6 ก.พ. 2567 – นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โพสต์ถึงกรณีอดีตแกนนำพรรคก้าวไกลที่พาดพิงคดีพันธมิตรฯ บิดเบือนจากความเป็นจริง
ต่อกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และนายปิยบุตร แสงกนกกุล ได้พาดพิงคดีการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กรณีศาลแขวงดุสิตมีคำพิพากษาตัดสินคดีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและอดีตแกนนำพรรคอนาคตใหม่ รวมจำเลย 8 คนได้ทำกิจกรรมชุมนุมไม่ถอยไม่ทนของเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562 โดยศาลแขวงดุสิตพิพากษาว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ จัดการชุมนุมในระยะไม่เกิน 150 เมตรจากพระราชวัง พิพากษาลงโทษจำคุก 4 เดือน ปรับคนละ 10,000 บาท โดยให้รอลงอาญา 2 ปีและศาลปรับในคดีพินัย ฐานไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่เป็นเงินคนละ 10,000 บาทและฐานใช้เครื่องขยายเสียงอีก 200 บาท
เรื่องการอุทธรณ์ก็ว่ากันไป…
แต่การกล่าวให้สัมภาษณ์พาดพิงไปเปรียบเทียบกับคดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายครั้ง ที่ศาลอาญาตัดสินให้ปรับ 20,000 บาท เสมือนว่ามีความไม่เป็นธรรม ซึ่งความจริงเป็นคนละเรื่องกันและเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย
ประการแรก มีการบิดเบือนหลายครั้งจนถึงปัจจุบันว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตร) “ปิดสนามบิน” แต่การต่อสู้คดีหลายปีติดกัน ทำให้ศาลเห็นว่าพันธมิตรฯไม่ได้เป็นผู้ปิดสนามบินเลย
เพราะการชุมนุมในพื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ฝั่งภาคพื้นดิน (Land Side) ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบิน (Air Side)ใดๆเลย และการสืบจนได้ข้อยุติทั้งทางเทคนิกและกายภาพทั้งหมดก็มาจากการซักค้าน ”พยานโจทก์“ ทั้งสิ้น จึงควรเลิกบิดเบือนดังที่พยายามทำกันมาหลายปีได้แล้ว
ประการที่สอง การชุมนุมของพันธมิตรฯ พิสูจน์จากเนื้อหาของการชุมนุมว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเป็นการทำหน้าที่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้างคดีทุจริตคอร์รัปชั่นในสมัยรัฐบาลทักษิณ ปกป้องอธิปไตยของชาติ และต่อต้านการทุจริตซื้อเสียงโกงการเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชน ซึ่งกาลเวลาผ่านมาได้พิสูจน์ด้วยคำพิพากษาศาลฎีกาว่า ”เนื้อหา“ ที่ต่อสู้ดังกล่าวเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น ซึ่งรวมถึงการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้สารภาพสำนึกผิดของนักโทษชายเด็ดขาดทักษิณ ชินวัตร ว่าได้กระทำผิดจริงด้วย การชุมนุมจึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นการชุมนุมของพันธมิตรฯจึงใช้สิทธิ และทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญด้วย “วิธีการ” ชุมนุมสาธารณะ ซึ่งเป็น “เสรีภาพ”ที่กำหนดเอาไว้ในมาตรา 63 ซึ่งหากจะมีการจำกัดขอบเขตของเสรีภาพในการชุมนุมและปราศจากอาวุธ หรือการลงโทษผู้ชุมนุมนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้ “มีกฎหมายเฉพาะการชุมนุมสาธารณะ”เท่านั้นจึงจะจำกัดขอบเขตได้ ซึ่งในขณะนั้นในปี 2551 ยังไม่มีกฎหมายชุมนุมสาธารณะใดๆ จะอาศัยกฎหมายฉบับอื่นมาลงโทษผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธไม่ได้ ประเด็นนี้ก็เป็นข้อกฎหมายเช่นกัน
ต่างจากในปัจจุบันที่มีการตราพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ พุทธศักราช 2558 แล้ว ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการการชุมนุมอย่างละเอียดว่าสิ่งใดทำได้และทำไม่ได้ มีบทลงโทษอย่างไร ใครละเมิดก็ผิดกฎหมาย ใครทำถูกต้องตามกระบวนการก็ย่อมต้องถูกต้องตามกฎหมาย
ประการที่สาม อย่าคิดว่าคดีของพันธมิตรฯจะชนะเสมอไป เพราะคดีการชุมนุมเข้าไปในสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที การเข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล ศาลฎีกาก็ลงโทษจำคุกแกนนำไปแล้วเช่นกัน เช่นเดียวกับคดีความแพ่งที่สั่งให้ยึดทรัพย์แกนนำฯ ดังนั้นพันธมิตรฯจึงไม่ได้อภิสิทธิ์ใดๆ และเราก็ยังคงเคารพใช้สิทธิต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่เคยงอแงโวยวาย ทำผิดก็พร้อมรับผิดไปตามระบวนการยุติธรรม
ประการที่สี่ ผมเองเคยมีประสบการณ์ถูกดำเนินคดีความในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในข้อหายื่นหนังสือเรียกร้องความเป็นธรรมต่อประชาชนเรื่องกฎหมายปิโตรเลียม ที่หน้ารัฐสภา (เดิม)ว่าอยู่ในรัศมี 150 เมตรจากพระราชวังเช่นกัน และถูกดำเนินคดีในอีกข้อหาว่าชุมนุมโดยไม่ได้อนุญาตในกรณีความเข้าไปยื่นหนังสือเรื่องการเรียกร้องการปฏิรูปพลังงานที่หน้าทำเนียบรัฐบาลไม่ได้ แปลว่ากฎหมายเหล่านี้ไม่ได้เลือกปฏิบัติเฉพาะพรรคก้าวไกล
แต่คนอื่นก็สามารถถูกดำเนินคดีนี้ได้ตาม แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะดำเนินคดีใครในข้อหานี้อย่างไม่มีความระมัดระวัง
โดยทั้ง 2 คดีที่ผมถูกฟ้องร้องนั้น หลายคนคิดว่าผมไม่น่าจะชนะได้ ผมก็แสดงหลักฐานซักค้านด้วยตัวเองอยู่นานจนชนะคดีความ แต่อัยการก็ยังไม่ยอมและได้อุทธรณ์ต่อผมก็ต่อสู้จนชนะอีก อัยการก็ไม่สามารถยื่นฎีกาต่อได้ ผมเห็นว่าทีมทนายที่ต่อสู้เรื่องนี้เองต่างหากที่ยังอ่อนประสบการณ์และสู้ไม่ถูกประเด็น และบางประเด็นก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะจริงตามที่กฎหมายกำหนด
เพราะเมื่อมี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผมก็ได้มีการแจ้งและดำเนินการตามกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วย และไม่ใช่เรื่องยากเลยด้วย แล้วพวกคุณได้ทำหรือเปล่า
ผมว่าเอาจริงๆนะ แทนที่จะใช้เวลามาสัมภาษณ์มั่วๆ บิดเบือนจากความจริงซึ่งทำได้แค่ปลุกระดมแต่ก็ไม่สามารถชนะคดีได้อยู่ดี ลองใช้เวลากลับไปอ่านคำพิพากษาแต่ละคดีย้อนหลังว่าเขาแพ้หรือชนะด้วยการต่อสู้อย่างไร น่าจะทำให้เพิ่มพูนปัญญาและเกิดประโยชน์กว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอธีระวัฒน์' เผยปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งใหม่ ใน ม.รังสิต
ศ.ดร.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โพสต์ข้อความผ่านเฟศบุ๊ก ระบุว่า หมอปัจจุบันนี้ อยู่ในตำแหน่งนี้ครับ แต่งตั้งเป็นทางการจากท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต
ชี้ กฎหมายกัญชา ฉบับใหม่ล็อกสเป็กเอื้อนายทุนโรงพยาบาล เปิดชื่อคนดังมีเอี่ยวเพียบ
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยว่า ร่างประกาศ
สายเขียวบุกสธ. สมศักดิ์ยืนกราน เป็น‘ยาเสพติด’
"ปานเทพ-หมอธีระวัฒน์-รสนา" นัดยื่นหนังสือถึง รมว.สธ. 16 ก.ค.นี้
'ปานเทพ' ค้านนำช่อดอกกัญชา-กัญชงเป็นยาเสพติด ชี้กระทบผู้ป่วย เกษตรกร แพทย์แผนไทย
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมก
ลุ้นระทึก ! 'ปานเทพ' เผย 1 ก.ค. ปปส.ถือธงฝ่ายการเมือง เสนอกัญชากลับเป็นยาเสพติด
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่าพิจารณาตามตารา
'ปานเทพ' ชำแหละผลวิจัยด้อยค่ากัญชา หลังกล่าวหาการปลดล็อก ทำให้จำนวนผู้ป่วยจิตเวชพุ่ง
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นต่อผลวิจัย บางส่วนที่เปิดเผ