ทีมสว จ่อเคาะรายชื่อผู้อภิปราย แง้ม อาจมี ‘โครงการแลนด์บริดจ์’ แต่ขอดูจุดประสงค์ก่อน ย้ำ ต้องการส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่จับผิดความล้มเหลว
28 ม.ค.2567 – นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงความคืบหน้าภายหลังจากยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติในที่ประชุมวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 เพื่อให้รัฐบาลชี้แจง และตอบข้อซักถาม ว่า ตามที่เราได้ขอช่วงเวลาอภิปรายรัฐบาล จะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งขณะนี้ อยู่ในช่วงที่ประธานวุฒิสภา กำลังตรวจสอบรายชื่อเพื่อส่งเรื่องไปให้รัฐบาล และจะมีคณะทำงานเจราจาตกลง โดยมี พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา เป็นผู้นำเจรจา และในส่วนของ สว. ก็จะทำหนังสือแจ้งสมาชิก ที่จะอภิปรายในประเด็นที่กำหนดไว้
เมื่อถามว่า จะใครร่วมอภิปรายบ้าง นายเสรีกล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนให้สมาชิก แสดงเจตจำนงเพื่อขออภิปราย ซึ่งเรากำหนดว่า จะไม่ปิดกั้น สว. ที่สนใจอภิปรายในประเด็นต่างๆ ตามความรู้ความสามารถของตน และจะให้ สว. แต่ละคนอภิปรายไม่เกินสองประเด็น อีกประมาณ 7-10 วัน ถึงจะมีการพิจารณาบุคคลที่จะเข้าร่วมอภิปราย
เมื่อถามว่า จะมุ่งโฟกัสประเด็นไหนเป็นพิเศษหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ประเด็นหลักเราก็เรียงตามความเหมาะสมไว้ สิ่งสำคัญคือเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ ซึ่งนิด้าโพลทำสำรวจก็ปรากฏว่า เรื่องเศรษฐกิจ เป็นปัญหาที่ประชาชนกำลังประสบอย่างหนัก แต่ในขณะเดียวกันประชาชนก็ไม่เห็นด้วย กับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เพราะอาจจะมีปัญหาอื่นตามมาอีกมาก ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจก็มีปัญหาทุกยุคทุกสมัย อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะสร้างเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร ที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นจริง
“ส่วนจะอภิปรายเรื่องโครงการแลนด์บริดจ์ด้วยหรือไม่นั้น เราต้องดูก่อนว่าโครงการนี้กระทบกับเศรษฐกิจหรือไม่ เพราะรัฐบาลก็อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพราะน่าจะช่วยสร้างอาชีพ ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ แต่หากมองอีกมุม ในเรื่องความคุ้มค่าของทุน ปัญหาอยู่ที่ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ก็สามารถพูดอภิปรายได้” นายเสรี ระบุ
เมื่อถามว่า รัฐบาลทำงานมาเพียง 4-5 เดือน จะมีประเด็นเพียงพอที่ สว. จะอภิปรายได้จริงหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า เรื่องระยะเวลาที่รัฐบาลทำงาน แม้จะเป็นเพียงแค่ 4 เดือน แต่ต้องเข้าใจว่าญัตติที่เราเสนอ เราไม่ได้พูดถึงการทำงานล้มเหลวของรัฐบาล แต่เราพูดเพื่อให้รัฐบาลมาแถลงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งผลจากการหาเสียง การแถลงนโยบายต่างๆ หรือการดำเนินโครงการให้เป็นรูปธรรม คงยังไม่เกิดขึ้นได้ทันทีในเวลาแค่ 4 เดือน ฉะนั้นเราไม่ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่เรากำลังส่งเสริมรัฐบาล ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเด็นที่เราได้เสนอไปก็มีจำนวนมากพอ ที่จะหยิบยกเพื่อให้เป็นประโยชน์กับประชาชน นอกจากเรื่องเศรษฐกิจ ก็มีเรื่องกระบวนการยุติธรรม ที่สามารถแนะนำรัฐบาล เป็นการเสนอทางออกให้กับสังคมได้ มีอีกหลายหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ ระยะเวลาทำงาน 3-4 เดือน ไม่ใช่ปัญหา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' จับโป๊ะ! ยิ่งฟังรัฐบาลแจง ยิ่งต้องรีบยกเลิก 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงต้องยิ่งยกเลิก MOU 44
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
ตัวจริงเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ลั่นอันตราย MOU44 ไทยไม่ยกเลิก ติดกับดักบันได 3 ขั้นกัมพูชา
ตอนนี้เราเข้าไปอยู่ในกับดักขั้นที่สองแล้ว คือมี MOU ไว้แล้ว ก็อย่างที่ผมเสนอว่าสิ่งที่ต้องทำอันแรก ก็คือหนึ่งยกเลิก MOU44 สอง คือในทุกกรณี เราต้องไม่เข้าไปสู่บันไดขั้นที่สอง