เอาแล้ว! 'วิชา มหาคุณ' หนุนเต็มสูบนิรโทษกรรมฉบับก้าวไกล

'ชัยธวัช' รุกหนัก ดอดพบอดีตบิ๊กศาลฎีกา ลุยดันนิรโทษกรรม 'วิชา' หนุนเต็บสูบ แนะให้เขียนถึงเหตุการณ์เป็นหลัก ตามรอย 66/23

29 พ.ย.2566 - นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) พร้อมคณะ ได้เดินทางมาพบเพื่อพูดคุยสอบถามความเห็นในเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยการพูดคุยดังกล่าว หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้มาถามความเห็นแนวทางที่ถูกต้องในการจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม ที่ก็คล้ายๆ กับที่ไปพบพุทธะอิสระ โดยนายชัยธวัชบอกว่า ต้องการทำกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ประสบปัญหามากที่สุด ก็อย่างเช่น กลุ่มพันธมิตรฯ ที่โดนฟ้องคดี แต่ปรากฏว่า คดีอาญายังไม่มีการตัดสินแต่มีการฟ้องทางแพ่งก่อนจนตอนนี้มีการออกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นบุคคลล้มละลาย (คดีชุมนุมสนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ)

เมื่อถามว่า ได้มีการมาขอความเห็นเรื่องการจะนิรโทษกรรมคดี 112 หรือไม่ นายวิชากล่าวว่า ไม่มีตรงนั้น แต่ก็ให้คำแนะนำเขาไปว่า ไม่ควรพูดถึงเรื่องตัวบทกฎหมาย แต่ควรเน้นเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่จะให้มีการนิรโทษกรรม เหมือนกับที่มีการนิรโทษก่อนหน้านี้ ที่จะพูดถึงเฉพาะเหตุการณ์ว่ามีความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเวลาใดถึงเวลาใด เพราะหากมีการใส่ไปว่าให้นิรโทษกรรมคนที่ผิดมาตราใด เป็นการเฉพาะเลย จะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง ต้องทะเลาะกันวุ่นวาย ให้คำแนะนำไปแบบนี้

“ผมแนะนำเขาไปว่า การนิรโทษกรรมคือการนิรโทษกรรมตามเหตุการณ์ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมันจะเอาว่าผิดอย่างไร มันก็จะไม่สามารถหาจุดลงตัวได้ พอคุยกันก็จะทะเลาะกันวุ่นวาย ให้ไปดูอย่าง เช่น ที่เคยมีการออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 ก่อนหน้านี้ ที่ไม่ใช่ออกเป็นกฎหมาย แต่ก็ทำออกมาได้”

เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ นายวิชากล่าวว่า มันต้องยุติที่เคยขัดแย้งกันมาถึงจะเริ่มต้นกันใหม่ได้ ไม่อย่างนั้นก็จะมีแต่ความขัดแย้งวุ่นวาย มันก็เดินต่อไม่ได้ ก็ติดอยู่แบบนี้ เพราะคนก็ไม่เชื่อในเรื่องของความยุติธรรม เพราะเสร็จแล้วก็จะมีการช่วยเฉพาะคนที่มีอำนาจมีเงิน มีเกียรติ สันติวิธีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ต้องคิดถึงประโยชน์ข้างหน้าที่จะสร้างบ้านเมืองร่วมกัน เอาหลักการไว้ก่อน อย่างที่เขาไปพบพุทธะอิสระ แบบนี้ ก็เป็นตนเองที่แนะนำเขาไป เพื่อให้เขาไปฟังความคิดเห็นบุคคลจากแต่ละกลุ่มว่าเขาคิดอย่างไร

สำหรับนายวิชา นอกจากเคยเป็นอดีตผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ของศาลฎีกาแล้ว สมัยเป็น ป.ป.ช.ก็เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีจำนำข้าว ที่เอาผิดนส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร -นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์และนายภูมิ สาระผล อดีตรมช.พาณิชย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกรทสช. มั่นใจขั้วรัฐบาลมีเอกภาพ วอนทุกฝ่ายหนุนร่างพรบ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข

โฆษก รทสช. มั่นใจขั้วรัฐบาลมีเอกภาพ สะท้อนจากการลงมติรายงานนิรโทษกรรม วอนทุกฝ่ายหนุนกฎหมายสร้างเสริมสังคมสันติสุขเข้าสภาฯ นิรโทษผู้กระทำผิดทางการเมือง ยกเว้น ม.112 พาประเทศไทยออกจากวังวนของความขัดแย้งห้วง20ปี

'เพื่อไทย' แถบอกรายงานนิรโทษกรรมแค่การศึกษาหากแก้ 112 จริงไม่ยอมแน่

'พท.' จ่อเห็นชอบรายงาน-ข้อสังเกตนิรโทษกรรม บอก แต่ละพรรคโหวตอย่างไร เป็นเอกสิทธิ์ ด้าน 'นพดล' ย้ำ ไม่มีความคิดนิรโทษความผิดม.110 และ 112

'ชัยธวัช' อ้างสังคมตกผลึกช้า! หากยื้อรายงาน กมธ.นิรโทษกรรม

'ชัยธวัช' หวังได้เสนอรายงาน 'กมธ.นิรโทษกรรม' วันนี้ ชี้หากชะลอไปอีก สังคมจะยิ่งตกผลึกช้า ย้ำยังมีข้อเสนอตรงกลาง 'รวมคดี ม.112 แบบมีเงื่อนไข' เข้าใจความเห็นทุกฝ่าย มองไม่มีเหตุผลให้สภาโหวตคว่ำ

5 องค์กรปชต. เรียกร้อง ส.ส.เร่งพิจารณาแนวทางการตรา พรบ.นิรโทษกรรม

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) สถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social Democracy Think Tank) มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’ 35 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ตาม

วิพากษ์นโยบายรัฐบาลขาดการนิรโทษกรรมสมานฉันท์ปชช. หากรบ.ฉ้อฉลจะไม่มีใครออกมาต่อสู้อีก

ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สภาที่ 3 และคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 จัดเสวนาวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบนโยบายรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยมี นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 กล่าวเปิดงาน