ปธน.เยอรมนี ชี้ 'พิธา' รอดคดีหุ้นไอทีวี ถือเป็นสัญญาณที่ดี แสดงให้เห็นไทยมีพื้นฐานปชต.


“ไทย-เยอรมนี” แถลงผลักดันความร่วมมือ 2 ประเทศ “เศรษฐา” ชูแลนด์บริดจ์ ยกระดับขนส่งโลจิสติกส์ เผย เตรียมเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการ มี.ค.นี้ ด้าน “ปธน.เยอรมนี” ชี้ หลังศาลมีคำพิพากษา “พิธา” ถือเป็นสัญญาณที่ดี แสดงให้เห็นไทยมีพื้นฐานปชต. ชี้ เยอรมนี ประชาคมทั่วโลกเฝ้าดูสถานการณ์ -มีความหวังในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ขณะ “นายกฯเศรษฐา” ยันจุดยืนการเมือง ยึดมั่นความเป็นกลาง ไม่สนับสนุนความขัดแย้ง

25 ม.ค.2567 - เวลา 11.45 น. ที่ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และ ดร. ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ร่วมกันแถลงข่าว นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสให้การต้อนรับนายฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและภริยา ระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยการเยือนครั้งนี้ เป็นการเยือนของประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีครั้งแรกในรอบ 22 ปี ทั้งนี้ประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ยาวนานถึง
162 ปี โดยเยอรมนีเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยในสหภาพยุโรปและไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของเยอรมนีในอาเซียน ทั้งสองประเทศจึงเป็นพันธมิตรที่เกื้อกูลกันและกันมาตลอด วันนี้ไทยและเยอรมนีต่างเห็นพ้องต่อการกำหนดเป้าหมายในการยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์

นายเศรษฐา กล่าวว่า นอกจากนี้ตนได้หารือกับประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับประเด็นการส่งเสริมความร่วมมือไทย-เยอรมนี ในด้านความยั่งยืน การรับมือกับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยเยอรมนีพร้อมให้การสนับสนุนไทยด้านเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าเป็นร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2040 รวมถึงขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของเยอรมนีในไทย เพื่อให้ไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ เยอรมนีจะส่งเสริมการทำการเกษตร
แบบยั่งยืนที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยอย่างต่อเนื่องและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5

นายเศรษฐา กล่าวอีกว่า ตนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้นำคณะภาคเอกชนเยอรมนีร่วมเดินทางมาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งตนได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพด้านเศรษฐกิจของไทยและโอกาสใหม่ๆ สำหรับภาคเอกชนเยอรมนีหลังจากที่ไทยกับสหภาพยุโรปสามารถบรรลุการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีได้สำเร็จ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ภายในปี 2568 นอกจากนี้ตนยังได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งโครงการ แลนด์บริดจ์และโครงการยกระดับการขนส่งระบบรางและโลจิสติกส์ของไทย การส่งเสริม Ease of Doing Business รวมทั้งการสร้างทรัพยากรมนุษย์

นายเศรษฐา กล่าวว่า โดยการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาระหว่างกัน ในโอกาสนี้ ภาคเอกชนเยอรมนีได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาประกอบการในไทยในด้านงานสินค้านานาชาติและการรีไซเคิลและการผลิตเม็ดพลาสติกจากขยะ นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของภาคเอกชนเยอรมนีในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลจะนำไปพิจารณาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากเยอรมนีต่อไป และอีกประเด็นสำคัญที่ตนได้หารือกับประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีคือ การส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและเยอรมันเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน โดยปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันเดินทางมาไทยประมาณ 7 แสนคน ทั้งนี้ ชาวเยอรมันได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา 30 วันอยู่แล้ว ตนจึงได้ขอให้ฝ่ายเยอรมนีสนับสนุนไทย ให้สามารถบรรลุการเจรจากับสหภาพยุโรปเพื่อขอยกเว้นตรวจลงตราสำหรับการเดินทางเข้าเขตเชงเกนให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาไทยด้วย

นายกฯ กล่าวอีกว่า ในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา มีกำหนดเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี สำหรับวันที่ 26 ม.ค. ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจะเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำไฮบริดที่เขื่อนสิรินธร ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำใหญ่เป็นอันดับต้นของโลกและโครงการเกษตรยั่งยืนที่เป็นความร่วมมือระหว่างเยอรมนีกับไทย รวมทั้งเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่เป็นที่นิยมของทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในครั้งนี้จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนี ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะในด้านยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด เศรษฐกิจหมุนเวียน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ประเทศไทยกับเยอรมนีมีความร่วมมือในทุกมิติที่แน่นแฟ้นมากขึ้น โดยในห้วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ผมมีกำหนดที่จะเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการ เพื่อสานต่อและผลักดันความร่วมมือระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันต่อไป” นายกฯ กล่าว

ด้านประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กล่าวว่า ตนไม่ได้เยือนไทยเป็นเวลานานแล้ว และตนมีความตั้งใจที่จะมาเยือนไทยซักระยะแล้ว วันนี้ดีใจที่ได้มาเยือน ขอบคุณนายกฯและประเทศไทยสำหรับคำเชิญและคำต้อนรับอย่างอบอุ่น ซึ่งตนไม่ใช่ตัวแทนคนแรกของประเทศเยอรมนี ที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศไม่ได้เพิ่งเริ่มต้น แต่มีประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 160 ปีแล้ว ซึ่งเดิมเคยทำสัญญาการค้าระหว่างกัน การสำรวจเส้นทางการเดินเรือทางทะเล ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านการเลือกตั้งซึ่งมีคนไทยออกมาใช้สิทธิ์ถึง 75% เป็นตัวเลขที่สะท้อนถึงความเข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตยในโอกาสนี้จึงขอกล่าวแสดงความยินดี กับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและอวยพรให้สมัยของท่านเป็นสมัยที่ประสบความสำเร็จ และยินดีที่จะได้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศให้ก้าวต่อไปได้ และเป็นการร่วมมือพัฒนาภาคีเครือข่าย

ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กล่าวอีกว่า เยอรมันเป็นผู้ค้ายุโรปที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการค้าถึง 14,000 ล้านยูโร ซึ่งไทยมีคนเยอรมันที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และแลกเปลี่ยน รวมถึงได้พูดคุยถึงทำเลที่ตั้งที่ดีของไทย ความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นของทั้งสองประเทศเป็นเพียงมิติหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระดับประชาชนผ่านการเดินทางย้ายถิ่นฐาน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เติบโต ซึ่งมีคนเดินทางมาท่องเที่ยวและใช้เวลาอยู่หลายเดือน ชาวเยอรมันกว่า 35,000 คนตัดสินใจที่จะพำนักอยู่ที่ประเทศไทย เช่นเดียวกับคนไทย 60,000 คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี

ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กล่าวว่า ในวันที่ 26 ม.ค. มีกำหนดการเยี่ยมชมโครงการปลูกข้าวอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรรายย่อยในไทย นับเป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือที่ยังดำเนินการภายใต้แผนภูมิอากาศสากล ที่เยอรมันเป็นภาคีเครือข่าย ยินดีที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก International climate Change Club ที่จะเข้ามาร่วมปกป้องสภาพอากาศ นอกจากนี้ทั้ง 2 ประเทศยังมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนสู่อากาศสะอาด แล้วจะไปที่เขื่อนสิรินธรเพื่อดูเทคโนโลยี ซึ่งจะสนับสนุนอากาศสะอาดลงทุนโดยประเทศเยอรมนีและเยี่ยมชมโรงงาน Mercedes Benz ใช้พลังงานสะอาด คาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถเป็น พันธมิตร กันได้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น เพราะตอนนี้เรายังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการลงทุนในไทย โดยเฉพาะเงื่อนไขการประกันสินเชื่อ และเศรษฐกิจของประเทศไทยต่างได้รับการยอมรับในมุมมองของนักลงทุนเยอรมันมาตลอด เชื่อว่าการลงทุนในส่วนนี้จะเติบโตต่อไป

ดร. ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ กล่าวอีกว่า ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย เราได้ให้การสนับสนุนในเรื่องของการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี เชื่อว่าทั้งสองประเทศจะบรรลุข้อตกลงในระยะเวลาอันใกล้ น่าจะโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการขยายต่อไปสำหรับสหภาพยุโรป มีโครงการชื่อ Global Gateway มีศักยภาพในการเข้ามาช่วยเหลือโครงการโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ โดยจะมีรายละเอียดความร่วมมือในไม่ช้า ทั้งนี้ทำเลทางที่ตั้งของไทยเป็นที่ดึงดูดของเยอรมัน และตลาดการค้าเป็นที่น่าสนใจ รวมถึงจุดยืนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เรามีความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จ

ดร. ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ตนและนายกรัฐมนตรีของไทย หารือถึงบทบาทสำคัญในภาคประชาสังคม ที่เราแลกเปลี่ยนทัศนะ โดยตนยินดีสำหรับข่าวคำพิพากษาของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คิดว่าคำพิพากษาที่ออกมาเป็นสัญญาณที่ดีของการดำเนินไปในทิศทางที่ดีของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพูดถึงวิกฤตการณ์ความขัดแย้งภูมิภาคต่างๆในโลก และบทบาทต่างๆที่เราจะมีท่าทีต่อความขัดแย้งต่างๆได้

จากนั้นภายหลังการแถลงข่าวได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถาม โดยผู้สื่อข่าวต่างประเทศถามถึงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลไทยที่กลับมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะมีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไรโดยเฉพาะกับเยอรมนี นายเศรษฐา ตอบว่า เราประกาศชัดเจนว่าประเทศเราพร้อมสำหรับการดำเนินการธุรกิจ โดยในเดือนมี.ค.นี้จะเดินทางไปเยือนทวิภาคีกับรัฐบาลเยอรมนีอีกครั้ง

ด้านประธานาธิบดีเยอรมนี ตอบว่า คำถามนี้พูดถึงอุปสรรคความร่วมมือ ซึ่งเป็นเพียงอดีตในช่วงที่ผ่านมา และในช่วงสถานการณ์การเมืองที่อาจมีความไม่สงบเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นต่อจากนี้ แต่ตนเชื่อว่าหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา เรามองเห็นแนวทางเชิงบวกในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน และในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราเห็นแนวทางที่จะสร้างความเชื่อมั่นของนายเศรษฐา เยอรมนีและประชาคมทั่วโลกไม่เพียงแค่เฝ้าดูสถานการณ์ แต่มีความคาดหวัง ในการเสริมสร้างความร่วมมือ ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่เราไม่อาจตั้งความคาดหวัง ให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต้องใช้เวลาโดยปัจจัยที่สำคัญคือ เสถียรภาพ การแสดงออก และคำพิพากษาของ นายพิธา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำฝ่ายค้าน และแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีพื้นฐานของระบบประชาธิปไตย ที่มีเสถียรภาพในการแสดงออกที่เกิดขึ้น

ด้านนายเศรษฐา กล่าวว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน และตลอดเวลาที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ ได้ให้สิทธิเสรีภาพที่เหมาะสม อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และสนับสนุนด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องการค้าระหว่างประเทศ 4 เดือนที่ผ่านมา เราเดินทางไปทั่วประเทศและทั่วโลกนอกจากนี้ ในเรื่องของจุดยืนทางการเมือง เรายึดมั่นความเป็นกลาง ไม่สนับสนุนความขัดแย้ง ในแง่ของผู้บริสุทธิ์ และคนไทยที่อยู่ในต่างแดน จะต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถามว่า ในกรณีที่บริษัทต้องการกระจายซัพพลายจีนมาจากประเทศจีน มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเวียดนามจะได้ผลประโยชน์จากตรงนี้มากที่สุด ไทยมีแนวทางอย่างไรที่จะดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนในประเทศไทย และอยากถามประธานาธิบดีเยอรมนีว่าเห็นศักยภาพในการลงทุนประเทศไทยในฐานะที่เป็นตัวเลือกจากประเทศจีนอย่างไรบ้างในมุมมองของเยอรมัน นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจในเรื่องของตัวเลข แต่ไทยได้ประโยชน์จากการย้ายฐานนี้เช่นกัน ซึ่งมีโรงงานจำนวนหนึ่งในเวียดนาม ที่จะย้ายมาสู่ประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเทคโนโลยีต่างๆจากอเมริกาไม่ว่าจะเป็น Google หรือบริษัทรายใหญ่ที่ย้ายมาอยู่ในประเทศไทย นอกจากนี้ ในการหารือกับประธานาธิบดีเยอรมนีได้มีการพูดคุยถึงพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะดึงดูดให้บริษัท ใหญ่ๆมาลงทุนในประเทศไทย ขณะเดียวกันวิถีชีวิตของประเทศไทย ทำให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยเข้าใจถึงความสะดวก แม้กระทั่งคนที่พาครอบครัวเข้ามาพักอาศัย ระบบดูแลสุขภาพของเราอยู่ในระดับโลก จึงเป็นจุดน่าดึงดูด ที่นักธุรกิจท่านไหน อยากลองย้ายมาอยู่ จึงนำครอบครัวมาด้วย

ด้านประธานาธิบดีเยอรมนี กล่าวเสริมถึงโอกาสการลงทุนในไทยว่า เราจะต้องดูปัจจัยต่างๆ ซึ่งทางเยอรมนีเน้นนโยบาย การพึ่งพาฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ หากตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้และอีกสิ่งที่สำคัญ ในภาคธุรกิจ คือการลดความพึ่งพาฝ่ายเดียวที่เราจะต้องไปผูกพันกับประเทศจีน โดยขยายการลงทุนมายังประเทศอื่นๆ และย้ายมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นบทบาทบริษัท ในภูมิภาคนี้เพิ่มเติมทางเวียดนามและไทย ซึ่งเป็น ประเทศที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุน ซึ่งจากการหารือกับทีมไทยมีข้อได้เปรียบ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และไทยยังมีความสนใจให้การสนับสนุนความร่วมมือทางการค้า บริษัทต่างๆที่มาจากสหภาพยุโรปและเยอรมนี โดยจะเห็นได้จากนโยบายและข้อบังคับต่างๆที่เอื้อประโยชน์ ในการทำการค้า ซึ่งสิ่งต่างๆที่ตนพูดมาในวันนี้ถือเป็นปัจจัยที่จะทำให้ร่วมมือกันได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หัวหน้าเท้ง' มั่นใจสู้คดี 44 สส. ยื่นแก้ ม.112 แต่หากถูกตัดสิทธิยังมีดาวเด่นอีกหลายคน

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีจริยธรรมของ 44 สส. อดีตพรรคก้าวไกล ว่า ทีมกฎหมายได้เตรียมการไว้อย่างดี และตนยังอยากให้ทุกคนกลับมาย้อนคิดอีกครั้ง อยากให้ทุกคนย้อนกลับมาคิดอีกครั้งว่าที่มาที่ไปของปัญหานี้เกิดจาก ก

ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง

การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี

ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​

'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ

นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส

'ทักษิณ' เกทับ! เลือกตั้งครั้งหน้า กวาด สส.เชียงใหม่ ครบ 10 ที่นั่ง

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงให้ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือสว.ก๊อง ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่