ศาลฎีกาตัดสิทธิ์ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง 3 อดีตสส.ภูมิใจไทย!

10 ม.ค.2567 - ที่ศาลฎีกา สนามหลวง องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาคดีคดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมหมายเลขดำที่ คมจ.3/2564 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยื่นฟ้อง นายฉลอง เทิดวีระพงศ์ อดีต ส.ส.เขต 2 พัทลุง พรรคภูมิใจไทย, นายภูมิศิษฏ์ คงมี อดีต ส.ส.เขต 1 พัทลุง พรรคภูมิใจไทย และนางนาที รัชกิจประการ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กรณีเสียบบัตร สส.แทนกันในการประชุมสภาฯ

สำหรับคดีนี้ จำเลยทั้ง 3 คนถูกกล่าวว่ายินยอมให้บุคคลอื่นเสียบบัตรแสดงตนแทนในการลงมติเรียงตามรายมาตรา ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 เมื่อวันที่ 10-11 มกราคม 2563 เป็นเหตุให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 วาระที่ 2-3
เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่อันสำคัญที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เหตุเกิดที่อาคารรัฐสภาแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ งว่า ผู้คัดค้านทั้งสามฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงิน แผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ขอให้ผู้คัดค้านที่ หยุดปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ศาลฎีการับคำร้องจนกว่าจะมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านทั้งสามพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านทั้งสามมีกำหนดเวลาไม่เกิน10 ปี ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1,2 หยุดปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 3 ก.ย.64 ส่วนผู้คัดค้านที่3 พ้นจากการเป็น ส.ส.ก่อนวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้แล้ว

ต่อมาอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสามเป็นคดีอาญาด้วยมูลเหตุเดียวกับคดีนี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน เมื่อศาลในคดีอาญาดังกล่าวมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 พ.ค.66 แล้ว จึงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อโดยไต่สวนพยานผู้ร้องกับไต่สวนพยานผู้คัดค้าน

องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาแล้วเห็นว่าเมื่อพิจารณาพยานหลักฐานแวดล้อมอื่นประกอบพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารสำคัญ
ประจำตัวซึ่งแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้แทนประชาชน ผู้คัดค้านทั้งสามต้องใช้มาตรฐานที่มากกว่าวิญญูชนทั่วไปในการดูแลรักษาบัตรดังกล่าว ทางไต่สวนได้ความว่าภายหลังผู้คัดค้านทั้งสามทราบว่าตนลืมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในที่ประชุมก็ไม่ปรากฎว่าผู้คัดค้านทั้งสามดำเนินการใดเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นนำบัตรของตนไปใช้ ทั้งเมื่อทราบว่ามีผู้อื่นนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตนไปใช้แสดงตนและลงมติโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้คัดด้านทั้งสามก็มีได้เร่งรีบตรวจสอบข้อเท็จจริงหรืออาศัยกลไกทางกฎหมายเพื่อสืบหาตัวผู้กระทำดังกล่าวหรือแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการผิดวิสัยของวิญญูชนผู้สุจริต ความเห็นคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของพรรคภูมิใจไทยที่ว่าการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ยังฟัง
ไม่ได้ว่ามีความผิดตามข้อบังคับของพรรค มิได้ทำให้ภาระหน้าที่ในการป้องกันบุคคลอื่นนำบัตรของตนไปใช้หรือการติดตามหาผู้ที่นำบัตรดังกล่าวไปใช้สูญสิ้นไป ประกอบกับการที่บัตรอิเล็กทรอนิกส์ระบุหมายเลขประจำตัว ชื่อ และชื่อสกุลเจ้าของบัตรไว้ย่อมเป็นการง่ายที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่นจะสังเกตเห็นได้ว่าบัตรนั้นเป็นของผู้ใด ไม่น่าเชื่อว่าจะมีการนำบัตรไปใช้โดยพลการอย่างต่อเนื่องทันทีที่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่อยู่ในที่ประชุมหากไม่ได้รับมอบหมายหรือได้รับความยินยอมจากผู้คัดค้านทั้งสาม และหากผู้คัดค้านทั้งสามหลงลืมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในที่ประชุมจริง เจ้าหน้าที่สำนักการประชุมย่อมต้องพบและเก็บบัตรของผู้คัดค้านได้ตั้งแต่หลังเลิกประชุมในวันที่ 10 ม.ค.การที่ผู้คัดค้านทั้งสามอ้างว่าเร่งรีบออกจากที่ประชุม ก็ไม่ปรากฎว่าผู้คัดค้านทั้งสามแจ้งให้ผู้ใดทราบ เป็นเรื่องยากที่บุคคลอื่นจะทราบถึงการไม่อยู่ร่วมในที่ประชุมของผู้คัดค้านทั้งสามจนสามารถใช้บัตรแสดงตนและลงมติได้ต่อเนื่องทันที ทั้งช่วงเกิดเหตุมีที่นั่งและช่องเสียบบัตร 300ที่นั่ง ไม่เพียงพอต่อจำนวน ส.ส.ทำให้ต้องมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนใช้เครื่องเสียบบัตรร่วมกันและระหว่างการประชุมไม่มีการบันทึกภาพสมาชิกขณะแสดงตนและลงมติไว้ ย่อมเป็นช่องทางให้มีการนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของ ส.ส.รายอื่นไปใช้แสดงตนและลงมติแทนได้ง่ายโดยที่ถูกพบเห็นได้ยาก จึงเป็นข้อสนับสนุนให้เชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้คัดค้านทั้งสามโดยความรู้เห็นและยินยอมของผู้คัดค้านทั้งสาม

ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านทั้งสามเกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็นและความสำคัญของการออกจากที่ประชุมเพื่อเดินทางไปร่วมงานวันเด็กแห่งชาติและงานสัมมนา การไม่มีเหตุจูงใจใดให้ต้องฝากบัตรไว้ และการที่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่อยู่ในที่ประชุมไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย รวมถึงความเร่งรีบ อาการเจ็บปวย และความเหนื่อยล้าที่ ทำให้ลืมบัตรไว้นั้น มิใช่เหตุตามกฎหมายที่ จะฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือยินยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้แสดงตนและลงมติแทนผู้คัดค้านทั้งสามได้ และมิใช่ข้อยืนยันเจตนาบริสุทธิ์ไม่อาจใช้อ้างเพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีการฝากหรือยินยอมให้มีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนหรือใช้ยันเพื่อปัดความรับผิดในกรณีที่บุคคลอื่นนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้แสดงตนและลงมติแทนได้

ส่วนที่อ้างว่าการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติแทนเกิดจากการกระทำของ ส.ส.ที่มีข้อขัดแย้งทางการเมืองและไม่หวังดีนั้น ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทั้งสามฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แก่ ส.ส.รายอื่นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติแทนผู้คัดค้านทั้งสามเป็นเหตุให้การออกเสียงลงคะแนนไม่สุจริต ละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็น ส.ส.ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม ทั้งขัดต่อหลักความซื่อสัตย์สุจริตที่ได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยเฉพาะการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้ มีผลทำให้การออกเสียงลงคะแนนของผู้คัดค้านทั้งสามเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริต ถือได้ว่าเกิดความเสียหายแก่สภาผู้ แทนราษฎรและปวงชนชาวไทยแล้ว ถือว่าผู้คัดค้านทั้งสามกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาผู้แทนราษฎรและปวงชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การกระทำของผู้คัดค้านทั้งสามจึงเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ฐานไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ฐานไม่ถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

นอกจากนี้ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งสามยังเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฐานกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง และฐานไม่ปฏิบัติหน้ำาที่ราชการอย่างเต็มกำลัง
ความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ และไม่ปฏิบัติ๊ตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม ซึ่งเมื่อพิจารณาลักษณะของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ เจตนาและความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ อันจะสะท้อนความสามารถในการบริหารประเทศด้านการเงินและการคลัง กับเสถียรภาพของรัฐบาล และต้องอาศัยมติและเสียงของสมาชิกฝ่ายรัฐบาลเป็นหลักในการผลักดันร่างกฎหมาย เมื่อผู้คัดค้านทั้งสามเป็นสมาชิกพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ย่อมเป็นมูลเหตุจูงใจให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องมอบหรือฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้บุคคลที่ได้มีการคบคิดกันมาก่อนแสดงตนและลงมติแทน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการออกเสียงลงมติแทนผู้ที่ไม่อยู่ร่วมประชุมเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้ผลการลงมติร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563วาระที่ 2และวาระที่ 3 ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้ พรบ.ดังกล่าวตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การกระทำในส่วนนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีลักษณะร้ายแรง

ส่วนข้อที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า ผู้คัดค้านทั้งสามกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฐานกระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมนั้นเห็นว่า ทางไต่สวนไม่ปรากฎว่าผู้คัดค้านทั้งสามได้กระทำการไปในลักษณะที่เข้าไปมีส่วนได้เสียในการเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ผู้คัดค้านทั้งสามปฏิบัติหน้าที่หรือมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบ หรือได้เข้าไปมีส่วนได้เสีย ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ทั้งการที่ผู้คัดค้านทั้งสามให้ ส.ส.รายอื่นใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตน เพื่อแสดงตนและลงมติแทนนั้น ก็ไม่ปรากฎว่าอยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือการครอบงำใด ๆ ของบุคคลอื่นจึงรับฟังไม่ได้ว่า การกระทำของผู้คัดด้านทั้งสามเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมตามคำร้อง

พิพากษาว่า ผู้คัดค้านทั้งสามฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 6,7,8 ประกอบข้อ 27 วรรคหนึ่ง และข้อ 17,21 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง ให้ผู้คัดค้าน 1,2 พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ 3 ก.ย.2564อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีนี้ ให้ผู้คัดค้านที่ 1,2 หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านทั้งสามตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านทั้งสามมีกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ตาม รธน.มาตรา 235วรรคสามและวรรคสี่ พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 ประกอบมาตรา 81 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในส่วนคดีอาญา เมื่อวันที่18 พ.ค.66 ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาจำคุก อดีต ส.ส.ภูมิใจไทย 3 ราย จำคุกคนละ 9 เดือน ไม่รอลงอาญา พ้นจากตำแหน่งและตัดสิทธิทางการเมือง กรณีเดียวกันนี้ ซึ่งคดีอยู่ระหว่างชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมชาย' ไล่บี้ กกต. นับคะแนนใหม่ชุดบล็อกโหวต จับแก๊งฮั้วเลือก สว.

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'อนุทิน' ชี้ศาลฎีกาฟัน 3 สส.ภูมิใจไทย พิสูจน์ชัดเจนไม่มีใครช่วยเหลือกันได้

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งจำคุก-ตัดสิทธิทางการเมือง 3 สส. ภูมิใจไทย

ศาลฎีกาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ ยืนคุกไม่รอลงอาญา 3 สส.ภูมิใจไทย เสียบบัตรเเทนกัน

ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.อธ.6/2566คดีหมายเลขแดงที่ที่อัยการสูงสุด ยื่นนายฉลอง เทอดวีระพงศ์ ,นายภูมิศิษฏ์ คงมี ,นางนาที รัชกิจประการ จำเลยที่

'ปธ.กกต.' เร่งสอบโพยฮั้วเลือก สว. ชี้ผิดจริงฟันทันที ไม่สอยทีหลัง

'อิทธิพร' ไม่เชื่อโพยก๊วนฮั้วเลือก สว. ยัน กกต. กำลังตรวจสอบอยู่ ลั่นยึดข้อกฎหมาย ดูข้อเท็จจริง-พยานหลักฐาน ชี้พิสูจน์พบผิดฟันเลย ไม่จำเป็นสอยทีหลัง