'ดีเอสไอ' เตรียมส่งสำนวน 2 อดีต รมต.แรงงาน - 2 ข้าราชการระดับสูง ให้ ป.ป.ช.สอบต่อ หลังพบหลักฐานโยงขบวนการค้ามนุษย์ หักค่าหัวคิวส่งแรงงานไทย 12,000 คนไปฟินแลนด์รวม 36 ล้านบาท
11 ม.ค.2567 - กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ นำโดยกองคดีการค้ามนุษย์และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะพนักงานอัยการที่อัยการสูงสุด มอบหมายให้ร่วมสอบสวนมีมติร่วมกันให้กล่าวหากับอดีตข้าราชการฝ่ายการเมืองระดับรัฐมนตรี 2 คน และผู้บริหารระดับสูง กระทรวงแรงงาน 2 คน รวมทั้งหมด 4 คน ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 โดยจะเร่งสรุปสำนวนการสอบสวนส่งสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ต่อไป
กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากดีเอสไอ โดยกองคดีการค้ามนุษย์ ได้สืบสวนสอบสวนคดีพิเศษที่ 81/2566 เนื่องจากดีเอสไอได้รับหนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศเรื่องแรงงานไทย เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในสาธารณรัฐฟินแลนด์ โดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ ได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในสาธารณรัฐฟินแลนด์ที่เดินทางไปทำงานเก็บผลไม้ป่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในการเดินทางกลับประเทศไทย
คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พบว่า เป็นคดีความผิดที่ส่วนหนึ่งเกิดนอกราชอาณาจักร จึงเสนอสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการสูงสุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 และอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวนต่อไป และอัยการสูงสุดได้มอบหมายพนักงานอัยการมาร่วมสอบสวน ซึ่งมีการขอความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานจากสาธารณรัฐฟินแลนด์ในความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาทางการสาธารณรัฐฟินแลนด์ได้ส่งพยานหลักฐานสำคัญตามที่ทางการไทยร้องขอให้ดีเอสไอ โดยจากการสอบสวนของคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมกับพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด และพยานหลักฐานที่ได้จากความร่วมมือระหว่างประเทศกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสาธารณรัฐฟินแลนด์
ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีขบวนการสมคบระหว่างนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลธรรมดา ร่วมกันเรียกรับผลประโยชน์จากบริษัทผู้ประสานงานฝั่งไทยที่ทำหน้าที่ประสานงานกับบริษัทที่จะนำเข้าแรงงานของสาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นค่าหัวคิว หรือค่าดำเนินการเฉลี่ยรายละ 3,000 บาท โดยไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทประสานงานฝั่งไทยได้นำมาเรียกเก็บจากคนงานที่ไปทำงานอีกชั้นหนึ่ง นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายตามจริง ในปี 2563- 2566 ซึ่งเป็นช่วงดำเนินคดี มีผู้อยู่ในข่ายต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว รวมประมาณ 12,000 คน คิดเป็นเงินรวมประมาณ 36 ล้านบาท คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานอัยการ ได้มีมติกล่าวหาบุคคลดังกล่าวรวม 4 คน และจะนำส่งสำนวนคดีพิเศษดังกล่าว ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อสส.ชงศาลรธน.คดีล้มล้างฯ
อัยการสูงสุดส่งเอกสารปม “ธีรยุทธ” ร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ครอบงำ-ล้มล้างให้ศาลแล้ว
'ดีเอสไอ' ให้เวลา 15 วัน '18 บอส' อธิบายธุรกิจดิไอคอน หลังแจ้งข้อหาแชร์ลูกโซ่-ขายตรง
"โฆษกดีเอสไอ" เผยคณะพนักงานสอบสวนเข้าแจ้งข้อหาแชร์ลูกโซ่ - พ.ร.บ.ขายตรงฯ 18 บอสดิไอคอนฯ เรียบร้อย แย้มให้กรอบเวลา 15 วัน
'ทนายบอสพอล' มั่นใจชี้แจงได้หมด อ้าง 'ดีเอสไอ' แจ้งข้อหาแชร์ลูกโซ่ ค่อนข้างหลวม
นายวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายความของนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล เปิดเผยภายหลังเข้าเยี่ยมบอสพอล ว่า หลวมดี เพราะหากดูจากพฤติการณ์ที่ดีเอสไอแจ้งมา
'อสส.' ตอบความคืบหน้าคดี ทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างปกครองฯ ต่อศาลรธน.เเล้ว
รายงานข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด ความคืบหน้ากรณี เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีเผยแพร่เอกสาร การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
'ดิไอคอน-18 บอส' อ่วม! 'ดีเอสไอ' บุกคุกแจ้งเพิ่ม 3 ข้อหาหนัก
'ดีเอสไอ' บุกเรือนจำ แจ้งเพิ่ม 3 ข้อกล่าวหา 'ดิไอคอน-18 บอส' ความผิดตามกฎหมายขายตรง-แชร์ลูกโซ่ พร้อมเปิดโอกาสนำหลักฐานมาแจงความบริสุทธิ์ได้
ดีเอสไอ จัด 18 ทีมเข้าเรือนจำ สอบแยกรายบุคคล 'บอสดิไอคอน' แจ้งข้อหาแชร์ลูกโซ่-พรบ.ขายตรง
จากกรณีที่คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 119/2567 กรณีการดำเนินคดีอาญากับบริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จำกัด กับพวก มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบแจ้งข้อกล่าวหาต่อบุคคล 18 ราย และนิติบุคคล 1 ราย คือ บริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จำกัด ที่มีนายวรัตน์พล หรือบอสพอล เป็น กรรมการผู้