13 ธ.ค.2566 - นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา แสดงความคิดเห็นต่อกรณีระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 โดยสาระสำคัญของระเบียบฉบับนี้เป็นการกำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่มิใช่เรือนจำ
โดยนายชูชาติ ศรีแสง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng มีใจความสรุปว่า ขณะนี้กรมราชทัณฑ์ได้ออกระเบียบกำหนดให้กรมราชทัณฑ์มีอำนาจส่งตัวจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไปคุมขังในสถานที่อื่นๆ นอกเรือนจำได้ เช่น บ้าน เป็นต้น คำพิพากษาของศาลที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยแทนที่จำเลยจะถูกคุมขังในเรือนจำ แต่กรมราชทัณฑ์สามารถส่งตัวไปคุมขังในบ้านก็ได้ ดังนั้นคำพิพากษาของศาลที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยจึงไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป รวมทั้งบุคคลที่ช่วยกันทำงานนับสิบนับร้อยคนเพื่อให้ผู้กระความผิดได้รับการลงโทษก็ต้องเหนื่อยเปล่าโดยไม่มีผลใดๆ เลย
เนื้อหาทั้งหมดมีดังนี้ เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น เจ้าพนักงานตำรวจต้องทำการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด.....เมื่อได้ตัวผู้กระความผิดมาแล้ว พนักงานสอบสวนต้องสอบปากคำพยานบุคคล แสวงหารวบรวมพยานเอกสาร พยานวัตถุ ประกอบสำนวนสอบสวน หากฟังได้ว่า เป็นผู้กระทำความผิดจริง ก็สั่งฟ้องแล้วส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนสอบสวนส่งไปให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาต่อไป
.....เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว ก็ต้องพิจารณาอ่านสำนวนการสอบสวนพร้อมตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมด หากเห็นด้วยกับพนักงานสอบสวน ก็ฟ้องคดีต่อศาล
.....เมื่อคดีถึงศาลแล้ว ศาลชั้นต้น ต้องทำการสืบพยาน โจทก์ จำเลย ถ้าเป็นคดีที่ประชาชนเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และขออ้างพยานเพิ่มเติมจากพยานโจทก์ ก็ต้องสืบพยานโจทก์ร่วมด้วย แล้วจึงนัดฟังคำพิพากษา
.....ศาลต้องอ่านคำพยานของโจทก์ โจทก์ร่วม(หากมี) และจำเลย ประกอบกับการตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดที่คู่ความส่งมาซึ่งอยู่ในสำนวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว
.....จึงมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ หรือลงโทษจำเลย กรณีลงโทษก็ต้องพิจารณาว่า จะจำคุกหรือไม่ ถ้าจำคุกจะจำคุกกี่ปี เพื่อให้เหมาะกับพฤติการณ์ในการกระทำความผิดในคดีนั้น ทั้งสมควรรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่
.....เมื่อศาลชั้นมีคำพิพากษาแล้ว หากคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาเสร็จก็ส่งสำนวนและคำพิพากษาคืนศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟัง
.....ถ้าคู่ความยังไม่พอใจและคดีไม่ต้องห้ามฎีกา ก็มีสิทธิฎีกาต่อศาลฎีกาได้อีก เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกาก็ต้องอ่านคำพยาน ตรวจพยานหลักฐานทั้งหมดที่มีอยู่ในสำนวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่ง ปรึกษากันในองค์แล้วจึงเขียนคำพิพากษา
.....เมื่อเจ้าหน้าที่พิมพ์เสร็จก็มีผู้ช่วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาช่วยตรวจสอบความถูกต้องทั้งในเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ถ้าเห็นด้วยกับร่างคำพิพากษา ก็เสนอท่านประธานศาลฎีกาหรือรองประธานศาลฎีกาที่ท่านประธานศาลฎีกามอบหมายให้พิจารณาอีกครั้ง ถ้าเห็นด้วยก็มีคำสั่งเห็นชอบ แล้วจึงส่งให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษา จากนั้นก็ส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง
.....ที่กล่าวมานี้เป็นกระบวนการในการดำเนินคดีอาญาอย่างย่อๆ จะเห็นได้ว่า การที่จำเลยคนหนึ่งถูกศาลพิพากษายกฟ้องหรือลงโทษนั้น
.....เฉพาะในชั้นศาล ในศาลชั้นต้นมีองค์คณะผู้พิพากษา ๒ ท่าน ศาลอุทธรณ์มีองค์คณะ ๓ ท่าน มีผู้ช่วยผู้พิพากษาช่วยตรวจความถูกต้อง ๑ ท่าน ประธานศาลอุทธรณ์หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ที่รับมอบหมายจากประธานศาลอุทธณ์ ๑ ท่าน ศาลฎีกามีองค์คณะ ๓ ท่าน ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลในศาลฎีกาทั้งผู้ช่วยเล็กและผู้ช่วยใหญ่รวม ๒ ท่าน และท่านประธานศาลฎีกาหรือรองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมาย ๑ ท่าน
.....จึงมีผู้พิพากษาที่มีส่วนในการพิจารณาพิพากษาคดีในแต่ละคดีรวม ๑๓ ท่าน
.....ถ้าคิดถึงจำนวนผู้ที่มีส่วนในดำเนินแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญา ตั้งแต่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือพบเห็นการกระทำความผิด นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน พนักงานสอบสวน บุคคลที่มาให้การเป็นพยานทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล พนักงานอัยการที่ต้องหน้าตรวจสอบสำนวนการสอบสวนและทำหน้าที่ว่าความยืนซักถามพยานโจทก์ในศาล รวมกันทั้งหมดแล้วแต่ละคดีมีไม่น้อยกว่า 30-40 คน บางคดีมีเป็นร้อยคน
.....เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแล้วและออกหมายขังส่งตัวจำเลยไปให้เรือนจำคุมขังจำเลยไว้ตามคำพิพากษาของศาล
.....ก่อนหน้านี้กรมราชทัณฑ์ใช้วิธีลดโทษให้จำเลยทุกปี โดยถ้าเป็นจำเลยที่ศาลลงโทษจำคุกในระยะยาวไม่มีจำเลยคนใดที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำครบตามกำหนดเวลาที่ศาลมีคำพิพากษาเลย
.....ขณะนี้กรมราชทัณฑ์ได้ออกระเบียบกำหนดให้กรมราชทัณฑ์มีอำนาจส่งตัวจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไปคุมขังในสถานที่อื่นๆ นอกเรือนจำได้ เช่น บ้าน เป็นต้น
.....คำพิพากษาของศาลที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยแทนที่จำเลยจะถูกคุมขังในเรือนจำ แต่กรมราชทัณฑ์สามารถส่งตัวไปคุมขังในบ้านก็ได้
.....ดังนั้นคำพิพากษาของศาลที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยจึงไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป รวมทั้งบุคคลที่ช่วยกันทำงานนับสิบนับร้อยคนเพื่อให้ผู้กระความผิดได้รับการลงโทษก็ต้องเหนื่อยเปล่าโดยไม่มีผลใดๆ เลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘หมอวรงค์’ เตือน ‘โบว์ณัฏฐา’ ใช้ข้อมูลผิดๆปกป้อง ‘ทักษิณ’
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #เตือนคุณโบว์
'พุทธะอิสระ' ย้ำให้ผ่อนคลายเมื่อคนใช้บริการคนพาลย่อมเตรียมรับมือไว้แล้ว!
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือพุทธะอิสระ ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม
'ทวีไอพี สอดไส้' ยิ้มรับฉายาใหม่! แก้ข่าว 'ทักษิณ' แข็งแรงไม่เหมือนผู้ป่วย ภายนอกอาจใช่ แต่ภายในอาจป่วย
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ว่า ต้องขอบคุณในฐานะที่ตนเป็นบุคคลสาธารณะ แต่
ทักษิณจ่อพบอันวาร์ในไทย
"ทักษิณ" ยันเตรียมพบ "อันวาร์" กำลังรอคอนเฟิร์ม
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ทวียก 'ทักษิณ' นั่งที่ปรึกษาอันวาร์ ผลดีงานแนวชายแดนใต้
ทวียกทักษิณ นั่งที่ปรึกษาอันวาร์ ส่งผลดีความร่วมมือแนวชายแดนใต้ “ทวี”เชื่อ การที่ นายกฯอันวาร์ อิบราฮิม แต่งตั้ง อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย จะส่งดีต่อการเจรจาเพื่อยกระดับความร่วมมือตามแนวชายแดน ไทย-มาเลเซีย โดยเฉพาะการเพิ่มการค้าการลงทุนและการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ