‘อาจารย์หมอจุฬาฯ’ แนะการเลือกใช้หน้ากากอนามัย ป้องกันโอมิครอน

‘รศ.นพ.ธีระ’ ชี้หน้ากากผ้าอย่างเดียว ประสิทธิภาพน้อยป้องกันโอมิครอน แนะต้องใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใส่ไว้ด้านใน ผู้ทำงานเสี่ยงใกล้ชิดคนจำนวนมากต้องใช้หน้ากาก N95 ย้ำไม่จำเป็นยหลีกเลี่ยงขนส่งสาธารณะ

27 ธ.ค.2564- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง “ว่าด้วยเรื่องหน้ากาก…” ระบุว่า หน้ากากผ้าอย่างเดียวจะมีประสิทธิภาพน้อยในการป้องกันการแพร่เชื้อติดเชื้อในยุค Omicron ที่แพร่ได้ไว จำเป็นต้องเน้นย้ำให้เลือกใช้หน้ากากให้เหมาะสม คนที่มีงานเสี่ยง ต้องทำงานใกล้ชิดคนจำนวนมาก การใช้หน้ากาก N95 หรืออื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงย่อมดีกว่า แต่ในประชาชน ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใส่ไว้ด้านใน และสวมหน้ากากผ้าทับไว้ด้านนอกเพื่อให้หน้ากากอนามัยด้านในแนบชิดกับใบหน้ามากขึ้น

การเดินทางขนส่งสาธารณะ รัฐควรจัดบริการดังนี้ หนึ่ง ตรวจ ATK ให้แก่พนักงานประจำรถ/รถไฟ/เครื่องบิน และประชาชนที่จะเข้าใช้บริการเดินทาง สอง แจกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์แก่ประชาชนที่ไม่มีหรือมีแต่หน้ากากผ้า และให้สวมให้ถูกต้องต่อหน้าพนักงานประจำรถ/รถไฟ/เครื่องบิน ก่อนเดินทาง สาม แนะนำให้เลี่ยงการกินดื่มทุกชนิดระหว่างเดินทาง สี่ แนะนำให้ระมัดระวังเรื่องการใช้สุขา ล้างมือเสมอทั้งก่อนและหลังใช้สุขา และใส่หน้ากากเสมอ ห้า แนะนำให้เลี่ยงการพูดคุยที่ไม่จำเป็น หก แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติหลังจากเดินทางถึงที่หมาย หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้นึกถึงโควิดและรีบไปตรวจ

“ป.ล. บอกตรงๆ ว่า หากไม่จำเป็น ควรเลี่ยงการเดินทางขนส่งสาธารณะ ไปเท่าที่จำเป็นจริงๆ และหากดูแล้วคนเยอะ แออัด ไม่ควรเสี่ยงเลยครับ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า