1 ก.พ.2567 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ข้อเสนอทางกฎหมายที่พอเป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน"
รัฐธรรมนูญ คือ ระบบความสัมพันธ์ทางอำนาจขององค์กรต่างๆในรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ ประมุขของรัฐ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลรัฐธรรมนูญ ศาล
การต่อสู้กับศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจล้ำแดนองค์กรอื่นๆ ต้องให้องค์กรที่ถูกล้ำแดนใช้อำนาจโต้กลับไป เช่นใช้อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไข พ.ร.ป. แก้ไข พ.ร.บ. ต่างๆ
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนี้ ผู้แทนราษฎร พรรคการเมือง ยังพอหลงเหลืออำนาจทำอะไรได้บ้างในเวลานี้
1. แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ตีกรอบอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ให้รวมถึงการใช้อำนาจของรัฐสภาและการเสนอร่างกฎหมาย
2. แก้รัฐธรรมนูญ กำหนด ห้ามมิให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าแทรกแซง สกัดขัดขวาง กระบวนการนิติบัญญัติ เว้นแต่กรณีการตรวจสอบว่าร่างพ.ร.บ.ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ภายหลังจากรัฐสภาให้ความเห็นชอบและยังไม่ทูลเกล้าฯ
3. แก้รัฐธรรมนูญและ พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ ตีกรอบและจำกัดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
4. แก้ พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ ยกเลิกความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
5. แก้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนองค์ประกอบและที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
6. แก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้องค์กรอื่นทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญแทน
7. หากอ่านจากคำบังคับของศาลรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่า ศาลสั่ง ดังนี้
หนึ่ง สั่งการให้พรรคก้าวไกลและพิธา เลิกแสดงความเห็น เพื่อให้มีการยกเลิก 112
สอง ไม่ให้มีการแก้ไข 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ ซึ่งคำนี้น่าจะอนุมานจากคำวินิจฉัยนี้ได้ว่า ห้ามแก้ใน 3 ประเด็นที่ศาลบอกว่าเป็นการล้มล้างฯ ได้แก่ ห้ามย้ายหมวด, ห้ามกำหนดเหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ, ห้ามกำหนดให้ยอมความได้ และห้ามกำหนดให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ
ดังนั้น ศาลไม่ได้มีคำบังคับสั่งห้ามแก้ 112 โดยเด็ดขาด ยังคงเสนอแก้ 112 ในประเด็นอื่นได้ เช่น ลดโทษจำคุก ยกเลิกโทษขั้นต่ำ จำคุก 3 ปี แยกฐานความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย ออกจากกัน กำหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือ คณะกรรมการพิเศษ ทำหน้าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษคดี 112
เป็นต้น
แน่นอน อาจกล่าวกันว่าไม่มีทางสำเร็จ จะไปหาเสียงข้างมากจากไหน จะผ่านด่าน สว.หรือไม่ และสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญก็จะขวางอีก แต่อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ที่ฝากเอาให้ผู้แทนราษฎรใช้แทน ก็มีพลังและสามารถแสดงบทบาทตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญได้
การนิ่งเฉย ไม่ทำอะไรกับศาลรัฐธรรมนูญเลย ก็จะทำให้การเมืองไทยวนลูป และปล่อยให้พวกเขา “ขีดวง” อำนาจของประชาชนและผู้แทนราษฎรให้น้อยลงหดแคบไปเรื่อยๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ชัยธวัช’ จี้อย่าปัดตกนิรโทษกรรม หวั่นเว้น ม.112 คลี่คลายขัดแย้งไม่จริง
อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หวังสภาสมัยหน้าเปิดกว้างถกร่างนิรโทษกรรมทุกฉบับ ถามกลับหากเว้น ม.112 จะถึงเป้าหมายสมานฉันท์หรือไม่ ยกกรณี ‘พอล แชมเบอร์ส’ สะท้อนปัญหาตัวบท–การบังคับใช้ หวั่นซ้ำเติมคดีการเมืองให้แย่ลง
อดีตบิ๊กข่าวกรอง เตือนสหรัฐดูแลคนอเมริกันต้องไม่เกินเลย จนกระทบความรู้สึกคนไทยที่จงรักภักดี
กรณีที่ ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการสัญชาติอเมริกัน ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลก ดำเนินคดีและขอศาลจังหวัดพิษณุโลกอนุมัติหมายจับในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
'อ.ไชยันต์' มั่นใจไม่มีปัญหาลักษณะต้องห้าม สมัครตุลาการศาลรธน.คนใหม่
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้มีการปิดรับสมัครไปเมื่อ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา
'ดร.นิว' ถามดังๆ สหรัฐอยู่เบื้องหลัง 'พอล แชมเบอร์ส' หรือไม่
กรณี ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการสัญชาติอเมริกัน ถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
'ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ' อ้างหมายจับคดี 112 ทำอำนาจต่อรองไทยน้อยลง ซื้อเครื่องบิน F-16 ยากขึ้น
นายฟูอาดี้ พิศสุวรรณ อดีตที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของพรรคก้าวไกล และบุตรชาย ศ.ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงกรณีหมายจับคดี ม.112 พอล แชมเบอร์ส
ศาลรัฐธรรมนูญตีตกคำร้องฟัน กกต.ปมฮั้วเลือก สว.
ศาล รธน.ตีตกคำร้อง "ณฐพร" ปมขอสั่งฟัน กกต.เหตุปล่อยฮั้วเลือก สว. ชี้ไม่ใช่ผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ กกต.ทำตาม กม.หากเสียหายใช้สิทธิทางศาลอื่นได้