6 ก.พ.2567 - นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายนัสที ทองปลาด ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ว่าภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอท. และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีหนังสือแจ้งการขออายัดตัวนายทักษิณ เนื่องจากคดีคงค้างเดิม ซึ่งตนได้รับการยืนยันจาก ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนปากคำนายทักษิณเรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
นายสหการณ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีหนังสือตอบกลับจากตำรวจ ปอท. ไปยังผู้ร้องเมื่อวันที่ 18 ต.ค.66 นั้น อาจจะเพราะว่าในตอนนั้นพนักงานอัยการยังไม่ได้รับการประสานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีระหว่างการอายัดตัวผู้ต้องขังทาง ผบ.เรือนจำฯ จะไม่ได้มีการรายงานมาที่กรมราชทัณฑ์ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจและอัยการเจ้าของคดีในการสอบสวนปากคำ อีกทั้งหนังสือขออายัดตัวผู้ต้องขังถือเป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องของข้อตกลงระหว่างตำรวจและกรมราชทัณฑ์
นายสหการณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ต้องหาที่ถูกศาลมีคำพิพากษาตัดสินคดีไปเรียบร้อยแล้ว และถ้าในระหว่างนั้นยังมีการพิจารณาในคดีอื่น ทางตำรวจก็จะแจ้งการอายัดขอตัวผู้ต้องหาไปที่เรือนจำฯ เพื่อให้เรือนจำฯ รู้ว่าถ้าครบวันจะปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือได้รับการพักโทษ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรู้ก่อน ซึ่งทางเรือนจำฯ จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้รับทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปรับตัวผู้ต้องหานำส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการในคดีที่ขออายัดตัว ส่วนหากจะมีการขอประกันตัวใดๆ ก็เป็นไปตามกระบวนการ
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าเรื่องพิจารณารายชื่อผู้ต้องขังที่ผ่านเกณฑ์โครงการพักการลงโทษทั้งในกรณีปกติและกรณีมีเหตุพิเศษ นายสหการณ์ กล่าวว่า เรื่องรายชื่อผู้ต้องขังทั่วประเทศที่เข้าเกณฑ์จะได้รับการพักการลงโทษไม่ว่ากรณีปกติ หรือกรณีมีเหตุพิเศษ ทราบว่าได้มีการประชุมไปเรียบร้อยแล้วเมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้รับจำนวนรายชื่อผู้ต้องขังหลายพันราย จากทั้งหมด 143 เรือนจำทั่วประเทศ ขณะนี้รายชื่อทั้งหมดอยู่ในชั้นของกรมราชทัณฑ์ เพื่อเตรียมเสนอไปยังคณะกรรมการพิจารณาพักการลงโทษ จากนั้นจึงจะนำเสนอไปยังชั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งแต่ละขั้นตอนค่อนข้างมีความละเอียด เพราะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้ต้องขังให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ควรได้รับ
นายสหการณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนยังไม่สามารถให้คำยืนยันได้ว่ารายชื่อของนายทักษิณ อยู่ในเกณฑ์ผ่านเข้าโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษหรือไม่ เนื่องจากยังต้องรอให้ผ่านกระบวนการของคณะกรรมการฯ แต่หากพูดตามหลักการ อดีตนายกรัฐมนตรีถือเป็นผู้ต้องขังสูงวัย มีอาการเจ็บป่วย และรับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 แต่อย่างไรคณะกรรมการฯ ก็จะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และถ้ารายชื่อได้รับการรับทราบในชั้นกระทรวงยุติธรรม ก็จะต้องมีการแจ้งไปยังตำรวจ ปอท. เพื่อให้ดำเนินการเข้าอายัดตัวผู้ต้องหาในสถานที่คุมขังได้
เมื่อถามว่ารายชื่อของผู้ต้องขังทั้งหมดที่จะได้รับสิทธิพักโทษ ทางกรมราชทัณฑ์จะดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จและส่งไปยังคณะกรรมการพักการลงโทษเพื่อพิจารณา จะเสร็จสิ้นทันภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้หรือไม่ นายสหการณ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าไม่น่าจะใช้เวลานานมากเพราะจะต้องคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ต้องขังที่ควรได้รับ ซึ่งหากครบกำหนดโทษในวันใดก็ควรได้รับการปล่อยตัวในวันถัดไปจากวันครบกำหนดคุมขัง ส่วนกรณีที่แวดวงทางการเมืองมีการวิเคราะห์ว่าวันที่ 18 ก.พ. หรือวันที่ 22 ก.พ. จะเป็นวันที่อดีตนายกรัฐมนตรีจะได้รับการปล่อยตัวเพราะผ่านเข้าโครงการพักโทษนั้น โดยปกติแล้ว เรือนจำและทัณฑสถาน จะมีการพิจารณาล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าโครงการพักการลงโทษได้ถึง 3 เดือน เพราะเราต้องการให้ผู้ต้องขังไม่เสียประโยชน์ในการที่เขาจะได้พักโทษ และพอครบเวลาคุมขังแล้ว วันถัดไปก็สามารถปล่อยตัวเข้าสู่กระบวนการพักการลงโทษโดยกรมคุมประพฤติจะต้องรับไปดูแลต่อ
ส่วนเรื่องการติดกำไล EM ผู้ต้องขังระหว่างพักโทษ ตนทราบว่ากรมคุมประพฤติจะมีข้อปฏิบัติหลายประเด็นที่จะต้องประเมิน เช่น ถ้าผู้ต้องขังเจ็บป่วยร้ายแรง และดูแล้วไม่อยู่ในภาวะที่จะไปก่อความผิด หรือเป็นผู้สูงอายุ ที่ดูแล้วไม่สามารถไปสร้างปัญหาได้ ก็อาจเป็นข้อยกเว้นไม่ให้มีการติดกำไล EM แต่ในเรื่องการกำหนดรัศมีการเดินทางของผู้ต้องขัง กรมคุมประพฤติ จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนใด และแน่นอนว่าผู้ต้องขังจะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ในช่วงระหว่างการพักโทษ
ส่วนในเรื่องการเดินทางข้ามจังหวัด กรมคุมประพฤติก็จะเป็นผู้กำหนด โดยต้องควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา และต้องกำหนดสิ่งที่ผู้ต้องขังต้องปฏิบัติ ส่วนถ้าหากผู้ต้องขังจะไปออกรายการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งนั้นจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรหรือไม่ กรมคุมประพฤติต้องไปประเมิน แต่ผู้ต้องขังจะต้องขออนุญาตก่อน เพราะแม้ได้รับการพักโทษ ก็ยังเป็นผู้ต้องขังตามคำพิพากษาของศาล และห้วงเวลาเสร็จสิ้นการพักโทษก็ให้นับไปจนถึงวันที่ผู้ต้องขังจะพ้นโทษ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าไทยเมื่อวันที่ 22 ส.ค.66 จากนั้นได้รับพระราชทานอภัยลดโทษ 1 ปี และได้รับการคุมขังมาแล้ว 6 เดือน ที่เหลือหลังจากนี้ก็จะเป็นระยะเวลาที่ต้องใช้คำนวณในการพักโทษที่เหลือ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
'นิพิฏฐ์' เฉลย 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยเป็นไปได้ 'ทักษิณ' ไม่ได้พูดเล่นๆ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เปิดเผยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯหนีคดีทุจริตจำนำข้าว อาจจะกลับประเทศไทยก่อนสงกรานต์ปีหน้า ว่า ระบุว่า
เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14
นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก