กองทัพเรือเตรียมจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินวัดอรุณฯ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
26 ม.ค. 2567 – พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ครั้งที่ 1/2567 โดยมีคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคและคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี (คตร.) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสุพรรณหงส์ อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ตามที่สำนักพระราชวัง มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
ในการนี้รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินดังกล่าว
ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อเป็นการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานจัดเตรียมความพร้อมของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคประจำปี 2567 รวมถึงเป็นไปตามแผนงานที่ได้มีการกำหนดไว้ โดย ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มีคำสั่งกองทัพเรือ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี (คตร.) ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
โดยมี พลเรือโทวิจิตร ตันประภา รองเสนาธิการทหารเรือ สายงานกำลังพล เป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่ในการวางแผนอำนวยการกำกับการ และดำเนินการเตรียมการ จัดขบวนเรือพระราชพิธีให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสมพระเกียรติ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับรูปแบบการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 2,200 นาย
ในส่วนของแผนปฏิบัติงานการเตรียมความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในส่วนของกองทัพเรือ ได้แบ่งการเตรียมความพร้อมออกเป็น 6 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย
1.การเตรียมความพร้อมด้านกำลังพลและการฝึกซ้อมฝีพาย จะเริ่มมีการจัดกำลังพลประจำเรือตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา โดยจะจัดให้มีการฝึกครูฝึกฝีพาย ในระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2567 จากนั้นจะจัดให้มีการฝึกฝีพายบนเขียง ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 16 พฤษภาคม 2567 และการฝึกฝีพายในหน่วย ในเรือ ในน้ำ ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 30 กรกฎาคม 2567
2.การซ่อมทำเรือพระราชพิธีและการเตรียมท่าเทียบเรือ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการสำรวจและซ่อมทำเรือพระที่นั่ง เรือรูปสัตว์ เพื่อส่งให้กรมศิลปากรตกแต่งตัวเรือ พร้อมทั้งซ่อมทำเรือดั้งเรือแซงให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 เมษายน 2567 รวมทั้งหมดซ่อมทำโป๊ะเรือ ท่าเทียบเรือ ปักเสาผูกเรือพระราชพิธีและวางทุ่นให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3.การแต่งบทเห่เรือจำนวน 4 บท โดย พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ประกอบด้วย บทเห่เรือพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาจำนวน 1 บท และบทเห่เรือพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินจำนวน 3 บทเพื่อใช้ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาและงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
4.การฝึกซ้อมขบวนเรือในแม่น้ำประกอบด้วยการซ้อมย่อย 10 ครั้ง การซ้อมใหญ่ 2 ครั้งและซ้อมเพื่อเก็บความเรียบร้อยอีก 1 ครั้ง
5.งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ใน 27 ตุลาคม 2567
6.การสำรวจ จัดเก็บเรือ และสรุปผลการปฏิบัติ
ทั้งนี้การเตรียมการต่าง ๆ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้เน้นย้ำคณะกรรมการในส่วนต่าง ๆ รวมถึงผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมให้ดำเนินการในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้การจัดขบวนพยุหยาตราในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างามและสมพระเกียรติ รวมถึงขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในช่วงการฝึกซ้อม
ทั้งการซ้อมย่อย การซ้อมใหญ่ และงานพระราชพิธีในวันจริง ซึ่งกำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 โดยกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้เป็นอันดับแรก คือการฝึกครูฝึกฝีพายเรือพระราชพิธีซึ่งจะมีการเปิดการฝึก ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยมี ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
'จิราพร' เผยคนไทยปลื้มใจได้เฝ้ารับเสด็จและชมความงดงาม 'ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค'
'จิราพ' เผยคนไทยปลื้มใจ ได้เฝ้ารับเสด็จและชมความงดงาม 'ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค' แนะเข้าเว็บ 'พระลาน' แหล่งรวมข้อมูล-ภาพถ่าย เปิดให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
'ในหลวง' ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนเป็นฤดูหนาว ถวายพระแก้วมรกต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
'ทร.' เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 'วันลอยกระทง' ดูแลตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
ทร. เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยวันลอยกระทง จัดกำลังพล 239 นาย เรือ 44 ลำ ดูแลความปลอดภัยตลอดลำน้ำเจ้าพระยา