'หม่อมปลื้ม' ออกบทความ 'เเบงก์ชาติไม่ใช่ปัญหา'

ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ( หม่อมปลื้ม )พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ออกบทความเรื่อง “เเบงก์ชาติไม่ใช่ปัญหา” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เเบงก์มีกำไรสะท้อนสถาบันการเงินเเข็งเเกร่ง สื่อเเละนักการเมืองที่หาเสียงกับเรื่องนี้ควรย้อนดูธรรมาภิบาลในอุตสาหกรรมของตนเอง มันคนละเกรด

หนึ่งในเหตุผลอันดับต้นๆที่เศรษฐกิจไทยเจออุปสรรคในการเติบโตก็คือเเทบจะทุกอุตสาหกรรมถูกกำกับดูเเล หรือถูก Over-Regulated โดยหน่วยงานรัฐ

กฏเเละข้อห้ามนานาประเภทที่บรรจุผ่านการออกพ.ร.บ.เเละกฏกระทรวงเเต่ละฉบับคือ Red Tape ที่ล้วนเเล้วเเต่สร้างปัญหากดทับสปิริตในการลงทุนลงเเรงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

กฏหมายมีมากขึ้นเท่าไร เสรีภาพของผู้ประกอบการเเละประชาชน ปัจเจกบุคคล ก็ลดลงเท่านั้น กติกาใหม่ๆ มักเป็นโซ่ตรวนที่สร้างอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เเละการเจริญเติบโตของสังคมเเละเศรษฐกิจ เเบงก์มีรายได้สูงไม่ใช่ปัญหา การมองว่ากำไรของสถาบันการเงินเป็นปัญหานั่นนะเเหล่ะคือมุมมองเเบบสังคมนิยมซึ่งเป็นปัญหาเเละคือการเข้าใจระบบเศรษฐกิจทุนนิยมผิด ในทุกวันนี้อุตสาหกรรมการเงินมีการเเข่งขันสูง ไม่ใช่ต่ำ ในขณะเดียวกันมีการกำกับดูเเลที่มีคุณภาพ โดยที่ในเวลาเดียวกันเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เอื้อให้เอกชนมีนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอสำหรับผู้บริโภค ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารเเละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ ปัญหาในระบบเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ที่ภาคการเงินเลยเเม้เเต่นิดในวันนี้

เเบงก์พาณิชย์แข็งแกร่งสะท้อนการกำกับดูแลที่มีคุณภาพโดยธปท. เป็นสิ่งที่ควรได้รับการชมเชยจากทั้งสื่อมวลชน พิธีกร นักเล่าข่าววิเคราะห์ข่าวรวมถึงนักการเมืองตั้งเเต่ส.ส.ฝ่ายค้านยันรมต.ยันนายกฯ

สำหรับคนที่อยู่แบบ Paycheck-to-Paycheck การที่เเบงก์เเข็งเเกร่งมีเสถียรภาพคือความเเน่นอนในการออมเงินเเละลงทุน มันเป็นสิ่งที่ควรทำให้ผู้ฝากเงินเเละนักลงทุนมั่นใจมากยิ่งขึ้น อุ่นใจได้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจมหาภาคเเข็งเเรง

ยิ่งธนาคารพานิชย์มีรายได้ดี สถาบันการเงินแข็งแกร่งยิ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารเเบงก์พานิชย์เเละผู้ว่าการธนาคารกลางควรได้รับการยกย่องจาก Stake-Holders ทุกฝ่าย

สถาบันการเงินพาณิชย์เอกชนส่วนใหญ่มีผู้บริหารที่ดี เก่งเเละธรรมาภิบาลสูง

ธนาคารได้รับการตรวจสอบเเละกำกับอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานธนาคารเเห่งประเทศไทยเเละกฏกติกาสากล

สื่อและการเมืองมากกว่าคือ Sectors ที่มีปัญหา สร้างความเเตกเยกในสังคมโดยความถนัดในการยุเเยงให้ผู้ซึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจโทษเเพะรับบาปที่ถูกตีตราว่าผิดเพราะเพียงบริหารได้ดีมีกำไร การโหนความเหลื่อมล้ำเพื่อคะเเนนโหวตเเละตัณหาทางยอดวิวนำมาสู่การหาเรื่อง โยนบาปเรื่องปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจไปที่ผู้บริหารเแบงก์เเละผู้กำกับดูเเลธนาคาร

อยากชวนประชนชนเเละสื่อเเละนักการเมืองซึ่งนั่งหาเสียงด้วยการด่าเเบงก์อยู่ให้ดูคุณภาพของธรรมาภิบาลในภาคสื่อสารมวลชนเเละภาคการเมืองเเล้วเปรียบเทียบ เเล้วจะได้เข้าใจว่ามันคนละเบอร์กับธรรมาภิบาลในอุตสาหกรรมสถาบันการเงิน.

เพิ่มเพื่อน