โพลเปิดผลสะท้อน การเมืองที่สุดแห่งปี ชี้ข้อมูล ปมแก้กฎหมาย มาตรา 112 อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ตามด้วยประเด็นนักโทษเทวดา ยกให้พิธา เป็นนักการเมืองแห่งปี
24 ธ.ค.2566 – อาจารย์ ธนกร พงษ์ภู่ อาจารย์ประจำสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เสนอผลสำรวจ เรื่อง การเมืองที่สุดแห่งปี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,108 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 – 23 ธันวาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา
ผลสำรวจเรื่อง การเมืองที่สุดแห่งปี ความกังวลของประชาชนต่อประเด็นการเมืองสู่ความขัดแย้งของคนในชาติที่สุดแห่งปี พบว่า จำนวนมาก หรือร้อยละ 47.0 ระบุว่า มีความกังวลในประเด็น การแก้ไขกฎหมาย 112 รองลงมา ร้อยละ 45.5 ระบุว่า นักโทษเทวดา ร้อยละ 42.6 ระบุว่า กระแสพรรคก้าวไกล ร้อยละ 38.0 ระบุว่า ด้อมส้ม อกหัก เพื่อไทยสลับขั้วตั้งรัฐบาล และร้อยละ 37.2 ม็อบสามนิ้ว ตามลำดับ
ที่น่าสน คือ วาทกรรม คำการเมืองแห่งปี พบว่ากลุ่มตัวอย่างระบุ 5 อันดับแรก คือ “มีลุง ไม่มีเรา”
ร้อยละ 52.3 “ก้าวข้าม ความขัดแย้ง” ร้อยละ 42.0 “นักโทษ เทวดา” ร้อยละ 39.3 “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์”
ร้อยละ 38.2 “มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีกินมีใช้” ร้อยละ 35.5 เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณา คือ “นักการเมืองแห่งปี” ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พบว่า ร้อยละ 42.1 ระบุ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 34.0 ระบุ นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 32.8 ระบุ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 29.0 ระบุ นายเศรษฐา ทวีสิน และร้อยละ 27.5 ระบุ นายชวน หลีกภัย ตามลำดับ
จากผลการสำรวจ พบประเด็นที่น่าสังเกตคือ ประชาชนมีความกังวล ต่อประเด็นการการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 112 เนื่องจาก เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน กระทบต่อความจงรักภักดีของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเห็นว่า นักการเมืองควรดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสารเสพติด โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือเรียกว่า “โจรไซเบอร์” ซึ่งเป็นประเด็นเร่งด่วนและมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ต่อปากท้องของประชาชนมากกว่า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร