28 ธ.ค.2566 - จากกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ ปฏิบัติราชการแทนนายกฯ กระทรวงสาธารณสุข และให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ ปฏิบัติราชการแทนนายกฯ กระทรวงยุติธรรม (ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
ล่าสุด น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นายกฯเศรษฐามอบหมายงาน รมว.พีระพันธุ์เพิ่มเป็นกระบุง หวังบั่นทอนความจดจ่อแก้ปัญหาพลังงานหรือไม่!?
วาทะแห่งปีของนายกฯเศรษฐา "ผมจะทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย" ประชาชนอยากขอท่านนายกฯช่วยโฟกัสการทำงาน และการมอบงานให้รองนายกฯ พีระพันธุ์ให้ทำงานเพื่อให้ “ประชาชนหายเหน็ดเหนื่อยจากการแบกราคาน้ำมัน ราคาก๊าซหุงต้มและ ราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรมด้วย” ได้หรือไม่?
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. .ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (26 ธ.ค.) ได้มีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 381/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ปรากฎว่า นายกฯมอบหมายงานรับผิดชอบให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี เป็นกระบุง เช่นเป็นประธานกรรมการ 4 คณะ คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ, คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ, คณะกรรมการพัฒนาระบบติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนาม และศพนิรนาม รวมถึงให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ 3 คณะ ได้แก่ รองประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.), รองประธานกรรมการการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, รองประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ อีกทั้งให้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.2566 เป็นต้นไป...
ดิฉันเกิดความสงสัยว่า การมอบอำนาจหน้าที่แบบนี้ เป็นการลดทอนความจดจ่อต่อการแก้ปัญหาราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ซึ่งคือหน้าที่หลักของรัฐมนตรีพลังงาน ใช่หรือไม่!?
ถ้านายกฯเป็นนักบริหาร และเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาใหญ่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นเรื่องพลังงาน ควรมอบอำนาจที่ครอบคลุมการแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ ให้ครบจบในดาบเดียว ไม่ใช่มอบอำนาจแบบเบี้ยหัวแตก หรือขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน โดยไม่มีการโฟกัส พุ่งเป้าไปแก้ปัญหาหลัก
การมอบหมายรองนายกฯพีระพันธุ์ ทำหน้าที่เป็นรองประธาน กพช. ที่จริงแล้วสมควรมอบอำนาจให้ท่านทำหน้าที่เป็นประธาน กพช.เสียเลยจะได้มีหน้าที่และอำนาจสั่งการแก้ มติต่างๆในอดีตที่กพช.ได้ออกมติที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน และควรมอบอำนาจการกำกับดูแล ปตท.ที่รัฐถือหุ้นเกิน 51% เพื่อให้รัฐมนตรีมีอำนาจ มีดาบในการแก้ปัญหาได้ นอกจากนั้น ควรสั่งการให้รมว.กระทรวงพาณิชย์ ทำงานประสานกับ รมว.พลังงานอย่างใกล้ชิด เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ในฐานะเป็นสินค้าควบคุมราคา จะได้ไม่โยนกันไปมา ว่าเป็นหน้าที่ของใคร ภายใต้นายกฯคนเดียวกัน
ขอเสนอการมอบอำนาจหน้าที่แบบเจาะจงแก้ปัญหาราคาพลังงานแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนที่เรื้อรังมายาวนาน
ประการแรก ในฐานะประธานกพช. และมีอำนาจกำกับปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ รองนายกพีระพันธุ์ เคยขอดูต้นทุนราคาน้ำมันจากปตท.แต่บอกว่า ขอไม่ได้ จะได้ขอได้เสียที
ประการที่ 2 ในฐานะผู้มีอำนาจกำกับปตท.ในนามผู้ถือหุ้นใหญ่ 51% แทนประชาชนทั่วประเทศจะสามารถสั่งการให้ปตท. ทำตามนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) กำหนดให้ค่าการตลาดกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล์ อยู่ที่ 2 บาทต่อลิตร บวกลบได้40 สต./ลิตร ไม่ใช่ปล่อยให้ค่าการตลาดอย่างวันนี้(วันที่27 ธค. ) สูงไปถึง 4.20 - 4.70 บาท/ลิตร และยังประกาศจะตรึงราคานี้ไว้10 วันเป็นของขวัญปีใหม่ !?! ไม่น่าจะเป็นของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนอยากได้ ใช่หรือไม่
การสั่งให้รัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้น 51% ทำตามนโยบายเรื่องค่าการตลาด ย่อมจะช่วยคุมค่าการตลาดของปั๊มน้ำมันภายใต้แบรนด์ใหญ่และปั๊มอื่นๆไปได้ด้วย การคุมค่าการตลาดเบนซิน แก๊สโซฮอล์ได้ที่2บาท จะลดราคาให้ประชาชนลงได้ทันที 2บาท/ลิตรเลยทีเดียว
ประการที่ 3 การเป็นประธานกพช. รัฐมนตรีพีระพันธุ์สามารถยกเลิกมติกพช.ที่ให้ใช้ราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นเป็นราคาเสมือนนำเข้าจากสิงคโปร์ ( Import Parity) สมัยที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ (อดีตรองนายกรัฐมนตรีรัฐบาลประชาธิปัตย์) มานั่งเป็นประธาน กพช. เคยสั่งให้ปตท. สมัยยังไม่ได้แปรรูป ให้เปลี่ยนราคาหน้าโรงกลั่นเป็นเทียบเท่ากับราคาส่งออก แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะสมัยนั้นโรงกลั่นเพิ่งส่งออกน้ำมันเพียงประมาณ 5,000 ลิตร แต่ปัจจุบันน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกมีมูลค่ากว่า 3แสนล้านบาทในปี 2565 จึงสมควรที่รองพีระพันธ์ุจะมีมติกพช. ให้ใช้ราคาหน้าโรงกลั่นเป็นราคาเทียบเท่าการส่งออก (Export Parity)
เพียงแค่ตัดค่าใช้จ่ายเสมือนนำเข้าที่ประกอบด้วย ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ค่าสูญเสียระหว่างทางจากสิงคโปร์มาไทยออกไป ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทิพย์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ราคาน้ำมันจะลดลงไปได้ 1-1.50 บาท/ลิตร เลยทีเดียว และถ้าใช้ราคาน้ำมันเทียบเท่าการส่งออก ราคาจะลดลงได้มากกว่านี้อีก
ประการที่ 4 ราคาเอทานอล 30.29 บาท/ลิตร สูงกว่าราคาน้ำมันพื้นฐานประมาณ 10 บาท/ลิตร การผสมเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์ ทำให้น้ำมันแพงขึ้น เป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ใช้น้ำมัน ราคาเอทานอลไม่มีการตรวจสอบเรื่องราคาว่าเหตุใดเป็นราคาที่แพงกว่าน้ำมันพื้นฐาน 10 บาททั้งที่วิ่งได้ระยะทางน้อยกว่า30% จึงสมควรตัดออกไป ถ้าไม่สามารถทำให้ราคาเอทานอลใกล้เคียงน้ำมันเบนซินพื้นฐานหรือไม่ถ้าอ้างว่าเพื่อช่วยเกษตรกร ก็ไมควรให้มีราคาสูงเกินน้ำมันพื้นฐาน10% ขึ้นไป หากแพงกว่าน้ำมันพื้นฐานมาก ก็สมควรตัดออกไป ใช่หรือไม่
ประการที่ 5 ยกเลิกมติกพช.ที่ให้ใช้ราคาก๊าซหุงต้มเสมือนนำเข้าจากซาอุดิอารเบีย (Import Parity)แบบเดียวกับน้ำมันที่ใช้ราคานำเข้าจากสิงคโปร์ เพราะก๊าซหุงต้มที่คนไทยใช้ผลิตได้เพียงพอจากก๊าซในอ่าวไทย
ถ้าแก้มติกพช.ข้อนี้ได้ จะช่วยลดราคาก๊าซหุงต้มของประชาชนลงได้อย่างยั่งยืน ไม่ต้องล้วงกระเป๋าประชาชน และกู้มาใส่กองทุนน้ำมัน เพื่อชดเชยราคาก๊าซหุงต้มที่ถูกทำให้สูงเกินจริง จากการสมมุติราคานำเข้าจากซาอุดิอารเบีย เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ค้าเกินสมควร ใช่หรือไม่
การเป็นประธานกพช. จะมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายพลังงานที่เป็นธรรมต่อประชาชน ถ้าทำงานแบบไม่ลูบหน้าปะจมูก ที่ยกมาแค่ 5 ประการ เป็นประเด็นที่รมว.พลังงานมีอำนาจสั่งการได้ทันที ยังมีอีกหลายประการที่ทำได้มากกว่านี้ แต่ขอให้ท่านรัฐมนตรีทำให้เห็นผลสักเรื่องหนึ่งก่อน โดยเริ่มจากค่าการตลาดที่สั่งการให้ปตท.ปฏิบัติตามนโยบายค่าการตลาดของ กบง. ให้เรื่องนี้ได้ จะเป็นการลดราคาน้ำมันให้ประชาชนอย่างเป็นธรรม และยั่งยืน ไม่ต้องเอาภาษี หรือกองทุนมาลดราคา และสามารถทำได้ทันที เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนมีเงินเหลือในกระเป๋าได้จริงๆสักที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า
'พีระพันธุ์' เตรียมขยายเวลาตรึงค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ถึงสิ้นปี 67
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการดูแลราคาพลังงานให้ประชาชน หลัง
'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร
'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
'สมศักดิ์' เมินโพล ปชช. 57% เชื่อรัฐบาลอยู่ไม่ครบเทอม โทษประชาชนไม่เลือกเพื่อไทยครึ่งสภา
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีผ
'รมว.กห.' เรียกถกสาง 'เรือดำน้ำ' ต้องตัดสินใจระวังอย่างยิ่งยวด
'ภูมิธรรม' เรียกถกเรือดำน้ำ รับต้องระวังอย่างยิ่งยวดในการตัดสินใจ เหตุมีความเห็นแตกสองฝ่าย พยายามทำให้จบยุคที่คุมกลาโหม