พรรคก้าวไกล เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง! ศาลรธน.สั่งไม่ให้ แก้ไข-ยกเลิกมาตรา112

31 ม.ค.2567 - เมื่อเวลา 14.00 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความอดีตพระพุทธะอิสระ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลขณะนั้น ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่

ล่าสุดเมื่อเวลา 14.45 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยสรุปว่า 1.การนำ ม.112 ออกจากหมวดความผิดเรื่องความมั่นคง เป็นความมุ่งหมายแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากชาติไทย

2.การเสนอให้สิทธิ์โต้แย้งข้อเท็จจริงการการติชมโดยสุจริตไม่มีความผิด อาจนำไปสู่ผู้กระทำผิดใช้เป็นข้ออ้างว่าเข้าใจสุจริต ซึ่งย่อมทำให้ศาลต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ย่อมต้องพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงถ้อยคำจะเผยแพร่ไปสู่สาธารณะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขัดกับรัฐธรรมนูญที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ

3.การเสนอให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ร้อง และเป็นคดีที่ยอมความได้ ทำให้กลายเป็นความผิดส่วนพระองค์ ไม่ใช่ความผิดของรัฐ ทั้งที่เป็นเรื่องกระทบจิตใจปวงชนชาวไทย

และแม้นโยบายที่เสนอกับ กกต. จะไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะแก้ ม.112 อย่างไร แต่ศาลถือเอาข้อมูลตามเว็บไซต์ของพรรคก้าวไกล จนถึงปัจจุบัน ที่อ้างร่างเก่าที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไว้เมื่อเดือน มี.ค. 2564 ซึ่งศาลนำมาพิจารณาในครั้งนี้ ซึ่งแสดงเจตนาลดทอนการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ อีกทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่เหนือการเมืองและเป็นกลางทางการเมือง การที่มีพรรคการเมืองใช้นโยบายที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์สูญเสียความเป็นกลางทางการเมือง ส่งผลให้อาจเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย รธน.มาตรา 34 จำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่กระทบต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี

ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

อีกทั้งไม่ให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไมใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

ไม่ให้ราคา กกต.!ชูศักดิ์บอกส่งเอกสารแจงครอบงำพอขู่หลังปีใหม่รู้นักร้องคนไหนโดนเช็กบิล

'ชูศักดิ์' บอก นายกฯ ไม่จำเป็นต้องไปแจง กกต.เอง ปม 'ทักษิณ' ครอบงำ ชี้มีแต่เรื่องเก่าๆ เผยหลังปีใหม่รูัใครโดนเช็กบิลบ้าง

นายกฯ ยิ้มรับถูกถามศาลรธน. ตีตกคำร้องดิจิทัลวอลเล็ต ย้อนถามสื่อต้องหน้าบึ้งเหรอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

ปิ๋วอีกคดี! ศาล รธน.ไม่รับคำร้องปมแจกเงินดิจิทัลไม่ตรงปก

'ศาล รธน.' มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง 'สนธิญา' ร้อง 'นายกรัฐมนตรี' เปลี่ยนแปลงแนวทางแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ไม่เหมือนที่หาเสียงไว้ ระบุไม่เป็นไปตามพ.ร.ป.พิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ