบียนร่วมงาน : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfiDH7_MVFj7BfdCgsCiJOERqkPVX9TBAHmD3PwLJjv-kV63Q/viewform?usp=sharing
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา